เทรนด์ไมโคร เผยผลวิจัยล่าสุดชี้ชัด ภัยคุกคามทางไซเบอร์มุ่งเป้าธุรกิจ eSports มากยิ่งขึ้น

ศุกร์ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๖:๒๘
บริษัท เทรนด์ไมโคร จำกัด (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ได้ออกมาเผยในวันนี้ถึงการค้นพบใหม่จากงานวิจัยล่าสุด ที่ชี้ให้เห็นถึงการอันตรายทางไซเบอร์จำนวนมากเกิดกับกลุ่มธุรกิจเกมออนไลน์เพื่อการกีฬาหรือ eSport ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้เหล่าอาชญากรไซเบอร์เริ่มหันมาเล็งเหยื่อในกลุ่มผู้เล่นเกมทั่วไปมาตั้งแต่ปี 2010 ก็ตาม แต่เหล่าผู้เล่น eSports, บริษัทผลิตเกม, ผู้ให้การสนับสนุน, รวมทั้งผู้ชมกีฬา eSports ก็มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรมข้อมูล, แรนซั่มแวร์, DDoS, การแฮ็กฮาร์ดแวร์, หรือแม้แต่ Cybercrime-as-a-Service

ความนิยมของอุตสาหกรรม eSports ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าแตะ 1.7 พันล้านเหรีบญสหรัฐฯ ภายในปี 2021อีกทั้งยังพัฒนาขึ้นจนมีการแข่งขันเป็นกีฬาระดับมืออาชีพ มีสนามแข่งขันที่จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ที่ผู้เล่นระดับท็อปสามารถทำรายได้หลักล้าน แน่นอนว่าการเติบโตระดับนี้ย่อมดึงดูดอาชญากรที่ต้องการเงินเป็นอย่างมาก

"ถ้าจะทายสิ่งที่เรารู้แน่นอนเกี่ยวกับผู้ไม่ประสงค์ดีในเรื่องนี้แล้ว ย่อมเป็นเรื่องที่ว่าคนกลุ่มนี้กำลังวิ่งไล่ตามเงิน ซึ่งเทรนด์ไมโครเองได้เฝ้าติดตามกลุ่มต่างๆ ที่เคลื่อนไหวที่มีเงินเป็นแรงจูงใจกำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในการโจมตีกลุ่มอุตสาหกรรมเกมเพื่อผลประโยชน์ในรูปของเงิน แน่นอนว่าเราย่อมเห็นปรากฏการณ์นี้กับวงการ eSport ด้วย"Jon Clay ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายระดับนานาชาติของเทรนด์ไมโคร กล่าว "ขณะที่ eSport ได้กลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าระดับพันล้านดอลลาร์นั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เหล่าผู้โจมตีจะมองเป็นขุมทรัพย์หลักในช่วงหลายปีข้างหน้า เราคาดการณ์ว่าธุรกิจกลุ่มนี้จะโดนโจมตีลักษณะเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเกม แต่จะเป็นการโจมตีที่มีขนาดใหญ่และหนักกว่ามาก ด้วยอาชญากรที่มีแรงจูงใจทางด้านการเงินเข้ามามีส่วนร่วมทั้งจากเหตุผลด้านเงินและการเมืองระหว่างชาติ"

ถ้าอ้างอิงจากงานวิจัยฉบับนี้แล้ว เทรนด์ไมโครทำนายว่าอาชญากรไซเบอร์จะใช้ความพยายามอย่างมากในการสร้างเม็ดเงินจากแรนซั่มแวร์ที่พุ่งเป้าโจมตีไปที่ผู้ให้การสนับสนุนและเหล่านักกีฬา eSportรวมทั้งการให้บริการโจมตี DDoS, การจารกรรมข้อมูลส่วนตัว (PII), การให้บริการปรับแก้คะแนนจากการเล่นเกมแบบผิดๆ, ไปจนถึงการขโมยบัญชีผู้เล่นเกม ซึ่งการตั้งรหัสผ่านหรือใช้ระบบความปลอดภัยในการยืนยันตนที่อ่อนแอจะกลายเป็นช่องโหว่ที่ถูกใช้ประโยชน์จากการโจมตีลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง

ผลกระทบที่เกิดจากข้อมูลรั่วไหล แรนซั่มแวร์ DDoS หรือการโจมตีอื่นๆ ที่เกิดกับบริษัทผู้ผลิตเกมและผู้ให้การสนับสนุนอาจรุนแรงมาก นำไปสู่การเสียชื่อเสียงของแบรนด์และสูญเสียรายได้ในที่สุด เซิร์ฟเวอร์ที่บริษัทเหล่านี้ใช้โฮสต์ระบบเกมของตัวเองก็ถือเป็นเป้าหมายหลักที่แฮ็กเกอร์จ้องที่จะเจาะระบบกัน

ดังนั้น เพื่อที่จะปกป้องทรัพย์สินที่มีค่าเหล่านี้ กลุ่มอุตสาหกรรม eSport ควรยกระดับมาใช้ระบบป้องกันหลายระดับชั้นเพื่อปกป้องเซิร์ฟเวอร์ และใช้ระบบแพ็ตช์แบบเวอร์ช่วลสำหรับอุดช่องโหว่ที่รู้จัก

สำหรับรายงานฉบับเต็มเรื่อง Cheats, Hacks, and Cyberattacks: Threats to the eSports Industry in 2019 and Beyondนี้ สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.trendmicro.com/vinfo/us/security/news/cybercrime-and-digital-threats/cheats-hacks-and-cyberattacks-threats-to-the-esports-industry-in-2019-and-beyond

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!