mu Space จับมือ SSL ลุยงานด้านระบบดาวเทียม

อังคาร ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๓๙
บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ได้ประกาศความร่วมมือกับบริษัท SSL (บริษัทในเครือของบริษัท Maxar Technology) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการสร้างระบบอวกาศยานและดาวเทียม เพื่อร่วมพัฒนาแนวคิดทางด้านดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกและดาวเทียมสื่อสาร

ทางบริษัท SSL พร้อมที่จะนำความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเข้ามาช่วย มิว สเปซ ที่กำลังมีแผนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit : LEO) ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งดาวเทียมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานในด้านการสำรวจทรัพยากรโลกซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลด้วย

บริษัท SSL เป็นบริษัทที่ออกแบบและสร้างดาวเทียมในขนาดต่างๆ เริ่มตั้งแต่ดาวเทียมขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้ากิโลวัตต์ต่ำ จนถึงดาวเทียมแบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่า 25 กิโลวัตต์เพื่อการใช้งานที่กว้างขวางและครอบคลุม โดยมีทั้งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการถ่ายทอดสัญญาณวิทยุหรือโทรทัศน์ รวมถึงดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลในปริมาณมาก (HTS) ซึ่งบริษัท SSL จะร่วมงานกับบริษัท มิว สเปซ ในการออกแบบดาวเทียมให้ตรงตามความต้องการของตลาด ทั้งนี้ดาวเทียมวงโคจรต่ำของบริษัท มิว สเปซ ยังสามารถใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านการสำรวจการเพาะปลูกทางการเกษตร ความมั่นคงของชาติ และการสื่อสารอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม โดยการนำจานสายอากาศที่ทันสมัยแบบ phased-array มาใช้อีกด้วย

"ด้วย บริษัท มิว สเปซ ภารกิจของเราคือการทำให้ Internet of Things (IoT) และระบบ smart solutions สามารถใช้งานได้ผ่านทางดาวเทียม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเรื่องนี้เราได้มองหาพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ที่จะสามารถพัฒนาดาวเทียมของเราได้ตามกำหนดเวลาและในราคาที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อดูจากผลงานที่ผ่านมาของบริษัท SSL ทำให้เรามั่นใจว่าเราสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างแน่นอน" นายวรายุทธ (เจมส์) เย็นบำรุง ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของบริษัท มิว สเปซ กล่าว

"สำหรับ บริษัท SSL เราทำให้เรื่องอวกาศเป็นเรื่องง่ายสำหรับบริษัทต่างๆ ที่มีแนวคิดที่ล้ำสมัยและมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ดังเช่น บริษัท มิว สเปซ เป็นต้น" นาย Mark Sarojak รองประธานบริษัท SSL ซึ่งดูแลด้านระบบการสำรวจโลกเชิงพาณิชย์ของบริษัท SSL กล่าว "บริษัท SSL เป็นผู้นำในเรื่องดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ และเราได้สร้างดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกขนาดเล็กจำนวน 11 ดวง ซึ่งได้มีการส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้วในระยะ 2 ปีที่ผ่านมานี้ บริษัท SSL จึงมีความเชี่ยวชาญทั้งด้านเทคนิค ระบบความคิดที่ชาญฉลาด และมีประสบการณ์เป็นเวลาหลายปี ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยสนับสนุนความสำเร็จของบริษัท มิว สเปซ"

นายวรายุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ดาวเทียมวงโคจรต่ำ มีความสามารถที่จะรองรับการให้บริการต่างๆ ที่กล่าวมาได้ การสร้างดาวเทียมวงโคจรต่ำนั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรต่ำลง ความจำเป็นในการใช้พลังงานลดลง และลดระยะเวลาหน่วงในการรับส่งข้อมูลให้น้อยลงยิ่งขึ้น"

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด เป็นบริษัทของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในด้านเทคโนโลยีอวกาศและดาวเทียมที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2560 บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมสื่อสารเพื่อเร่งให้เกิดการนำ Internet of Things มาปรับใช้เข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ และการสร้างเมืองอัจฉริยะ ซึ่งบริษัทมีแผนจะส่งดาวเทียมของบริษัทเองขึ้นสู่วงโคจรในปี พ.ศ. 2563 (โดยใช้จรวด New Glenn ของบริษัท Blue Origin) และเป็นผู้นำในด้านการท่องเที่ยวอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ