ไทยคม แจ้งยุติการใช้งานดาวเทียมไทยคม 5

พฤหัส ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๖:๔๘
บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการดาวเทียม รายงานว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินการโอนย้ายลูกค้าออกจากดาวเทียมไทยคม 5 ไปยังดาวเทียมไทยคม 6 และดาวเทียมดวงอื่นๆ เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา และได้ยุติการใช้งานดาวเทียม และทำการปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 แล้ว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 16.52 น. (ตามเวลาประเทศไทย) บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการบริหารดาวเทียมเพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้งานได้รับบริการที่ต่อเนื่อง และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
ไทยคม แจ้งยุติการใช้งานดาวเทียมไทยคม 5

ดาวเทียมไทยคม 5 ได้เกิดเหตุขัดข้องขึ้นเมื่อวันที่

17 ธันวาคม 2562 ส่งผลให้มีข้อจำกัดทางเทคนิคในการตรวจสอบสถานะดาวเทียมไทยคม

5 บริษัทฯ ได้พยายามดำเนินการกู้คืนระบบที่ขัดข้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตดาวเทียมและผู้เชี่ยวชาญหลายครั้ง

แต่ไม่สามารถทำการกู้คืนระบบได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ผลิตจึงแนะนำให้บริษัทฯ ดำเนินการปลดระวางดาวเทียม

ทั้งนี้ ดาวเทียมไทยคม 5 มีการใช้งานมาแล้วร่วม 14 ปี โดยส่งขึ้นสู่วงโคจรตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 บริษัทฯ ขอขอบพระคุณกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นอย่างสูงที่เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนของสถานการณ์และสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้การอนุญาตเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี

เกี่ยวกับไทยคม

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)

ผู้ให้บริการดาวเทียมไทย

มีภารกิจหลักในการให้บริการด้านการสื่อสารโดยเน้นสร้างการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายดาวเทียมทั้งบรอดคาสต์และบรอดแบนด์

ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำหน้า ความเป็นมืออาชีพของทีมงาน บริการที่หลากหลายครบวงจร

และเทคโนโลยีที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จนถึงปัจจุบัน

บริษัทได้จัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้วทั้งสิ้นจำนวน 8 ดวง

โดยมีดาวเทียมที่ยังคงให้บริการอยู่จำนวน 5 ดวง

คือ ไทยคม 5 ไทยคม 6 ไทยคม 7 และล่าสุดคือ ดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดคาสต์ ให้บริการถ่ายทอดสัญญาณรายการโทรทัศน์

ครอบคลุมประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย อยู่ในตำแหน่งวงโคจรหลัก "Hot

Bird" ที่ 78.5 องศาตะวันออก โดยมีจานหันเข้ารับสัญญาณจำนวนมาก นอกจากนี้ สำหรับการสื่อสารบรอดแบนด์ ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงแรกของโลก

ได้สนับสนุนโครงข่ายการสื่อสารด้วยปริมาณช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้น

พื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม

รวมถึงนวัตกรรมที่มีศักยภาพทางธุรกิจและเทคโนโลยีดาวเทียมที่โดดเด่นในระดับคุณภาพมาตรฐานโลก

ด้วยแนวคิด “Connectivity for Sustainability” ไทยคมได้ให้บริการทั้งภาคธุรกิจ

ภาครัฐ และตอบไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

นอกจากความรับผิดชอบในการให้บริการติดต่อสื่อสารในภาวะปกติแล้ว

ไทยคมยังมีจุดแข็งในการเชื่อมต่อการสื่อสารได้อย่างไร้รอยต่อ

เช่นการสื่อสารในภาวะภัยพิบัติหรือในพื้นที่เข้าถึงได้ยาก และทั้งหมดนั้น

ถือเป็นความมุ่งมั่นของไทยคม ในการสร้างโอกาส สร้างอนาคต สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตามเป้าหมายการก้าวสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชีย

ที่ยังคงความเป็นพลเมืองดีของสังคมไทยต่อไป

บริษัท

ไทยคม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534

และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “THCOM”

เกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม5

ดาวเทียมไทยคม

5

เป็นดาวเทียมบรอดคาสต์และมีเดีย โดยได้จัดส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก

โดยมีบริษัท ธาเลซ อลิเนีย สเปซ แห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ผลิตดาวเทียม และ บริษัท

แอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ให้บริการจัดส่งดาวเทียม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4