แคสเปอร์สกี้เผยรายงานวิเคราะห์ APT 3 ปฏิบัติการไซเบอร์ร้ายโจมตีไทย

พฤหัส ๑๒ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๕๗
แคสเปอร์สกี้เปิดโปงปฏิบัติการของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ยังดำเนินการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการวิเคราะห์พบว่า ปี 2019 เป็นปีที่กลุ่มผู้ร้ายวุ่นวายอย่างหนักในการเริ่มใช้งานทูลโจมตีใหม่ๆ รวมถึงการสองส่องผ่านโมบายมัลแวร์เพื่อทำจารกรรมล่าข้อมูลจากรัฐบาล หน่วยงานการทหาร และองค์กรต่างๆ ทั่วภูมิภาค
แคสเปอร์สกี้เผยรายงานวิเคราะห์ APT 3 ปฏิบัติการไซเบอร์ร้ายโจมตีไทย

นายวิทาลี คามลัก ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัย แคสเปอร์สกี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ภูมิศาสตร์การเมืองนับเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะกำหนดแนวทางภัยคุกคามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีที่แล้ว จากจำนวนเคสที่แคสเปอร์สกี้ตรวจสอบการโจมตีแบบ APT ที่พุ่งเป้าหมายที่ภูมิภาคนี้โดยเฉพาะ แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการโจมตีหลักๆ แล้วคือการรวบรวมข่าวกรองด้านเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมือง”

“ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วิสัยทัศน์ทางการเมือง และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงเป็นปัจจัยกำหนดรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ที่หลากหลายในภูมิภาคนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้เห็นว่าผู้โจมตี APT นั้นปฏิบัติการอย่างไรช่วงหลายปีที่ผ่านมา พัฒนาทูลใหม่อย่างไร มีความระมัดระวังมากขึ้น มีความก้าวหน้าทางเทคนิคและกระตือรือร้นไขว่คว้าเป้าหมายที่สูงขึ้น” นายวิทาลีกล่าวเสริม

กลุ่ม APT ที่โจมตีประเทศไทยในปี 2019 และปฏิบัติการต่อเนื่องในปี 2020 นี้

ฟันนีดรีม (FunnyDream)- ประเทศเป้าหมายในภูมิภาคนี้: ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม- ช่วงต้นปี 2020 แคสเปอร์สกี้ออกรายงานการสืบสวนแคมเปญการโจมตีที่ชื่อ “FunnyDream” ผู้ร้ายที่ใช้ภาษาจีนในการสื่อสารนี้ดำเนินการร้ายนานอย่างน้อย 2-3 ปี และฝังมัลแวร์ร้ายที่มีความสามารถหลากหลายไว้ โดยตั้งแต่กลางปี 2018 นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้สังเกตุเห็นกิจกรรมที่แอคทีฟอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มนี้ มีเป้าหมายส่วนหนึ่งเป็นองค์กรรัฐบาลระดับสูงและพรรคการเมืองในประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม - แคสเปอร์สกี้รายงานว่า แคมเปญนี้มีทูลจารกรรมไซเบอร์ที่มีความสามารถหลากหลายจำนวนมาก และยังปฏิบัติการอยู่ ยูสเซอร์สามารถดูข้อมูลอัพเดทได้ที่ Kaspersky Threat Portalไซค์เด็ค (Cycldek)- ประเทศเป้าหมายในภูมิภาคนี้: ไทย ลาว ฟิลิปปินส์ เวียดนาม- กลุ่ม APT อีกกลุ่มที่มีเป้าหมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ “Cycldek” ที่ใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร แม้ว่าเป้าหมายหลักของกลุ่มนี้คือเครือข่ายรัฐบาลของเวียดนามและลาว แต่ก็พบว่ามีสัดส่วนเป้าหมายในประเทศไทย 3% และพบเหยื่อแคมเปญร้ายหนึ่งรายในฟิลิปปินส์ช่วงปี 2018 - 2019 - กลุ่ม Cycldeck นั้นรู้จักกันในอีกชื่อว่า Goblin Panda และมีชื่อเสียงทางร้ายในการจารกรรมข้อมูลหน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานการทหาร องค์กรพลังงานโดยใช้ PlugX และมัลแวร์ HttpTunnelเซโบรซี (Zebrocy)- ประเทศเป้าหมายในภูมิภาคนี้: ไทย มาเลเซีย- กลุ่ม “Zebrocy” เป็นกลุ่ม APT ที่ใช้ภาษารัสเซียซึ่งใช้ทรัพยากรร่วมกับกลุ่ม Sofacy และยังมีความสนใจและเป้าหมายร่วมกัน กลุ่ม Zebrocy ยังใช้โค้ดมัลแวร์ร่วมกับกลุ่ม BlackEnergy/Sandworm และมีเป้าหมายและใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกับ BlackEnergy/GreyEnergy อีกด้วย - โปรแกรมแบ็กดอร์ Nimcy ของกลุ่มนี้พัฒนาขึ้นจากภาษาโปรแกรมมิ่ง Nimrod/Nim มีเป้าหมายโจมตีหน่วยงานของประเทศไทยและมาเลเซีย โดย Nimcy เป็นคอลเล็คชั่นภาษาใหม่ของกลุ่ม Zebrocy เพื่อใช้พัฒนาฟังชั่นหลักให้แบ็กดอร์ใหม่ๆ

นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป แคสเปอร์สกี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การค้นพบของแคสเปอร์สกี้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของภัยคุกคามในภูมิภาคนี้ แสดงให้เห็นความจำเป็นในการเร่งพัฒนาศักยภาพการป้องกันทางไซเบอร์ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมาก กลุ่ม APT เหล่านี้มีวิธีการโจมตีแอบแฝงแทรกซึมเพื่อปฏิบัติการจารกรรมไซเบอร์ในภูมิภาค มาตรการความปลอดภัยจึงจะต้องก้าวล้ำกว่าแค่แอนตี้ไวรัสและไฟร์วอลล์ทั่วไป โดยแคสเปอร์สกี้เชื่อมั่นในโครงสร้างความปลอดภัยไซเบอร์ที่ก่อร่างสร้างขึ้นจากคลังข้อมูลภัยคุกคามเชิงลึกและทันท่วงที”

“การรวมแมชลีนเลิร์นนิ่งเข้ากับความรู้ของมนุษย์ผ่านนักวิจัยทีม GReAT ของแคสเปอร์สกี้ ทำให้เราสามารถติดตามดูการทำงานของกลุ่ม APT ได้มากกว่า 100 กลุ่มทั่วโลกไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดจากที่ใดก็ตาม รายงานทางเทคนิคของแคสเปอร์สกี้ทำให้บริษัทธุรกิจต่างๆ รัฐบาลและองค์กรไม่หวังผลกำไรได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและทิศทางของภัยคุกคาม ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะเป็นแนวทางปรับปรุงการป้องกันของหน่วยงานนั้นๆ ได้ เรายังแบ่งปันข้อมูลภายในวงการ ยกตัวอย่างเช่นการสานสัมพันธ์กับ INTERPOL เพราะเราเชื่อว่าความร่วมมือกันเป็นหนทางที่ดีที่สุดเพื่อก้าวล้ำนำหน้ากลุ่มจารกรรมไซเบอร์” นายโย เซียง เทียง กล่าวเสริม

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ขอแนะนะมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อโจมตีโดยผู้ก่อภัยคุกคาม ดังนี้

ทีมดูแลความปลอดภัยขององค์กร หรือ SOC (Security Operations Center) จะต้องเข้าถึงฐานข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะล่าสุด Threat Intelligence เพื่ออัพเดทข้อมูลทูล เทคนิค และกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ผู้ก่อภัยคุกคามและอาชญากรไซเบอร์ใช้งานการตรวจจับระดับเอ็นด์พอยต์ การตรวจสอบ การฟื้นฟูให้ทันท่วงที แนะนำให้ใช้โซลูชั่นสำหรับการตรวจจับและตอบสนองโดยเฉพาะ เช่น Kaspersky Endpoint Detection and Responseการเพิ่มการป้องกันที่จำเป็นสำหรับเครื่องเอ็นด์พอยต์ แนะนำติดตั้งโซลูชั่นระดับองค์กรที่สามารถตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูงในเน็ตเวิร์กได้ตั้งแต่เพิ่มเริ่ม เช่น Kaspersky Anti Targeted Attack Platform

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4