CAT SATCOM ปูพรมระบบดาวเทียมวงโคจรต่ำรับ 5G

พุธ ๐๒ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๕๘
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศ ประกาศศักยภาพการเป็นผู้นำการสื่อสารผ่านดาวเทียม ตอบโจทย์คนไทยทั้งประเทศให้เข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง พร้อมปูพรมรองรับระบบดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) เพื่อซัพพอร์ต การใช้งาน 5G ที่กำลังจะมาถึง

คุณธานินท์ หยวกขาว ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์สื่อสารดาวเทียม เปิดเผยถึงภารกิจหลักของการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมว่า "ประชาชนจะต้องเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและเสถียรมากขึ้นในทุกๆ ปี ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราครัวเรือนเข้าถีงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้วประมาณ 45% ซึ่งในแต่ละปีเราต้องขยายการให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น เพราะสื่อสารดาวเทียมนั้นเป็นโครงสร้างโทรคมนาคมพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สอดรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่จะผลักดันสังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าสู่ยุค Digital Economy"

ปัจจุบัน CAT ให้บริการสื่อสารดาวเทียม 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ บริการถ่ายทอดสัญญาณ (Broadcasting) ให้บริการถ่ายทอดสดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในประเทศไปยังต่างประเทศ อาทิเช่น, การแข่งขันกีฬาต่างๆ,การประชุมที่มีบุคคลสำคัญๆ การประกวดมิสยูนิเวิร์ส โดยมีรถรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมอย่าง DSNG ไปคอยให้บริการถ่ายทอดสัญญาณ พร้อมกันนี้ยังรองรับการถ่ายทอดสดจากต่างประเทศและกระจายสัญญาณสู่สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ผ่านสถานีดาวเทียมหลักของ CAT เช่น สถานีดาวเทียมนนทบุรี, สถานีดาวเทียมศรีราชา

รูปแบบที่ 2 เป็น บริการสื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ได้แก่บริการ GLOBESAT เป็นการให้บริการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูล ภาพ เสียง ทั้งในและระหว่างประเทศ ,บริการ CAT IPSTAR เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม iPSTAR (THAICOM4) รองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตและการรับ-ส่ง ข้อมูลทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลที่โครงข่ายโทรคมนาคมพื้นฐานเข้าไม่ถึง, และบริการ CAT INMARSAT บริการเชื่อมโยงข้อมูลและเสียงผ่านดาวเทียม Inmarsat ที่มีคุณสมบัติเคลื่อนที่ได้ ด้วยอุปกรณ์ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบประจำที่ กับสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ได้แก่ Inmasat Aero, Inmasat C และ Inmasat Feet One เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการการติดต่อสื่อสารแบบเคลื่อนที่ เช่น เรือสำราญ รถไฟ หรือรถยนต์

นอกจากบริการหลักทั้งสองส่วนแล้ว CAT ยังให้บริการสื่อสารในแบบ Total Solution สำหรับธุรกิจที่ต้องการมีช่องรายการของตัวเองอย่าง CAT TV Platform ที่ให้บริการบีบอัดสัญญาณภาพเสียงและส่งสัญญาณขึ้นสู่ดาวเทียมแบบ 24 ชั่วโมง, บริการช่องทีวีดาวเทียมและแอพพลิเคชันแพลตฟอร์มทั้ง IOS และ Android อย่าง CAT Channel HD

เมื่อบริการด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมครอบคลุมทุกรูปแบบบริการแล้ว CAT ยังพร้อมอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการจะมาถึงของดาวเทียมประเภทวงโคจรต่ำ ( LEO)

คุณธานินท์ฯ กล่าวถึงเทรนด์ธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า "ในอนาคตอันใกล้ คาดการณ์ว่าจะได้เริ่มใช้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G อย่างเต็มรูปแบบได้ในปี 2021 และแน่นอนว่ามันจะส่งผลกระทบให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องการความเร็วของเครือข่าย และการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพสูง รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องทำงานกับข้อมูลเชิงลึกจำนวนมาก ดาวเทียม คือระบบสื่อสารอีกช่องทางหนึ่ง ที่จะเข้ามาเสริมให้การบริการเทคโนโลยีเครือข่าย 5G มีศักยภาพให้การให้บริการมากยิ่งขึ้น ทั้งความจำเป็นของการส่งสัญญาณความเร็วสูง ความต้องการให้มีการซัพพอร์ตเรื่องการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ หรือแม้แต่การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือ อุปกรณ์ IoT ที่มีจำนวนมากๆ ติดต่อกันตลอดเวลาเป็นต้น"

เมื่อการสื่อสารผ่านดาวเทียมมีความจำเป็นเพิ่มขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมจึงต้องไม่หยุดนิ่งตาม ล่าสุดผู้ผลิตดาวเทียมรายใหญ่ของโลกอย่างน้อย 3 ราย ได้ทำการผลิตดาวเทียมวงโคจรต่ำ ด้วยระยะห่างจากพื้นดินเพียง 800-1300 กิโลเมตร และจะมีบทบาทและการใช้ประโยชน์มากขี้น แทนที่ดาวเทียมที่อยู่ค้างฟ้า(Geostationary Earth Orbit: GEO) แบบดั้งเดิม ที่อยู่เหนือพื้นโลก 30,000 กว่ากิโลเมตร

คุณธานินท์ฯขยายความเพิ่มเติมว่า "เนื่องจากระบบดาวเทียมแบบดั้งเดิมเป็นดาวเทียมแบบประจำที่ (GEO) อยู่ระยะไกลทำให้การเดินทางของคลื่นมีความหน่วงของการรับ-ส่งสัญญาณ(Latency) มาก ไม่เหมาะที่จะรองรับระบบ 5G ได้ แต่ระบบดาวเทียมแบบ LEO นี้ อยู่ใกล้พื้นดินและยังมีรูปแบบวงโคจรหมุนรอบโลกจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้จึงทำให้การบริการมีได้ทั่วถึงทุกมุมโลก ซึ่งดาวเทียมชนิดนี้เองจะมาช่วยให้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ทำงานเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางผู้ผลิตคาดการณ์ว่าจะส่งดาวเทียมนับพันดวงชนิดนี้ขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เสร็จสิ้นภายในปี 2021-2023"

ด้วยศักยภาพการเป็นผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมอันดับต้นๆของประเทศ CAT จึงได้เตรียมพร้อมรองรับการพัฒนาใช้งานเทคโนโลยีเครือข่าย 5G ที่จะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ ด้วยการเจรจากับพันธมิตรธุรกิจระบบดาวเทียม Low Earth Orbit และเสนอพื้นที่สถานีดาวเทียมภาคพื้นดินของ CAT และ Facility ต่างๆ ให้เป็นสถานี Gateway ของเครือข่าย ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) เมื่อประเทศไทยมีความต้องการใช้งานข้อมูลผ่านดาวเทียมขนาดใหญ่และ 5G จะทำให้ CAT สามารถให้บริการรองรับได้ทันที เพื่อตอบโจทย์ทุกการสื่อสารหลากหลายที่จะเกิดขึ้นและครอบคลุมให้ได้มากที่สุดทั่วประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4