โครงการ Breakthrough Listen มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ เดินหน้าแบ่งปันข้อมูลการค้นหาสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญาในจักรวาลเป็นครั้งแรก

จันทร์ ๑๘ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๕:๐๐
เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ "แสงอรุณ (First Light)" ที่ส่องดูทุกซอกมุมของสวรรค์ พร้อมประกาศการค้นหาในวงกว้างในเร็วๆนี้ และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลแบบเปิดได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ Breakthrough Initiatives

โครงการ Breakthrough Initiatives เปิดเผยว่า โครงการ Breakthrough Listen ซึ่งเป็นโครงการมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตในจักรวาล ซึ่งแบ่งปันข้อมูลการสังเกตการณ์เบื้องต้นกับทั่วโลก

เมื่อเดือนมกราคม 2559 เครือข่าย "แสงอรุณ" ของโครงการ Breakthrough Listen ได้เริ่มต้นการสังเกตการณ์เป็นระยะเวลา 10 ปีตามที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ที่รอยัล โซไซตี้ ในลอนดอนโดยยูริ มิลเนอร์, สตีเฟน ฮอว์กิ้ง, ลอร์ด มาร์ติน รีส, แอนน์ ดรูยัน และ แฟรงค์ เดรก โดยได้มีการสังเกตการณ์เป็นระยะเวลาหลายร้อยชั่วโมงที่สถานีกล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์เรดิโอ (Green Bank Radio Telescope) ในเวสต์เวอร์จิเนีย และระบบค้นหาดาวเคราะห์อัตโนมัติของหอสังเกตการณ์ลิค (Lick) ที่เขาแฮมิลตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย

ในวันนี้ โครงการ Breakthrough Listen ได้เปิดเผยข้อมูลชุดแรกให้สาธารณะเข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ Breakthrough Initiatives ( www.breakthroughinitiatives.org ) นอกจากนี้ ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ SETI@home ของ UC Berkeley ก็จะได้รับข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์เช่นเดียวกัน

ข้อมูลการสังเกตการณ์จนถึงปัจจุบันของ Breakthrough Listen รวมไปถึงดวงดาวเกือบทั้งหมดในรัศมี 16 ปีแสงจากโลก (รวมไปถึงหมู่ดาวฤกษ์ต่างๆ เช่น ดาว 51 ม้าบิน ซึ่งเป็นทราบโดยทั่วไปว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร) และตัวอย่างดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปในระยะ 16-160 ปีแสง ข้อมูลดังกล่าวรวมไปถึงดาวฤกษ์ยักษ์ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์และระบบดาวคู่อีกมากมาย การค้นหายังตั้งเป้าไปที่แกแล็กซี่รูปก้นหอยประมาณ 40 แกแล็กซี่ ซึ่งรวมถึงสมาชิกของกลุ่ม Maffei Group ซึ่งอยู่ในทิศทางเดียวกับกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย หรือ กลุ่มดาวค้างคาว ดาวฤกษ์ภายในรัศมี 16 ปีแสงที่สามารถเห็นได้เฉพาะจากซีกโลกใต้เท่านั้น เช่น ดาวอัลฟาเซนทอรี (Alpha Centauri) จะถูกสังเกตการณ์ในช่วงปลายปีจากกล้องโทรทรรศน์แบบ Parkes

แผนการสังเกตการณ์ในปีนี้สำหรับกล้องโทรทรรศน์ทั้ง 3 จุดได้ถูกเผยแพร่ออกไปแล้วและสามารถดูได้ที่www.breakthroughinitiatives.org ซึ่งประกอบไปด้วย

1. กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์เรดิโอ

การค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตที่ไกลที่สุดในโลกใน 5 กลุ่มตัวอย่างที่สำคัญ (ซีกโลกเหนือ)

- ดาวฤกษ์ทั้ง 43 ดวงภายใน 5 พาร์เซก ที่ 1-15 GHz ซึ่งเป็นการสำรวจ SETI ภายใน 5 พาร์เซกที่เสร็จสิ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งอ่อนไหวต่อระดับการหลุดออกจากโลกของการส่งสัญญาณวิทยุ

- ดาวฤกษ์ 1,000 ดวงในทุกๆสเปกตรัม (OBAFGKM) ภายใน 50 พาร์เซก 1-15 GHz

- ดาวฤกษ์นับล้านดวงที่อยู่ใกล้ๆ เริ่มต้นที่ 5,000 ดวงในปี 2559 ระยะเวลา 1 นาที (1-15 GHz)

- ศูนย์กลางของ 100 แกแล็กซี่ที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งแบบก้นหอย วงรี แกแล็กซี่แคระ และแกแล็กซี่ไร้รูปทรง (1-15 GHz)

- ดาวฤกษ์ต่างถิ่น ได้แก่ ดาวแคระสีขาว 20 ดวง ดาวนิวตรอน 20 ดวง หลุมดำ 20 หลุม

2. กล้องโทรทรรศน์แบบ Parkes Radio

การค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตที่ไกลที่สุดในโลกใน 6 กลุ่มตัวอย่างที่สำคัญ (ซีกโลกใต้)

- ดาวฤกษ์ทั้ง 43 ดวง (ในซีกโลกใต้) ภายใน 5 พาร์เซก ที่ 1-15 GHz ซึ่งเป็นการสำรวจ SETI ภายใน 5 พาร์เซกที่สำเร็จเป็นครั้งแรก และยังอ่อนไหวต่อการหลุดออกจากโลกของระดับการส่งสัญญาณวิทยุ

- ดาวฤกษ์ 1,000 ดวง (ใต้) ในทุกๆสเปกตรัม (OBAFGKM) ภายใน 50 พาร์เซก (1-4 GHz)

- ดาวฤกษ์นับล้านดวงที่อยู่ใกล้ๆ (ทางใต้) เริ่มต้นที่ 5,000 ดวง ในปี 2559-2560 ระยะเวลา 1 นาที (1-4 GHz)

- เส้นกึ่งกลางแนวนอนและศูนย์กลางของแกแล็กซี่ (1-4 GHz)

- ศูนย์กลางของ 100 แกแล็กซี่ที่ใกล้ที่สุด (ทางซีกโลกใต้) ทั้งแบบก้นหอย วงรี แกแล็กซี่แคระ และแกแล็กซี่ไร้รูปทรง (1-4 GHz)

- ดาวฤกษ์ต่างถิ่น ได้แก่ ดาวแคระสีขาว 20 ดวง ดาวนิวตรอน 20 ดวง หลุมดำ 20 หลุม

3. ระบบค้นหาดาวเคราะห์อัตโนมัติ (APF) ด้วยกล้องสเปคโตรสโคป ออปติคัล SETI

เป้าหมายคือการจับคู่กับการค้นหาของกล้องโทรทัศน์กรีนแบงก์เรดิโออย่างใกล้ชิด โดยมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเนื่องจากระบบค้นหาดาวเคราะห์อัตโนมัติมีช่วงการค้นหาที่แคบกว่า โดยมีเป้าหมายดังนี้

- ดาวฤกษ์ทั้ง 43 ดวงที่ APF สามารถเข้าถึง (มุมเบี่ยงเบนตั้งแต่ -20 องศาขึ้นไป)

- ดาวฤกษ์เกือบ 1,000 ดวงในทุกสเปกตรัม ส่วนใหญ่จะเป็น OBAFGKM และดาวฤกษ์ยักษ์

- แกแล็กซี่ที่ใกล้ที่สุด 100 แห่ง (ศูนย์กลาง และมุมเบี่ยงเบนตั้งแต่ -20 องศาขึ้นไป)

"Breakthrough Listen ได้ออกอากาศและตรวจหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญาบนท้องฟ้าอย่างเป็นทางการแล้ว" มิลเนอร์กล่าว "นับเป็นความพยายามที่ครอบคลุม และช่วยให้เกิดความเป็นไปได้อย่างมหาศาลในทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เราจะได้เห็นนับตั้งแต่ได้เริ่มมีการใช้ความพยายามดังกล่าวเป็นต้นมา ในวันนี้ เราได้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้บุกเบิกและขอให้ผู้คนทั่วโลกช่วยตรวจสอบข้อมูลที่เรารวบรวมและสำรวจจักรวาลไปพร้อมกันกับเรา"

"Breakthrough Listen ได้เริ่มดำเนินการแล้ว" พีท วอร์เดน ผู้อำนวยการบริหารของโครงการ Breakthrough Initiatives กล่าว "นับเป็นครั้งแรกที่เราจะได้รับข้อมูลการค้นหาในแกแล็กซี่เพื่อนบ้านของเราจาก SETI อย่างครอบคลุม และที่สำคัญเท่าๆกันก็คือ ประชาชนและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกก็จะได้รับข้อมูลและช่วยตัดสินใจได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตนอกโลกหรือไม่"

"Breakthrough Listen เป็นการก้าวกระโดดไปข้างหน้าในเรื่องความสามารถของเราในการสำรวจท้องฟ้าอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับหลักฐานของสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่มีความก้าวหน้า" แอนดรูว์ ไซเมียน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Berkeley SETI กล่าว "เนื่องจากเรามีความสามารถในการประเมินผลเพิ่มขึ้นในอีกหลายเดือนข้างหน้าและจะมีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม โอกาสในการค้นพบก็จะเพิ่มขึ้นอีกมากมายมหาศาล"

ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ที่อัปโหลดขึ้นไปยังเว็บไซต์ของโครงการ Breakthrough Initiatives ( www.breakthroughinitiatives.org ) ได้จัดทำดัชนีตามวันที่บันทึก ชื่อวัตถุ และมาตรวัดอื่นๆ นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่มีทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลดิบจากกล้องโทรทรรศน์และสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันของตนเองเพื่อทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่และสมบูรณ์นี้ได้ ส่วนใครที่มีคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนก็สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของ Breakthrough Listen ได้ผ่านทาง SETI@home ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์การคำนวณโดยอาสาสมัคร ( http://seti.berkeley.edu/participate ) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ยังได้พัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับกล้องโทรทรรศน์ เครื่องมือ และข้อมูลของ Breakthrough Listen ( http://seti.berkeley.edu/listen ) อีกด้วย

Breakthrough Listen จะได้รับข้อมูลการติดตามสัญญาณจากทั่วทั้งท้องฟ้าเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีจากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ออปติคัลและกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ทรงพลังมากที่สุดในโลก และจะเก็บรวบรวมข้อมูลในหนึ่งวันมากกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงก่อนหน้านี้ การสืบค้นข้อมูลจะมีความไวเพิ่มขึ้น 50 เท่า ครอบคลุมท้องฟ้าเป็น 10 เท่า ครอบคลุมสเปคตรัมวิทยุเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า และเร็วขึ้น 100 เท่า

กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ดิจิทัลช่วงความถี่คลื่นวิทยุ 1.5 GHz ให้กับกล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์ การอัพเกรดดังกล่าวคาดว่า จะสามารถเพิ่มช่วงความถี่ของระบบของกรีนแบงก์ได้เป็น 2 เท่า นอกจากนี้ การยกระดับระบบนี้ยังจะเพิ่มพื้นที่ในการเก็บข้อมูลของหอสังเกตการณ์กรีนแบงก์ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอีกด้วย

หอสังเกตการณ์ลิค

ระบบการค้นหาดาวเคราะห์แบบอัตโนมัติของหอสังเกตการณ์ลิคได้เริ่มนำระบบหุ่นยนต์มาใช้ในการสังเกตการณ์การปลดปล่อยเลเซอร์จากสัญญาณทางเทคโนโลยีจากนอกโลกที่เป็นไปได้จากดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียง กล้องโทรทัศน์ดังกล่าวได้สังเกตการณ์ดาวฤกษ์ทั้งหมด 130 ดวง และได้เปิดเผยข้อมูลดิบในรูปแบบแฟ้มเอกสารผ่านทางออนไลน์

กล้องโทรทรรศน์ Parkes Radio

กล้องโทรทรรศน์ Parkes Radio ในเมืองพาร์เคส ประเทศออสเตรเลีย ที่มีชื่อเสียงในเรื่องบทบาทการถ่ายทอดสดโทรทัศน์ดาวน์ลิงค์ในระหว่างการลงจอดบนดวงจันทร์ของยานอะพอลโล 11 จะเข้าร่วมกับศูนย์กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์และระบบการค้นหาดาวเคราะห์แบบอัตโนมัติของลิคในเดือนตุลาคม 2559 ในขณะที่กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์มีเป้าหมายที่การสังเกตการณ์ดาวเคราะห์ที่เป็นไปได้ในเชิงลึก กล้องโทรทรรศน์ Parkes Radio จะเน้นไปที่การค้นหาบนท้องฟ้าในวงกว้าง จะมีการนำเฮาร์ดแวร์การประมวลผลสัญญาณสำหรับการทดสอบความถูกต้องทางวิศวกรรมมาใช้งานที่พาร์เคสในเดือนกุมภาพันธ์ และจะมีการบันทึกข้อมูลอย่างจำกัดสำหรับการทดลองเท่านั้น

SETI@Home

SETI@Home ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 และสามารถดึงดูดผู้มีส่วนร่วมได้หลายล้านรายในช่วงเวลาดังกล่าว อาสาสมัครสามารถลงทะเบียนเพื่อมีส่วนร่วมได้ที่ http://seti.berkeley.edu/participate ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรีนี้จะใช้พลังการประมวลของคอมพิวเตอร์ของตนมาช่วยวิเคราะห์ชุดข้อมูลจำนวนมากที่เก็บรวมรวมจากการค้นหาสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญาทางดาราศาสตร์

นอกไปจากข้อมูลจากกรีนแบงก์แล้ว อาสาสมัครของ SETI@home จะได้รับข้อมูลพื้นที่ท้องฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปัจจุบัน การเริ่มสังเกตการณ์จากหอสังเกตการณ์ Parkes ในเดือนตุลาคมจะช่วยให้อาสาสมัครสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเต็มท้องฟ้า ในขณะที่ Breakthrough Listen ได้ขยายขอบเขตการค้นหาเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประชาชนทั่วไป และแม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมทางเทคนิคก็สามารถมีส่วนร่วมในความตื่นเต้นนี้ได้ เนื่องจากเราพยายามจะตอบคำถาม "มีส่งมีชีวิตนอกโลกหรือไม่" ให้ได้

ผู้บริหารของโครงการ

- มาร์ติน รีส นักดาราศาสตร์ในพระราชินูปถัมภ์ สมาชิกแห่งมหาวิทยาลัยทรินิตี ศาสตราจารย์กิตติคุณภาควิชาจักรวาลวิทยาและดาราฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

- พีท วอร์เดร ประธานมูลนิธิ Breakthrough Prize Foundation

- แฟรงค์ เดรก ประธานกิตติคุณของสถาบัน SETI, ศาสตราจารย์กิตติคุณภาควิชาจักรวาลวิทยาและดาราฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา ครูซ, ผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติ, อดีตตำแหน่งศาสตราจารย์โกลด์วิน สมิธ ภาควิชาดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์

- แดน เวอร์ธิเมอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการ SETI@home , ผู้อำนวยการของ SERENDIP, หัวหน้าผู้ตรวจสอบของ CASPER

- แอนดรูว์ ไซเมียน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Berkeley SETI

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4