วิศวฯ และแพทย์ จุฬาฯ ผนึกเอไอเอส ห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์ นำเทคโนโลยี 5G เสริมขีดความสามารถหุ่นยนต์อัจฉริยะ ดูแลเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกของเมืองไทย

พฤหัส ๐๕ มีนาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๑๕
จากสถานการณ์เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา บุคลากรทางการแพทย์ เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ล่าสุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ เอไอเอส โดยนายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย ตลอด 24 ชั่วโมง จึงร่วมพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยี 5G และ 4G มาช่วยเสริมขีดความสามารถการทำงานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ซึ่งคิดค้นและพัฒนาจากฝีมือคนไทย โดยศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotics Technology ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญครบวงจรโรคหลอดเลือดสมอง ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำมาใช้ติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
วิศวฯ และแพทย์ จุฬาฯ ผนึกเอไอเอส ห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์ นำเทคโนโลยี 5G เสริมขีดความสามารถหุ่นยนต์อัจฉริยะ ดูแลเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกของเมืองไทย

หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์นี้ เริ่มต้นได้คิดค้นด้วยจุดมุ่งหวังในการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมายกระดับการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วย ด้วยการรักษาและให้คำปรึกษาผ่านทางไกลผ่านระบบ Telemedicine ที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อขยายขีดความสามารถในการดูแลและรักษา เมื่อมีปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะนำมาดัดแปลงเพื่อช่วยเหลือแพทย์และพยาบาลสำหรับดูแลผู้ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในเบื้องต้นหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์เริ่มถูกนำไปใช้งานเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว 3 แห่ง โดยได้ทำงานร่วมกับนายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และนายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก ได้แก่ 1 โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 2 ชุดเป็นแบบตั้งโต๊ะ 2. โรงพยาบาลทรวงอก จำนวน 1 ชุด เป็นแบบ Mobile Robot และ 3. โรงพยาบาล นพรัตนราชธานี จำนวน 1 ชุด เป็นแบบตั้งโต๊ะ นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการสร้างจำนวนมากขึ้นและการพัฒนาโปรแกรมใหม่โดย เฉพาะ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านเครือข่ายสัญญาณ 5G ไปยังสถานพยาบาลในพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มเติมอีกด้วย

สำหรับคุณสมบัติเด่นในการใช้งานหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ในการติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่

ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างแพทย์ และกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังหรือผู้ป่วย ได้สื่อสารโต้ตอบผ่านระบบ VDO Conference ด้วยภาพความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์สามารถคัดกรอง ประเมินความเสี่ยง ตลอดจน การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้แพทย์ พยาบาล สามารถควบคุม สั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล เช่น ติดตามอาการของผู้ถูกเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกเฝ้าระวังด้วยตนเองหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (Vital sign) เช่นวัดความดัน, วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), วัดชีพจร, วัดอุณหภูมิและส่งต่อข้อมูลไปยังแพทย์ เพื่อประเมิน ผลได้ทันที(ในส่วนของหุ่นยนต์ชุดแรกยังไม่ได้ติดเครื่องวัดสัญญาณชีพนี้แต่ในรุ่นถัดไปจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ตามความจำเป็น)

ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการร่วมทำงานอย่างต่อเนื่องจาก 4G สู่ 5G ที่จะเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบการสื่อสารโต้ตอบผ่านกล้อง VDO ความคมชัดสูงที่ช่วยให้การทำงานมีเสถียรภาพ และการตอบสนองของหุ่นยนต์ที่รวดเร็ว และยังรองรับจำนวนหุ่นยนต์ที่ทำงานพร้อมกันได้มากขึ้นด้วย นับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยในการพัฒนาหุ่นยนต์เข้ามาช่วยลดอัตราความเสี่ยงในการติดตามเฝ้าระวังอาการระหว่างผู้ถูกเฝ้าระวังผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กับบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล รวมถึง ล่ามภาษาจีน เนื่องจากในปัจจุบัน ยังต้องมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทางการทดสอบเบื้องต้น ทำให้เรามั่นใจได้ว่าเทคโนโลยี 5G จะมีบทบาทสำคัญมากกับวงการแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์อย่างไม่มีข้อสงสัย

วิศวฯ และแพทย์ จุฬาฯ ผนึกเอไอเอส ห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์ นำเทคโนโลยี 5G เสริมขีดความสามารถหุ่นยนต์อัจฉริยะ ดูแลเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกของเมืองไทย วิศวฯ และแพทย์ จุฬาฯ ผนึกเอไอเอส ห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์ นำเทคโนโลยี 5G เสริมขีดความสามารถหุ่นยนต์อัจฉริยะ ดูแลเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งแรกของเมืองไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา