สนช. ดึงกูรูจุดประกายสร้างนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่

พุธ ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๒๖
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) ได้มอบนโยบายให้ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (ABC center) สร้างนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่ AgTech Innovation Startup เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการเกษตรของไทย สู่การสร้างสาขาธุรกิจใหม่ ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับพื้นฐานองค์ความรู้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อมุ่งให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฐานรากของประเทศ จุดประกายความคิดและเปิดมุมมองใหม่ให้กับนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่

ดร. พันธ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สนช. กล่าวว่า ในฐานะองค์กรหลักในการพัฒนาระบบนวัตกรรมแห่งชาติของประเทศไทย โดยอาศัยกลไกทั้งทางด้านวิชาการและการเงิน โดยประเทศไทยเป็นฐานการผลิตผลิตผลเกษตรและเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญอันดับต้นๆ ของโลก เช่น ผู้ผลิตและส่งออกยางเป็นอันดับหนึ่งของโลก ผู้ส่งออกมันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงนับว่าภาคเกษตรนั้นมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่ด้วยเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้เกษตรกรของไทยยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน การผลิตที่ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิต ตลอดจนปัญหาที่คุกคามการทำการเกษตร เช่น ปัญหาการขยายพื้นที่ของชุมชนเมือง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาการ ตลอดจนปัญหาการสูญเสียจากกระบวนการแปรรูปและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ดังนั้น สนช. จึงได้จัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมการเกษตร หรือ Agro Business Creative Center เรียกสั้นๆ ว่า ABC Center ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างครบวงจร ซึ่งนับได้ว่าเป็นโอกาสและความท้าทายของนักรบธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรรุ่นใหม่เป็นอย่างยิ่ง ที่จะร่วมกันสร้างสร้างธุรกิจนวัตกรรมสตาร์ทอัพด้านการเกษตร หรือ AgTech Innovation Startup ให้เกิดเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมเกษตร ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่มีการทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เป็นเกษตรกรรมของอนาคต เช่น เกษตรกรรมแบบแม่นยำสูงหรือฟาร์มอัจฉริยะ เกษตรหุ่นยนต์ การจัดการเกษตรแปลงใหญ่ และการจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร ทั้งนี้เพื่อนำนวัตกรรมการเกษตรมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ทีดีขึ้น สนช. ได้เปิดรับแนวคิดในการร่วมกันแก้ปัญหาและยกระดับการเกษตรของไทยอย่างครบวงจรภายใต้โครงการ AgTech Innovation Challenge สามารถส่งแนวคิดข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาโครงการภายใน 30 กันยายน 2560 นี้

นายนที แสง CEO & Founder บริษัท เมกเกอร์สเปซ จำกัด จากแนวคิดการสร้าง co-working space ที่มีเครื่อง 3D-printer ในการได้ทดลองเปลี่ยนจากแนวคิดมาสู่เครื่องต้นแบบที่ใกล้คียงกับการทำงานจริง ให้ข้อคิดเห็นว่า คนไทยเป็นคนเก่งมากในการปรับเปลี่ยนและแก้ไขปรับปรุงในการสร้างนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเกษตร ซึ่งเป็นพื้นฐานชีวิตของคนไทย ขอให้กล้าคิดและลงมือทำ เพื่อนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติจริง มีอยู่หลากหลายหลายสาขาที่ต้องพัฒนาปรับปรุง โดยมีตัวอย่างของการลงมือทำแล้วที่เชียงใหม่นั่นคือ โรงงานเพาะปลูกในโรงเรือนโดยหลอดแอลอีดีในการเลียนแบบสถาะธรรมชาติที่จะให้พืชเกิดการสังเคราะห์แสง ทำให้จะลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ตลอดจนลดระยะเวลาการเพาะปลูกพืชลงกว่า 3 เท่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของแฟนเพจชื่อดัง "เกษตรอัจฉริยะ" ที่มีผู้ติดตามกว่า 400,000 คน ได้ให้มุมมองและโอกาสในการสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่เกษตรไทยต้องปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และแนวคิดใหม่ของประเทศมหาอำนาจทั่วโลกที่จะเปลี่ยนจากน้ำมันใต้ดิน สู่การสร้างการเกษตรแนวคิดใหม่เป็นน้ำมันบนดินในการฐานอำนาจใหม่ โดยได้เสนอกรอบแนวทางของการสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรไว้ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การสร้างเกษตรคลื่นลูกใหม่ (New Wave) เป็นแนวทางใหม่ที่จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ในการทำเกษตรกรรม สามารถปลูกพืชได้ทั่วโลก เช่น การปลูกกล้วยในตุรกี การปลูกผักในเมืองของประเทศจีน หรือ แนวคิดของ circular economy ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มสตาร์ทอัพที่จะรวบรวมเศษอาหารจากบ้านเรือนเพื่อนำไปเลี้ยงหนอนแมลงสำหรับการใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ จะเกิดการใช้ประโยชน์ของเสียอย่างคุ้มค่า 2) การสร้างเกษตรรูปแบบใหม่ (New Platform) เป็นการปรับเปลี่ยนธุรกิจการเกษตรจากรูปแบบเดิมๆ เช่น จากเลี้ยงสัตว์ เป็นการปลูกสัตว์ ที่จะผลิตโปรตีนชนิดใหม่ที่เรียกว่า เนื้อของซิลิคอนวัลเลย์ ที่จะมาเป็นคู่แข่งและสร้างทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกลุ่มของ google และการพัฒนาธุรกิจเกษตรที่ไม่มีของเสีย 3) การสร้างเกษตรในอนาคต (New Frontier) เป็นการสร้างเกษตรในพื้นที่ใหม่ เช่น การปลูกพืชในดาวอังคาร หรือการสร้างระบบการสื่อสารกับพืชเพื่อให้เกิดการผลิตตามที่ต้องการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้
๐๘:๕๒ SJWD รุกขยายฐานลูกค้าให้บริการ ขนย้ายพร้อมติดตั้งระดับพรีเมียม เซ็นสัญญารับงาน 'กลุ่มแอสเซทไวส์' นำร่องเซอร์วิสลูกบ้าน 6
๐๘:๓๘ ผถห. HLอนุมัติจ่ายเงินปันผลปี 66 หุ้นละ 0.15 บ.
๐๘:๐๕ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ประกาศความพร้อมเปิดให้บริการ 27 กันยายน 2567 เตรียมมอบข้อเสนอพิเศษให้ผู้สำรองห้องพักล่วงหน้า
๐๘:๑๒ EXIM BANK จับมือเวฟ บีซีจี ผลักดันผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้พลังงานสะอาดแก้ปัญหาโลกร้อน
๐๘:๒๒ สดช. เดินหน้าขับเคลื่อน Digital Literacy เริ่มจัดอบรม พ.ค. นี้ มุ่งเสริมเกราะประชาชนมีความรู้และเข้าใจดิจิทัล เพื่อเตรียมพร้อมสู่พลเมืองดิจิทัลปี