ดีอี ปลื้มทัชสตาร์ ยักษ์ใหญ่จีน MOU ดีป้าสร้างโอกาสใหม่สตาร์ทอัพไทย

พุธ ๓๐ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๕:๑๓
ทัชสตาร์ (TusStar) เบอร์ 1 วงการสตาร์ทอัพของจีน – ดีป้า จับมือ MOU จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพดิจิทัล "The Development of China-Thailand Digital Incubator" ในประเทศไทย ตั้งเป้าปั้นเป็นฮับระดับภูมิภาคเชื่อมโยงเส้นทางการค้าใหม่ระหว่างตลาดกลุ่ม CLMVT กับประเทศจีน สอดรับนโยบายหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย และนโยบาย One Belt One Road ของจีน

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทัชสตาร์ (TusStar) ซึ่งเป็นหน่วยบ่มเพาะธุรกิจขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยชิงหัว มหาวิทยาลัยวงการสตาร์ทอัพอันดับ 1 ของเอเชีย และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ผ่านการลงนาม MOU จัดตั้ง "The Development of China-Thailand Digital Incubator" ขึ้นในประเทศไทย นับเป็นความก้าวหน้าของความสัมพันธ์ต่อเนื่องมาร่วม 4 ปี ระหว่างไทยกับบริษัท ทัช โฮลดิ้งส์ (Tus-Holdings) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของทัชสตาร์ โดยที่ผ่านมา ประเทศจีนประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มสตาร์ทอัพ ขณะที่ ประเทศไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สตาร์ทอัพ กลายเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ

ดังนั้น ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะและพัฒนาสตาร์ทอัพขึ้นในประเทศไทย จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเข้มข้นของไทยและจีน จะได้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการที่ประเทศจีนเป็นตลาดที่ใหญ่มากและเทคโนโลยีพัฒนาไปไกล ดังนั้นการผสมผสานกัน ก็จะทำให้โอกาสของสตาร์ทอัพไทยกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมยังทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกัน ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

"ผมคุ้นเคยกับ Tus Holdings บริษัทแม่ของทัชสตาร์ เคยทำงานร่วมกันตั้งแต่ 4 ปีก่อน ตอนที่ผมอยู่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เคยนำสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไปร่วมลงนามความร่วมมือกับ Tus Holdings ซึ่งใหญ่มาก เขามีจุดเริ่มต้นจากการเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยชิงหัว ซึ่งเปรียบได้กับเป็นสถาบัน MIT ของประเทศจีน มหาวิทยาลัยชิงหัว ใช้บริษัทแห่งนี้ทำธุรกิจ โดยเอาความรู้ของมหาวิทยาลัยไปใช้ ขยายการลงทุนออกไปหลายประเทศ

จนมีกระแสเรื่องสตาร์ทอัพ จึงได้จัดตั้งบริษัท ทัชสตาร์ (TusStar) ขึ้นมาจับด้านนี้โดยตรง เริ่มต้นจากการสรรหา "ดาวเด่น" จากภายในมหาวิทยาลัยชิงหัว ซึ่งเป็นแหล่งรวมนักศึกษาระดับหัวกะทิของประเทศ เพื่อมาปั้นเป็น "สตาร์ทอัพ" ขยายผลสู่ครอบคลุมทั่วประเทศจีน และเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ" ดร.พิเชฐกล่าว

ดร.จาง จินเซิง ประธานบริษัท ทัชสตาร์ ซึ่งเป็น Incubator ด้านดิจิทัลรายใหญ่สุดของประเทศจีน กล่าวว่า ศูนย์บ่มเพาะฯ แห่งนี้พร้อมเปิดดำเนินการราวเดือนมีนาคม หรือเมษายนปีนี้ โดยจะมีการส่งทีมของทัชสตาร์ส่วนหนึ่งเข้ามาประจำที่ประเทศไทย เพื่อให้บริการและการสนับสนุนผู้ประกอบการจากประเทศจีน ที่ต้องการขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทย ตลอดจนผู้ประกอบการไทยที่อยากเข้าไปก่อตั้งธุรกิจในประเทศจีน โดยความร่วมมือกับดีอี และดีป้า ครั้งนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมสาขาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล

ผู้บริหารทัชสตาร์ กล่าวว่า เหตุผลที่สนใจเข้ามาตั้งฐานพัฒนาสตาร์ทอัพในประเทศไทย เพราะอยากช่วยเหลือสตาร์ทอัพของจีน ที่อยากเข้ามาศึกษาโอกาสในตลาดประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเส้นทางการค้าใหม่ (One Belt One Road Initiative) ของประเทศจีน อีกทั้งจะเป็นฐานสำคัญที่จัดตั้งขึ้นในอาเซียนสำหรับพัฒนาสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนับสนุนโครงการในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ปัจจุบัน บริษัทเข้าไปลงทุนเปิดศูนย์บ่มเพาะแล้ว 140 แห่งทั่วโลก โดยประเทศไทย ถือป็นแห่งที่ 2 ในภูมิภารอาเซียน ต่อจากมาเลเซีย และในครั้งนี้ได้นำคณะเดินทางราว 50 คน ที่เป็นผู้ประกอบการและสถาบันการเงินของจีน ในสาขาเทคโนโลยี ได้แก่ AI, Smart Devices, IoT และ New Energy เข้ามาศึกษาตลาดและระบบนิเวศน์ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากสตาร์ทอัพของจีน เพราะมีความคาดหวังต่อตลาดในประเทศไทยอยู่แล้ว

ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะเป็นฐานแห่งที่ 2 ในภูมิภาคนี้ที่ทัชสตาร์ เข้ามาลงทุน แต่เรียกได้ว่าเป็นการร่วมมือ "แห่งแรก" ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดตั้งเพื่อขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากในมาเลเซีย เป็นการบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่เป็นรูปแบบ Traditional Incubator ขณะที่ศูนย์ฯ แห่งนี้บทบาทจะครอบคลุมตั้งแต่ การบ่มเพาะ การแลกเปลี่ยนสตาร์ทอัพข้ามประเทศเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ และระยะต่อไปอาจถึงขั้นการเข้าไปร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ

"เป้าหมายของเรามุ่งเป็นศูนย์กลางบ่มเพาะสตาร์ทอัพดิจิทัลข้ามภูมิภาค (Regional Digital Hub) โดยอยู่บนพื้นฐานจุดแข็งของประเทศไทยด้านการเชื่อมโยงประเทศในกลุ่ม CLMVT (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย) และการที่เรารู้จักตลาดกลุ่มนี้เป็นอย่างดี เมื่อเชื่อมต่อกับจีน จะยิ่งทำให้โอกาสการตลาดกว้างขึ้น เพราะจีนเป็นตลาดใหญ่ ขณะที่เขาเองก็มีความสนใจตลาดในกลุ่มประเทศนี้ และมีจุดแข็งด้านประสบการณ์ขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพดิจิทัล รวมทั้งพร้อมสนับสนุนด้านความเชี่ยวชาญและทรัพยากร"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้