เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ฯ ปรับองค์กรมุ่งขยายธุรกิจพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า ออโตเมชั่น เปิดตัว 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่ รองรับเมกะเทรนด์โลกและไทยแลนด์ 4.0

พุธ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๓:๒๔
บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดงาน Delta Innovation For Thailand 4.0 แถลงปรับองค์กรรุกธุรกิจพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบออโตเมชั่นสำหรับอุตสาหกรรมและดาต้าเซ็นเตอร์โซลูชั่น ตอบรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม Industry 4.0 และยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ Thailand 4.0 ในกระแสหลักเมกะเทรนด์ของโลก พร้อมแผนงานกลยุทธ์และการเติบโตในปี 2017 เปิดตัว 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่สุดล้ำด้วยนวัตกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าDelta DC Wallbox ขนาด 25 kW., ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นกักเก็บพลังงาน Energy Storage System (ESS) รุ่น E 30,ผลิตภัณฑ์ออโตเมชั่น Robot Controller และ 3G Router เผยยอดขายรวมไตรมาส 1 ปี 2017 มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 8.3%ของยอดขายปีก่อน

ในงาน Delta Innovation For Thailand 4.0 นายเซีย เชน เยน (Hsieh Shen–yen) ประธานบริหาร บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ไทยแลนด์) กล่าวว่า บริษัทก้าวสู่ปีที่ 27 ของการดำเนินงานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ พลังงานและไอซีที ปัจจุบันมีศูนย์วิจัยและพัฒนาใน 10 ประเทศ โรงงานผลิตใน 4 ประเทศ และสำนักงานขายใน 19 ประเทศ ผลการดำเนินงานปี 2016 ที่ผ่านมาเดลต้าฯ ประสบความสำเร็จในตลาดโลก โดยมียอดขาย 46,887 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 5,516 ล้านบาท ด้านยอดขายในไตรมาสที่ 1 ปี 2017 จำนวน 12,127 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากยอดขายในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยยอดขายเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะยอดขายที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซิสเต็มส์ที่ใช้ในระบบโทรคมนาคม (Telecom power)

ในห้วงระยะเวลา 26 ปีที่ผ่านมา เดลต้าฯ ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (Evolution) 3 ครั้ง ครั้งแรกคือปี 1993 พัฒนาจากธุรกิจจอดิสเพลย์มาสู่ผลิตภัณฑ์พาวเวอร์ซัพพลาย, ครั้งที่ 2 ในปี 2000 พัฒนาสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และในปี 2017 นับเป็นอีกปีสำคัญแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งที่ 3 โดยเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) พัฒนาปรับองค์กรจากเดิมมาเป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์, ออโตเมชั่น และอินฟราสตรัคเจอร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Solution ซึ่งประกอบด้วยIndustrial Automation, Building Automation, Datacenter, Telecom Energy, Renewable Energy; and Display and Monitoring.เพื่อรุกขยายธุรกิจสู่พลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบออโตเมชั่น/หุ่นยนต์ และดาต้าเซ็นเตอร์โซลูชั่น รองรับการก้าวเป็นฮับยานยนต์ไฟฟ้าและเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งสามารถต่อยอดเป็น AEC 4.0 ด้วย

ด้านแผนงานอนาคตและการลงทุน เดลต้าฯ พัฒนาตลาดและสายการผลิตซึ่งใช้ระบบอัตโนมัติ ตลาดเป้าหมายนอกจากยุโรปและสหรัฐแล้วยังมุ่งเน้นอาเซียนและอินเดีย ตลาดอินเดียมีขนาดใหญ่และมีการเติบโตที่สูงและมีความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก รวมทั้งมีการพัฒนาพลังงานทดแทน และระบบออโตเมชั่นในภาคอุตสาหกรรม และอินเดียมีนโยบายจะเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030 เดลต้าฯ ได้เตรียมลงทุนสร้างอาคารแห่งใหม่เพื่อเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย พื้นที่ 13 ไร่ และโรงงานพี้นที่ 316 ไร่ ที่รัฐ Tamil Nadu ในปีนี้คาดว่าจะลงทุนในอินเดียเพิ่ม 30 - 50 ล้านเหรียญสหรัฐ โรงงานในอินเดียจะแล้วเสร็จใน 1 ปีข้างหน้า นอกจากนี้เดลต้าฯ กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาขยายฐานการผลิตแห่งใหม่ในประเทศสโลวาเกีย เพื่อรองรับตลาดยุโรป

ในด้านวิจัยและพัฒนา บริษัทตั้งงบไว้ที่ประมาณ 4 - 5% ของยอดขาย เนื่องจากเดลต้าฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนและคิดค้นวิจัยพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ตลอดเวลา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ความต้องการที่เปลี่ยนไปของตลาดผู้บริโภคและธุรกิจอุตสาหกรรม โดยจะมุ่งวิจัยพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ระบบคลาวด์อินดัสเทรียลออโตเมชั่น และหุ่นยนต์ IoT พลังงานทางเลือก ระบบศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์

นายเค เค ชอง (K.K.Chong) หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาด กล่าวว่า แผนการตลาดในปี 2017 เดลต้าฯ เห็นว่าตลาดมีแนวโน้มเติบโตและได้เพิ่มงบประมาณการตลาดเป็น 3 เท่า เนื่องจากประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนและอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นเดียวกับนานาประเทศซึ่งกำลังปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0 รวมทั้งเป้าหมายพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ไปสู่ Thailand 4.0 ในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งนี้เดลต้าฯ มีการศึกษาวิเคราะห์ตลาดและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง จากศูนย์ R&D ในไทยและนานาประเทศ ซึ่งจะประสานกับเครือข่ายสำนักงานขายในนานาประเทศเพื่อจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ในด้านแผนการตลาดและการส่งเสริมการขาย เพิ่มงบ 3 เท่า มุ่งเน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างแบรนด์และคุณค่าแบรนด์ DELTA จัดแสดงในงานแสดงสินค้า นิทรรศการ งานประชุมระดับประเทศและนานาชาติ, จัดสัมมนาด้านเทคโนโลยีออโตเมชั่น พลังงานและไอซีที, ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลิตวัสดุส่งเสริมการขาย สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยกับภาครัฐและเอกชน การเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า ณ สถาบันยานยนต์ ในวันที่ 7 ก.ค. นี้

นายกิตติศักดิ์ เงินงอกงาม (Kittisak Ngoenngokngam) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า เดลต้าฯ เป็นผู้นำในประเทศไทยและอาเซียนที่ผลิต On board EV charger และ EV Charging Solution เป็นผู้นำตลาดเครื่องอัดประจุไฟยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ให้แก่รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ดังในยุโรปและสหรัฐมากว่า 10 ปี เราจึงมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีระดับสูง เช่น Delta EV Charger และระบบเครื่องอัดประจุไฟยานยนต์ไฟฟ้า มี 2 ประเภทใหญ่ คือ 1.Off board อยู่นอกตัวรถมีหลายดีไซน์ ได้แก่ Cordset EV Charger สำหรับเสียบปลั๊ก ใช้เวลาชาร์จ 10 ชม., Wall Mount Charger ชนิดแขวนผนัง ใช้เวลาชาร์จ 6 ชม., DC Quick Charger ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 -20 นาที 2.On board ติดอยู่กับตัวรถ ได้แก่ Onboard Charger, DC/DC, Battery Junction Box เป็นต้น

เดลต้าฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด ได้แก่อุปกรณ์และระบบชาร์จไฟสำหรับยานยนต์ไฟฟ้ารุ่น Delta DC Wallbox EV Charger ขนาด 25 kW. เหมาะสำหรับสถานีปั๊ม, อาคารสำนักงาน, คอนโดมิเนียมระดับ Hi-end ใช้เวลาชาร์จไฟรถยนต์เพียง 30 - 40 นาที ทั้งนี้ EV Charger ของเดลต้าฯ ได้รับการยอมรับจากตลาดโลกเป็นอย่างมาก เช่น ยอดขายจากโครงการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในประเทศนอร์เวย์ ถึง 300สถานี โดย ใช้ Delta EV Quick Charger กว่า 1,000 เครื่อง ซึ่งเดลต้าฯ จะส่งมอบในปี 2016 - 2018 นับเป็นเครือข่ายสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปขณะนี้ ส่วนอีกผลิตภัณฑ์ใหม่ Energy Storage System (ESS) รุ่น E 30 นวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่รวม 3 ระบบเข้าด้วยกัน คือ ระบบแบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ ระบบแปลงพลังงาน สามารถติดตั้งได้ตามพื้นที่ต้องการเก็บพลังงาน เช่น สำนักงาน โรงงาน หากเป็นบ้านเรือนจะใช้ รุ่น E 5 ซึ่งสามารถสำรองไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็น หรือเป็นระบบไฟฟ้าสำรองได้ ผลิตภัณฑ์นี้จะรองรับแนวโน้มที่อาคารและบ้านเรือนต่อไปจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ใช้เอง นอกจากนี้เดลต้าฯ ได้มีความร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ เตรียมเปิดศูนย์การเรียนรู้ยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า ณ สถาบันยานยนต์ บางปู เพื่อเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้และเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย และให้ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสกับเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า EV หรือยานยนต์สมัยใหม่

นายเกษมสันต์ เครือธร (Kasemson Kreuatorn) ผจก.ภาคพื้นอาวุโส ฝ่ายอินดัสเทรียลออโตเมชั่น กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่จากเดลต้า ได้แก่ Robot Controller เป็นอุปกรณ์ควบคุมและสั่งการหุ่นยนต์ ซึ่งเดลต้าฯ คิดค้น แบบ All in one คือมี 1 motion controller, 4 Servo Drivers, 1 PLC, 1 DMCNET โดยลิ้งค์กับ I-pad หรือ PC ได้ สามารถใช้กับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมหลายประเภทรวมทั้ง SCADA robot รวมถึงยังได้รับมาตรฐานยุโรปอีกด้วย ด้าน 3G Router เป็นการสื่อสารแบบไร้สายโดยใช้สัญญาณโทรศัพท์ ระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร สามารถลิ้งค์ผ่านคลาวด์ ไม่จำกัดระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถควบคุม สั่งงานเครื่องจักรได้ เดลต้าฯ เป็นที่ปรึกษาของธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปรับปรุงกิจการของตัวเอง เพื่อยกระดับการผลิตและคุณภาพให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ เครื่องจักรอัจฉริยะ โดยวิเคราะห์ ออกแบบและติดตั้งครบครันฮาร์ดแวร์และโซลูชั่น สำหรับการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม เอสเอ็มอี ซึ่งอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เนื่องจากกระแสดิจิตอลเข้ามามีบทบาทนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและบริหารจัดการ ระบบคลาวด์ออโตเมชั่นและ IoT ได้เชื่อมโยงให้เครื่องจักร หุ่นยนต์ ไลน์การผลิตและโรงงานเข้าเป็นหนึ่งเดียวที่สื่อสารกันได้ ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิต คุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองผู้บริโภคและตลาดที่แตกต่างได้

นายศักดิ์ดา แซ่อึ้ง (Sakda Sae-Ueng) ผู้จัดการอาวุโส ฝ่าย MCIS กล่าวว่า ในยุค Digital Economy ที่เราจะก้าวไปสู่Thailand 4.0 การเข้าถึงข้อมูลแบบ real time เพื่อความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ของดาต้าเซ็นเตอร์เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการแข่งขันทางธุรกิจ Delta's InfraSuite Datacenter เป็นโซลูชั่นสำหรับอินฟราสตรัคเจอร์ ที่รวมไว้ใน 4 โมดูลหลัก 1.การจัดการพลังงาน 2.ตู้แร็คและอุปกรณ์ 3.การระบายความร้อนที่มีความแม่นยำสูง 4.ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในห้องDatacenter อินฟราสตรัคเจอร์ของเราออกแบบมาช่วยให้ธุรกิจองค์กรต่างๆได้มีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ไว้วางใจได้สูงสุด มีเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อจัดระเบียบเซิฟเวอร์ต่างๆภายในองค์กร เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรสู่ประสิทธิภาพสูงสุด โดยประหยัดพลังงานและต้นทุนค่าใช้จ่ายมากที่สุด คงไว้ซึ่งความยืดหยุ่น ตลอดจนสามารถวางแผนให้ตรงกับปริมาณและความต้องการที่เปลี่ยนไป ผลิตภัณฑ์มุ่งเจาะตลาดองค์กรในประเทศไทยและ CLMV ซึ่งประเทศไทยเป็นประตูการค้าด้านไอซีทีสู่อินโดจีน

นายยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ (Youngyuth Pakdoungjan) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล กล่าวว่า เดลต้าฯ ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ ลูกค้าและสิ่งแวดล้อม เราเป็นบริษัทแรกที่ได้รับมาตรฐาน ISO 14064-1 ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และล่าสุดได้รับรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรไทย 2016 (Thailand's Top Corporate Brand Values)นอกจากนี้เดลต้าฯ ยังมุ่งเน้นกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยเฉพาะภาคการศึกษาด้วย ได้แก่ 1) โครงการ Delta Automation Academy จัดฝึกอบรมหลักสูตรระบบออโตเมชั่นสำหรับอุตสาหกรรม (Industrial Automation) 2) เปิดห้องแล็บออโตเมชั่นอัจฉริยะ (Delta Industrial Automation Lab) ที่ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และในปี 2017 จะเปิดเพิ่มที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) จัดการแข่งขัน Delta Cup 2017 เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่ได้เรียนรู้หลักสูตรระบบอัตโนมัติและได้สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ ซึ่งในปีนี้มีเยาวชนจำนวน 5 ทีม จาก 5 มหาลัยได้รับการคัดเลือกตัวแทนจากประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขันในเวทีใหญ่ระดับนานาชาติ ณ เมืองหวู่เจียง ประเทศจีน ซึ่งกำหนดแข่งเดือนกรกฎาคม 2560 4) โครงการ Delta Angel Fund for Startup เดลต้าฯ ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสนับสนุนเงินลงทุนเพื่อการจัดตั้งธุรกิจ และดำเนินธุรกิจใหม่ สำหรับสตาร์ทอัพผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีแผนโครงการลงทุนที่มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธุรกิจจริง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้