จับตาเทรนด์ไอที ปี 2561 เสริมแกร่งองค์กรยุคดิจิทัล

ศุกร์ ๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๒:๒๐

Business Development – Digital Transformation

บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

กระแสการเปลี่ยนผ่านสู่โลกยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ณ ปัจจุบัน ได้พลิกโฉมต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตของผู้คนแบบไม่เคยเป็นมาก่อน องค์กรที่สามารถปรับกระบวนทัศน์ทางธุรกิจได้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม ย่อมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน อยู่รอดแข็งแกร่ง และเป็นผู้นำทางธุรกิจในยุคดิจิทัล

เช่นทุกปีที่ผ่านมา ไอดีซีได้ทำนายอนาคตของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งในขณะนี้อยู่แพลตฟอร์มที่ 3 บทที่ 2 ว่าด้วย นวัตกรรมอันหลากหลายในยุคเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Multiplied Innovation for the Digital Transformation Economy) โดยมีเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก อย่างคลาวด์ (Cloud) บิ๊กดาต้า/อนาไลท์ติกส์ (Big Data/Analytics) โมบิลิตี้ (Mobility) และ ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เป็นส่วนสนับสนุน เพื่อให้เป็นองค์กรแบบดิจิทัลโดยแท้ (Digital-native Enterprises) และสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องทำธุรกรรมกับชาวยุโรปคือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป หรือ EU(General Data Protection Regulation:GDPR) ซึ่งจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 25 พฤษภาคมในปีนี้ ส่งผลให้คนยุโรปสามารถฟ้องร้องบริษัทต่างชาติที่ไม่ใช่ EU ได้ โดยมีวงเงินสูงถึง 4% ของยอดขายขององค์กร การป้องกันข้อมูลของลูกค้าและคู่ค้าที่ทำธุรกรรมกับคนยุโรปจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

เทรนด์ไอที ปี 2561 จึงยังคงมุ่งสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ไม่เพียงแต่จะพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร แต่จะมุ่งสู่ความสำเร็จสูงสุดจากการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจที่แปลกและใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ไร้ข้อจำกัดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบนิเวศน์ทางธุรกิจแบบอีโคซิสเต็มส์ (Ecosystem) เพื่อดึงดูดลูกค้าให้อยู่กับสินค้าและบริการ การสร้างแพลตฟอร์มตลาดการค้าดิจิทัล (Platform Economy) ที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถโต้ตอบกับแบบอินเตอร์แอคทีฟมากขึ้น หรือ การใช้ไอโอที (Internet of Things:IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI) แมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning:ML) การยึดข้อมูลเป็นศูนย์กลาง (Data-Centric) ที่หวังผลทางธุรกิจและความได้เปรียบ

มุ่งสู่…คลาวด์แบบไฮบริด...

ข้อมูลจากเว็บไซต์คลาวด์คอมพิวติ้งดอทคอม (cloudcomputing.com) คาดว่า ในอีก 12 เดือนข้างหน้า หลายองค์กรที่ใช้งานคลาวด์ไประยะหนึ่งจะเริ่มพิจารณาถึงการมีคลาวด์ไว้ใช้งานในองค์กร (On-premise) คู่ขนานไปกับการใช้งานคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ทำให้คลาวด์แบบไฮบริด (Hybrid Cloud)ซึ่งเป็นการผสมผสานคลาวด์สองรูปแบบข้างต้นมีการใช้งานเพิ่มขึ้น เห็นได้จากธุรกิจบริการทางการเงินได้เพิ่มสัดส่วนการติดตั้งคลาวด์ในองค์กรและมีการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคลาวด์ในองค์กรที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน

องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่เริ่มเห็นว่าคลาวด์แบบไฮบริดสามารถตอบโจทย์การทำงานในแบบมัลติ เลเยอร์ (Multilayer) ได้สมบูรณ์มากกว่า โดยเฉพาะทำให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรไอทีบนคลาวด์ได้อย่างเหมาะสมระหว่าง งบประมาณการลงทุนด้านไอที โอกาสในการขยายตัวทางธุรกิจ การจัดการด้านความปลอดภัยและการกระจายความเสี่ยงจากภัยคุกคามที่มีต่อระบบงานต่าง ๆ เช่น งานที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของธุรกิจ หรือ Core Business อาจจะเหมาะสมกับการใช้งานคลาวด์ภายในองค์กรเพื่อให้ปลอดจากภัยคุกคามหรือปัจจัยเสี่ยงด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ขณะที่การสื่อสารด้วยอีเมล การจัดการงานเอกสารทั่วไปอาจใช้บริการแอปพลิเคชันผ่านบริการ คลาวด์สาธารณะ เป็นต้น นอกจากนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถผสมผสานการใช้งานคลาวด์ทั้งสองรูปแบบเพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการงานจากศูนย์กลางข้ามไปมาระหว่างแพลตฟอร์มที่แตกต่างหลากหลายโดยไม่ต้องกังวลถึงความไม่เข้ากันของอุปกรณ์ (Compliances) ทำให้ยืดหยุ่นต่อการโยกย้ายงานตามความจำเป็น

นอกจากนี้ เครื่องมือบริการหลากหลายรูปแบบบนคลาวด์แบบไฮบริดอย่าง SaaS IaaS หรือ PaaS ที่ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ยังหนุนเสริมองค์กรในการพัฒนาช่องทางการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น การสร้างโมเดลธุรกิจดิจิทัลระดับฟร้อนท์เอ็นด์ (Front-end) ในการติดต่อกับลูกค้า และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตลาดเป้าหมาย เป็นต้น

ทั้งนี้ องค์กรที่ต้องการใช้งานคลาวด์แบบไฮบริด ควรคำนึงถึงระบบความปลอดภัยแบบฝังตัว (Embedded) ในการปกป้องดูแลแพลตฟอร์ม สินทรัพย์ด้านข้อมูล ระบบเครือข่าย แอปพลิเคชัน และบริการต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง

ความปลอดภัยแบบ...CARTA…

การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ในปี 2561 ธุรกิจดิจิทัลมีผลทำให้งานด้านปลอดภัยมีความซับซ้อนมากขึ้น การใช้งานคลาวด์ซึ่งเริ่มมีเค้าลางไม่ปลอดภัย แมชชีน เลิร์นนิ่งถูกนำไปใช้ในกิจกรรมล่อลวง ไวรัสแรนซัมแวร์ (Ransomware) หันมาโจมตีอุปกรณ์ไอโอที มัลแวร์บนสมาร์ทโฟน การก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงการหยุดชะงักของธุรกิจเนื่องจากข้อมูลถูกโจมตี ทำให้องค์กรต้องวางกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยแบบหลายชั้น โดยเน้นการวิเคราะห์และคาดการณ์ล่วงหน้า และหาวิธีตอบโต้ต่อพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามอย่างจริงจังและทันท่วงที

หนึ่งในกลยุทธ์ความปลอดภัยซึ่งการ์ทเนอร์มองว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ CARTA หรือ Continuous Adaptive Risk and Trust Assessment โดยบูรณาการแนวทางของ DevOps และ DevSecOps ในการสร้างแอปพลิเคชันด้านความปลอดภัย ตลอดจนวางกระบวนการตรวจสอบเครื่องมือและกำกับการใช้งานให้ได้ผลตามที่ต้องการ ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการล่อลวงอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ (Deceptive Technology) เช่น การสร้าง Adaptive Honeypot เพื่อหลอกล่อแฮคเกอร์ให้มาติดกับดักที่วางไว้ โดยกับดักที่ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

การออกแบบระบบความปลอดภัยในอนาคตจึงไม่ใช่แบบแก้ปัญหาได้จบในระบบเดียว หรือ one for all อีกต่อไป แต่ควรเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีหลายรูปแบบและการปกป้องหลายชั้นแบบมัลติเลเยอร์ในระดับที่ลงลึกถึงการประเมินและวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อขจัดพฤติกรรมเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นในการเข้าใช้งานระบบ แทนการสอดส่องแค่ว่า ใครคือเจ้าของความเสี่ยงแล้วจึงควบคุม หัวใจสำคัญ คือ ต้องสามารถปรับแต่งปราการป้องกันให้ทันต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในแบบเรียลไทม์

ปฏิวัติข้อมูลสู่...ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และแมชชีนเลิร์นนิ่ง...

ผลสำรวจของการ์ทเนอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า 59% ขององค์กรยังอยู่ระหว่างแสวงหาข้อมูลเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI) ขณะที่เหลือกำลังเริ่มต้นนำมาใช้ ซึ่งหากมองให้แคบลงในระดับแมชชีน เลิร์นนิ่ง (Machine Learning:ML) ยังเป็นการใช้เฉพาะงานบางประเภท เช่น การสร้างเครื่องมือเพื่อความเข้าใจในภาษา หรือจำลองการขับรถในสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุม

สำหรับสิ่งที่องค์กรธุรกิจต้องการมากชึ้นจากปัญญาประดิษฐ์และแมชชีน เลิร์นนิ่งในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากบนพื้นฐานการทำงานแบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความการปรับโฉมรูปแบบทางธุรกิจแนวใหม่ เช่น ระบบอีโคซิสเต็มส์ การสร้างกระบวนการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างชาญฉลาด การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตัดสินใจ และการสร้างประสบการณ์อันน่าประทับใจให้กับลูกค้า เป็นต้น

ต่อยอดธุรกิจด้วย...Data-Centric...

ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญกับลูกค้า พัฒนาระบบต่างๆเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ความพึงพอใจของลูกค้า มีการทำวิเคราะห์ จับพฤติกรรม เพื่อตอบสนองลูกค้าเป็นรายบุคคล สร้างประสบการณ์ที่ฝังรากลึกในใจของลูกค้า จนมีระบบต่างๆและข้อมูลของลูกค้าที่กระจัดกระจายทั้งในองค์กรและบนคลาวด์ ยิ่งเมื่อมีข้อกำหนดอย่าง GDPR ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นหลัก สิ่งเหล่านนี้มีผลทำให้การวางระบบเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆจากหลากหลายแหล่งให้เป็นภาพเดียวกัน จัดการง่าย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อสามารถเสริมนวัตกรรมอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ และแมชชีน เลิร์นนิ่ง ทำให้ออก แคมเปนจ์ส่งเสริมทางการตลาดได้ตรงจุดมากขึ้น ขณะที่เกิดความเสี่ยงใหม่เมื่อลูกค้าคนยุโรปถามขึ้นมาว่า "เอาข้อมูลมาจากไหน ลบออกให้หมดทันที ไม่งั้นผมฟ้องบริษัทคุณ" Data-Centric Security จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในปีนี้

คลาวด์แบบไฮบริด ระบบความปลอดภัยขั้นสูง ปัญญาประดิษฐ์ แมชชีน เลิร์นนิ่ง ตลอดจน Data-Centric จึงมีบทบาทสำคัญในการติดอาวุธให้กับองค์กรที่ไม่ใช่แค่ในระดับของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศแต่เพียงอย่างเดียว หากเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังฝังตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทุกองค์กรต้องเร่งศึกษาและปรับเปลี่ยนแนวทางพัฒนาด้านไอทีให้สอดรับกับกระบวนทัศน์ทางธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อชิงความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในท่ามกลางการแข่งขันของตลาดการค้าดิจิทัลที่กำลังทวีความร้อนแรงมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้