เอ็นไอเอ ถูกจัดอันดับให้เป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรมที่สำคัญของโลก จาก 90 แห่งทั่วโลก

ศุกร์ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๓
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการนวัตกรรมของภาครัฐที่สำคัญของโลก หรือ The World Most Important Innovation Lab ซึ่งจัดทำโดย Apolitical Group องค์กรอิสระสากลในการพัฒนาเครือข่ายและบริการภาครัฐให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยองค์กรดังกล่าวได้ระบุว่า NIA เป็นหนึ่งในศูนย์รวมความรู้และการให้คำปรึกษาและเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการนวัตกรรมสำหรับประเทศไทยที่สำคัญ ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการในหลายมิติ เช่น การพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านโครงการย่านนวัตกรรม การส่งเสริมสตาร์ทอัพอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ดี การสำรวจห้องปฏิบัติการนวัตกรรมที่สำคัญของโลก ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 90 แห่ง ใน 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย ทวีปยุโรป 34 แห่ง อเมริกาเหนือ 29 แห่ง อเมริกากลางและอเมริกาใต้ 15 แห่ง โอเชียเนีย 8 แห่ง เอเชีย 6 แห่ง และตะวันออกกลางและแอฟริกากลาง 4 แห่ง

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ NIA ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรมของภาครัฐที่สำคัญของโลก (The World Most Important Innovation Lab) โดยการรวบรวมของ Apolitical Group ซึ่งเป็นองค์กรอิสระสากลในการพัฒนาเครือข่ายและบริการภาครัฐให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยอาศัยกลไกห้องปฏิบัติการนวัตกรรม (Innovation Lab) เพื่อบริการภาครัฐ สาธารณะ และนโยบาย ทั้งนี้ Apolitical Group ได้ระบุว่า NIA เป็นหนึ่งในศูนย์รวมความรู้และการให้คำปรึกษาสำหรับประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องการความรู้ทางด้านนวัตกรรม เพื่อใช้ขับเคลื่อนประเทศไทยที่สำคัญ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา NIA ได้ดำเนินโครงการในหลายมิติ เช่น การพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านโครงการย่านนวัตกรรม (Innovation District) จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ ย่านนวัตกรรมโยธี คลองสาน รัตนโกสินทร์ กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี ปทุมวัน บางแสน ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา-บ้านฉาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านโครงการ "FOUNDER APPRENTICE" ซึ่งเป็นกิจกรรมจับคู่นิสิต นักศึกษา และผู้ที่จบการศึกษาใหม่ กับกลุ่มผู้ประกอบการด้านธุรกิจนวัตกรรม 22 แห่ง เพื่อให้ได้ทดลองทำงานจริง ตลอดจนได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพอย่างเข้มข้น

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการพัฒนาบริการภาครัฐโดยเปิดพื้นที่และโอกาสให้สตาร์ทอัพด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภาครัฐ (Government Technology; GovTech) เข้ามาช่วยภาครัฐในการพัฒนาบริการสาธารณะให้ดีขึ้น ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐได้สะดวกขึ้น สร้างมิติใหม่แห่งการทำงานและบริการประชาชน โดยเน้น 7 ด้าน ได้แก่ 1. การพัฒนากำลังคนภาครัฐและการสื่อสารนโยบายสาธารณะ 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวและส่งเสริมวัฒนธรรมและพื้นที่เรียนรู้ 3. การบริการสาธารณูปโภค 4. การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ 5. รัฐบาลดิจิทัล 6. ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ และ 7. การพัฒนาตลาดในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้นการปลดล็อคการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างเป็นทางการ เป็นการทำให้เกิดพื้นที่สำหรับให้สตาร์ทอัพได้สาธิตสินค้าและบริการของตนเองให้กับหน่วยงานราชการ (sandbox) ควบคู่ไปกับการพัฒนาและปรับปรุงข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การจัดซื้อจัดจ้างสตาร์ทอัพของภาครัฐที่ช่วยให้กระบวนการง่ายขึ้น จากตัวอย่างโครงการต่างที่ NIA ได้ริเริ่มและดำเนินการมานี้ NIA จึงเปรียบเสมือนเป็นห้องปฏิบัติการนวัตกรรมสำหรับในประเทศไทย โดยในภูมิภาคเอเชียมีทั้งสิ้น 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ไต้หวัน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา และจอร์เจีย จึงนับว่าอีกหนึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ได้รับการยอมรับด้านนวัตกรรมระดับสากล

"โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของสังคมเมือง การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนการปฏิวัติทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคมในสมัยปัจจุบัน ภาครัฐเองก็ต้องมีการปรับตัวให้ก้าวตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน แนวคิดการสร้าง "ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม" (Government Innovation Lab) จึงถูกนำมาใช้ ซึ่งก็คือแนวทางที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระบวนการคิดออกแบบเชิงสร้างสรรค์และอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการต่อยอด สร้างมูลค่า กลายเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม และในต่างประเทศได้มีการนำเอาแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการสร้างห้องปฏิบัติการนวัตกรรมในชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น Mind Lab ของประเทศเดนมาร์ก Helsinki Design Lab ของประเทศฟินแลนด์ Gov Lab ของประเทศสหรัฐอเมริกา Innovation Lab ของประเทศแคนาดา InnovationXchange ของประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

อย่างไรก็ดี สำหรับห้องปฏิบัติการนวัตกรรมของภาครัฐที่สำคัญของโลก Lab ซึ่งจัดทำโดย Apolitical Group ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 90 แห่ง ใน 6 ภูมิภาค ประกอบด้วย ทวีปยุโรป 34 แห่ง อเมริกาเหนือ 29 แห่ง อเมริกากลางและอเมริกาใต้ 15 แห่ง โอเชียเนีย 8 แห่ง เอเชีย 6 แห่ง และตะวันออกกลางและแอฟริกากลาง 4 แห่ง ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02 – 0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ Facebook.com/NIAThailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4