การผลิตสามารถเอาชนะความท้าทายของอุตสาหกรรมในปัจจุบันได้อย่างไร

พฤหัส ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๒
ในบทความถามตอบนี้ เราได้ถามผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการผลิต คือ นายแอนโทนี บอร์น ซึ่งจะตอบคำถาม 5 ข้อเกี่ยวกับวิธีที่บริษัทผู้ผลิตสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ

ในฐานะรองประธานด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมทั่วโลกของบริษัท ไอเอฟเอส ความรับผิดชอบของ นายแอนโทนีรวมถึงการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมทั่วโลกสำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรมและการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งดูแลผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วโลก

นายแอนโทนี มีประสบการณ์กว่า 20 ปีในอุตสาหกรรมไอที รวมทั้งเคยทำงานในภาคการผลิตก่อนร่วมงานกับไอเอฟเอส ในปี 2540 เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจที่บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ และ อัลไลด์ซิกนัล(AlliedSignal) ในช่วยเวลาดังกล่าว เขาได้ปรับใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (อีอาร์พี) รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ

คำถามที่ 1

ผู้ผลิตบางรายยังคงใช้สเปรดชีตเพื่อจัดเตรียมใบเสนอราคา อะไรคือข้อเสียของการทำเช่นนั้นและผู้ผลิตควรใช้อะไรแทน

คำตอบ: สเปรดชีตเหมาะกับงานหลายอย่างก็จริง แต่สเปรดชีตไม่ได้ออกแบบมาเพื่อจัดเก็บเอกสาร บันทึก การสนทนาทางอีเมล และข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจำเป็นต่อการประมาณการ และไม่เหมาะกับการควบคุมเวอร์ชันนอกจากนี้การพึ่งพาสเปรดชีตเพื่อการประมาณการทำให้เราพลาดโอกาสที่จะทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเราต่างเคยได้ยินถึง (และเคยประสบกับ) สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณส่งสเปรดชีตทางอีเมลไปให้สมาชิกในทีมและสุดท้ายคุณต้องอัพเดตเอกสารหลายเวอร์ชันทั้งๆ ที่เป็นเอกสารเดียวกัน

นอกจากนี้ ในโลกที่เราอาศัยอยู่ตอนนี้มีกฎระเบียบมากมายที่กระทบต่อสเปรดชีตตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา มีกฎระเบียบต่างๆ เพิ่มขึ้นที่ส่งผลโดยตรงต่อข้อมูลแบบสเปรดชีต ซึ่งการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องยุ่งยากมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย

ตอนที่ผมไปเยี่ยมผู้ผลิตและเห็นกระบวนการที่พวกเขาใช้ในปัจจุบัน สเปรดชีตที่ใช้ประมาณการมักจัดทำโดยคนที่ไม่ค่อยจะเชี่ยวชาญด้านไอทีซึ่งหมายความว่าในที่สุดแล้วไฟล์สเปรดชีตจะกลายเป็นเอกสารเฉพาะบุคคลที่จะอธิบายให้ผู้อื่นได้ลำบากดังนั้นเมื่อมีคนใหม่เข้ามาสานต่อตามหน้าที่ในธุรกิจหรือมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากร คนที่เข้ามาดูแลอาจต้องเริ่มต้นทำใหม่หมด

เมื่อผมอธิบายความสามารถในการประมาณการอันเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชัน อีอาร์พี ของเราให้ผู้ผลิตฟัง พวกเขาก็เห็นประโยชน์ทันที

คำถามที่ 2

กระบวนการอะไรที่บริษัทผู้ผลิตควรทำเป็นระบบอัตโนมัติและมีผลดีอย่างไร

คำตอบ: กระบวนการที่สามารถทำเป็นระบบอัตโนมัติโดยใช้ความสามารถนี้คือเวิร์กโฟลว์จากกระบวนการประมาณการและกระบวนการเสนอราคาในขั้นต่อมาไปจนถึงการสร้างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกระบวนการเหล่านี้ ทำโดยบุคคลต่างๆ ดังนั้นเมื่อทำให้เป็นระบบอัตโนมัติแล้ว การแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ว่าเมื่อใดที่ใครต้องดำเนินการขั้นตอนของตนก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานและช่วยลดเวลาลง

คำถามที่ 3

มีโซลูชันใดที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจการผลิตและช่วยได้อย่างไร

คำตอบ: ประสิทธิภาพของผู้ผลิตสามารถเพิ่มได้ในหลายด้าน ไม่ใช่แค่ฝ่ายประมาณการการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กรก็สามารถเพิ่มได้ตัวอย่างเช่น ในระหว่างกระบวนการประมาณการ ทั้งทีมขายและทีมการเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลและทำให้มั่นใจว่างบประมาณ กำไร และสมมติฐานต่างๆ นั้นถูกต้องซึ่งหมายความว่าถ้าลูกค้าเห็นชอบกับตัวเลขที่ประมาณการ/ใบเสนอราคาแล้ว รายละเอียดต่างๆ จะถูกแปลงเป็นคำสั่งผลิตและสูตรการผลิต (BOM) โดยอัตโนมัติซึ่งสร้างหรืออัพเดตเมื่อต้องการโดยไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่

กระบวนการโดยรวมนี้จะขจัดความซ้ำซ้อน เพิ่มความแม่นยำ ทลายกำแพงของฝ่ายต่างๆ และช่วยให้ทีมทำงานอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คำถามที่ 4

อะไรคือ ข้อได้เปรียบที่โดดเด่นที่ผู้ผลิตจะได้รับจากการเป็นลูกค้าของไอเอฟเอส

คำตอบ: ข้อได้เปรียบหลักที่ผู้ผลิตจะได้รับในฐานะลูกค้าของบริษัท ไอเอฟเอส คือการมีซัพพลายเออร์ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมของผู้ผลิตและมีโซลูชันที่ตรงกับความต้องการในวันนี้และรวมไปถึงในอนาคตอุตสาหกรรมการผลิตคืออุตสาหกรรมกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ไอเอฟเอสมุ่งเน้นและคณะที่ปรึกษาสำหรับลูกค้ารับรองว่าลูกค้าสามารถนัดพบผู้บริหารอาวุโสรวมทั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาเพื่อดูและแนะนำสิ่งที่เรากำลังพัฒนาโซลูชันของไอเอฟเอส ทำให้ผู้ผลิตในวันนี้สามารถแปรรูปธุรกิจของตนสู่ระบบดิจิทัลด้วยความสามารถด้านอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และช่วยให้ผู้ผลิตก้าวสู่เส้นทางของการเป็นโรงงานอัจฉริยะ

คำถามที่ 5

มีลูกค้าหลายรายของไอเอฟเอส ที่ใช้โซลูชันและความชำนาญของ ไอเอฟเอส เพื่อเอาชนะความท้าทายของอุตสาหกรรมในปัจจุบันคุณพอจะยกตัวอย่างสักรายได้ไหม

คำตอบ: ได้ครับ บริษัท เมโคพริ้นต์ (Mekoprint) เป็นบริษัทที่เปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินธุรกิจของตนให้เป็นดิจิทัล โดยนายลาส โบ นีลเซน ซึ่งเป็นซีไอโอของ บริษัท เมโคพริ้นต์ (Mekoprint) กล่าวไว้ในกรณีตัวอย่างของลูกค้าว่า:

"พนักงานใช้ไอแพด (iPad) หรือ ไอพอด (iPod) เพื่อดูและอัพเดตทุกอย่างตั้งแต่คำสั่งผลิต การลงบันทึกเวลา ไปจนถึงข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต สินค้าคงคลัง และการกระจายสินค้า คำสั่งงานและคำแนะนำ และเอกสารคุณภาพขั้นตอนที่เป็นดิจิทัลทั้งหมดยึดตามตรรกะธุรกิจของไอเอฟเอส ซึ่งให้ภาพรวมของบริษัทได้เป็นอย่างดีข้อมูลทั้งหมดสามารถออนไลน์ ดังนั้นถ้าเกิดความล่าช้าในการผลิตหรือการจัดส่ง ทีมขายก็จะรู้ได้ทันที"

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เอ็นอีซี (NEC) ซึ่งปรับปรุงการดำเนินงานให้คล่องตัวรวมทั้งเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4