ผลสำรวจความก้าวหน้าของการพัฒนาแอป Low-Code ในเอเชียแปซิฟิค ประสบการณ์ของนักพัฒนายุคใหม่ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

ศุกร์ ๐๕ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๐๙:๐๕
“ภายในปี 2567 จะมีนักพัฒนารุ่นใหม่ที่สร้างแอพพลิเคชันได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดคิดเป็น 20% ของนักพัฒนาทั้งหมดในแถบเอเชียแปซิฟิกรวมประเทศญี่ปุ่น (APJ) ซึ่งนักพัฒนาเหล่านี้คือผู้ขับเคลือนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน”
ผลสำรวจความก้าวหน้าของการพัฒนาแอป Low-Code ในเอเชียแปซิฟิค ประสบการณ์ของนักพัฒนายุคใหม่ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

ทำความรู้จักกับ Low-code app และการประยุกต์ใช้งานในเอเชียแปซิฟิค Low-code เป็นวิธีหนึ่งในการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเขียนโค้ดเองมากนัก ทำให้ผู้ที่มีทักษะสามารถสร้างงานได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ โดยการใช้ visual modelling ในอินเตอร์เฟสกราฟิกในการรวมและปรับแต่งแอปพลิเคชันต่างๆ นักพัฒนาจึงสามารถข้ามขั้นตอนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานและการทำซ้ำในรูปแบบต่างๆ เพื่อโฟกัสกับอีก 10% ที่เหลือในการพัฒนาส่วนที่เป็นเรื่องสำคัญจำเพาะของแอปพลิเคชันนั้นๆ ได้ทันที

การพัฒนาแบบ low-code ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ด้านความรวดเร็วและแรงกดดันจากการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชันที่เกิดขึ้นทุกหนแห่ง การใช้งานและแพลตฟอร์ม low-code ทำให้การเขียนโค้ดด้วยตัวเองในขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างง่ายดายขึ้นหรือไม่จำเป็นต้องเขียนโค๊ดเองก็ได้ ช่วยตอบโจทย์องค์กรต่างๆ ที่มุ่งเน้นการสร้างความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

องค์กรในเอเชียแปซิฟิก (AP) มากกว่าครึ่งนำแพลตฟอร์ม low-code มาใช้แล้ว และยังมีอีกหลายองค์กรที่วางแผนจะนำแพลตฟอร์มนี้มาใช้ในช่วงเวลาปีครึ่งต่อจากนี้ เนื่องจากหลายๆองค์กรเริ่มตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการลดการเขียนโค้ดลงเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้การสร้างแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจหลักเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น มีความปลอดภัยมากกว่า และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

24.5% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในเอเชียแปซิฟิกปัจจุบันใช้แพลตฟอร์ม low-code มากกว่า 50% ของโครงการทั้งหมดที่ทำอยู่

3.2% ขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันใช้แพลตฟอร์ม low-code กับทุกโครงการที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา

21% ขององค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกใช้แพลตฟอร์ม low-code ในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาอยู่แล้ว

แม้จะมีความกังวลว่าการใช้ low-code จะทำให้ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถของนักพัฒนาถดถอยลงอย่างมาก แต่ไอดีซีมองว่าการใช้งานนี้เป็นเพียงตัวเสริมไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาทดแทนทักษะและความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ภายในองค์กรแต่อย่างใด

นอกจากนี้ไอดีซียังคาดหวังว่าบทบาทของนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยนักพัฒนาถ้าไม่ทำหน้าที่ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคมากขึ้น ก็จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและวางกลยุทธ์ทางธุรกิจมากขึ้น แม้ว่าตลาดแรงงานของนักพัฒนาในระยะสั้นยังคงเติบโต

“ในแถบเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาชีพนักพัฒนาแอปพลิเคชันเริ่มได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้แอป B2C ซึ่งเดิมทีกลุ่มอาชีพนี้จะเน้นการทำงานในรูปแบบธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับเงินทุน การนำเอา low-code เข้ามาใช้ดังที่เราเห็นกันในภาคองค์กรจะช่วยส่งเสริมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพได้มีโอกาสอันยอดเยี่ยมในการเป็นผู้ทรงอิทธิพลระดับสูงต่อแนวคิดและการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ” ลินัส หลัย, รองประธาน IDC Asia/Pacific Software and Services กล่าว

สี่เหตุผลที่องค์กรในเอเชียแปซิฟิกต่างหันมาใช้ low-code เพื่อให้ทันต่อการปรับองค์กรเข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

การพัฒนาแอปทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ลูกค้า การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ และ IoTการเปลี่ยนแปลงเส้นทางอาชีพของนักพัฒนา การใช้ low-code ทำให้นักพัฒนารุ่นใหม่สามารถปรับโปรไฟล์การทำงานของตนที่แสดงให้เห็นว่ามีประสบการณ์เชิงธุรกิจร่วมด้วยได้รับการเห็นชอบจากหน่วยงานธุรกิจต่างๆ ต่อกลยุทธ์การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน “การที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการเขียนโค๊ดได้ง่ายขึ้น ด้วยอินเทอร์เฟซของระบบที่เรียนรู้ได้ง่าย (Democratization of Coding)” ทำให้องค์กรต่างๆ ดำเนินตามกลยุทธ์ทางดิจิทัลของตนได้โดยได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานธุรกิจมากยิ่งขึ้นหลุดพ้นจากปัญหาข้อจำกัดของระบบเดิม องค์กรในเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 72% ต้องการหาทางออกจากข้อจำกัดของระบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะด้วยการ migrate ไปใช้แอปอื่น ทำให้แอปที่ล้าสมัยมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น หรือเปลี่ยนแอปที่ล้าสมัยออกและยกเครื่องระบบที่มีอยู่ด้วยฟีเจอร์และความสามารถใหม่ๆ อย่างคุ้มค่าเงิน

การนำไปใช้ในงานเฉพาะทางต่างๆ ในภาคธุรกิจของเอเชียแปซิฟิก

การธนาคารและการเงิน Business Intelligence และการวิเคราะห์ทางธุรกิจเพื่อความเข้าใจลึกซึ้งในชุดข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงภาคเอกชน ขั้นตอนและการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม (ERP), การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM), การเงิน, ทรัพยากรบุคคล และแอปพลิเคชันการบริหารจัดการสำนักงานการผลิต IoT โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบมอนิเตอร์งาน ระบบซ่อมบำรุงและรักษา และการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ รวมไปถึงระบบติดตามการขนส่ง (fleet)ประกันภัย การบูรณาการเว็บที่เชื่อมต่อข้อมูลเว็บไซต์เข้ากับ workflow แบบอัตโนมัติ ตั้งแต่การติดตามลูกค้าเป้าหมาย ไปจนถึงการรับประกัน และสนับสนุนงานบริการต่างๆการศึกษา ฟังค์ชั่นการทำงานร่วมกันที่ปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างและวัฒนธรรมของแต่ละองค์กร ซึ่งรวมถึงแอปพลิเคชันแชทและการบริหารจัดการโครงการการค้าปลีก ออฟไลน์ออนไลน์ รวมถึงแบบที่ใช้คิวอาร์โค้ดและบาร์โค้ดในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน อุปกรณ์ และต้นทุนอื่นๆ

การประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม low-code ในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มที่จะให้ความสำคัญกับ DevOps ในการปรับปรุงด้าน agility ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และความรวดเร็วในการเปิดตัวสู่ตลาด สายดิจิทัลแท้ๆ และสตาร์ทอัพ อาทิ ผู้ให้บริการฟินเทคเริ่มตอบรับแอปที่ใช้คลาวด์, DevOps และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมและเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน นอกจากนี้องค์กรต่างๆ ก็เริ่มประเมินทางเลือกของระบบที่จะนำมาทดแทนระบบดั้งเดิมที่มีอยู่ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนกลยุทธ์ด้านไอทีในระยะยาว และทำให้เกิดอุปสงค์ในการมองหาเทคโนโลยีใหม่ อย่างไรก็ตามความตระหนักรู้ถึงการพัฒนาแอป low-code ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศ อื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก โดยมีสัดส่วนองค์กรในประเทศไทยเพียง 19% เท่านั้นที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการขาดความตระหนักรู้ ส่วนภาคธุรกิจที่ริเริ่มนำมาใช้ก่อนใครคือ ธนาคาร การสื่อสาร และสื่อ

จากผลสำรวจความท้าทายสูงสุด 3 อันดับแรกที่ประเทศไทยต้องเผชิญในการพัฒนาแอปคือ การมีข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร (29%) ขอบเขตของงานที่ขยายไม่จบสิ้น (21%) และการก้าวให้ทันกระแส (14%)

เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่นักพัฒนาซอฟท์แวร์ของไทยโฟกัสในขณะนี้ได้แก่ โซเชียลเน็ตเวิร์ค (58%) ปัญญาประดิษฐ์และ machine learning (26%), IoT สำหรับคอนซูเมอร์ (23%)

ในด้านการจัดลำดับความสำคัญของงาน นักพัฒนาซอฟท์ แวร์ของไทยใช้เวลาไปกับ 3 สิ่งนี้มากที่สุด: การวิเคราะห์และการทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยและช่องโหว่ต่างๆ (78%) การทดสอบฟังก์ชั่นการทำงานในแต่ละหน่วยและหลังบูรณาการ (63%) การวิเคราะห์และทดสอบผลการปฏิบัติงานและภาระงาน (61%) และใช้เวลาน้อยลงในสิ่งเหล่านี้: การออกแบบและสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (66%) การติดตาม bug (63%) การเขียนโค้ด (63%)

ดังนั้นสำหรับประเทศไทย Low-code ยังรอที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ซึ่งจะช่วยพลิกองค์กรให้ก้าวสู่การเป็นนวัตกรรมและมีความคล่องตัวสูงในการดำเนินธุรกิจ

Low-code ช่วยสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้นเนื่องจากไม่เพียงเกิดประโยชน์ในด้านไอทีเท่านั้น แต่ทำให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานใหม่ในองค์กร

ผลิตภาพของนักพัฒนาซอฟท์แวร์ที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้เร็วขึ้นและทำงานอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้นจะช่วยเพิ่มจำนวนและความต้องการตำแหน่งงานนักพัฒนามากขึ้น เนื่องจากผู้ที่มีความรู้ด้านเทคนิคไม่มากนักก็สามารถเข้าสู่สายงานการพัฒนาแอปได้ ซึ่งลดอุปสรรคในการเข้าสู่วงการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับฝ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านไอที ส่งผลให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์สายตรงมีเวลาเพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อรับบทบาทหน้าที่ในฐานะ “นักวางกลยุทธ์”, “สถาปนิคระบบ” และ “ผู้เชี่ยวชาญ”

แพลตฟอร์ม low-code ช่วยอุดช่องว่างระหว่างไอทีและธุรกิจ เนื่องจากความรวดเร็วและความง่ายในการใช้งานทำให้สามารถเปิดตัวสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การย่นระยะเวลาในการเปิดใช้งานแอปที่รวดเร็วขึ้นทำให้มูลค่าธุรกิจสูงขึ้นตาม และการเขียนโค๊ดที่ไม่ซับซ้อนก็จะช่วยลดปัญหาการแก้ไข bug ที่น้อยลง นอกจากนี้ยังลดอุปสรรคในการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งแอป

ยังได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของระบบซีเคียวริตี้ในตัวตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวทางปฏิบัติ DevSecOps ดังนั้นผลลัพธ์เชิงธุรกิจขององค์กรย่อมดีขึ้น

Low-code ยังช่วยขจัดปัญหา “tech debt” ซึ่งเป็นภาวะที่การพัฒนาซอฟต์แวร์เกิดขึ้นเร็วกว่าที่ชุดทักษะของนักพัฒนาใดๆ จะตามทัน ทำให้นักพัฒนาสามารถเดินตามแผนงานการปฏิรูปสู่ยุคดิจิทัลโดยไม่ถูกถ่วงเวลาให้หมดไปกับการเพิ่มพูนทักษะและการฝึกอบรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กินเวลายาวนาน และในเมื่อการสร้างต้นแบบและ MVP ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์การเขียนโค้ดใดๆ ก็สามารถพัฒนาต้นแบบ (MVP) บนเว็บ โมบาย และแอปพลิเคชันอื่นๆ เองได้ภายในไม่กี่นาที

ผลลัพธ์จากการร่วมมือกับนักพัฒนาทำให้องค์กรสามารถหาจุดกึ่งกลางที่สมดุลในการทำงานร่วมกัน หัวหน้าฝ่ายไอทีกว่า 18% ในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าการร่วมมือข้ามสายงานเป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุด 3 อันดับแรกในองค์กรเลยทีเดียว ดังนั้นองค์กรที่ใช้แพลตฟอร์ม low-code แบบ shared environment จะช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายเทคนิคและฝ่ายที่ไม่ใช่สายเทคนิค

บทสรุปและข้อแนะนำจากผู้นำในตลาด Low-code - OutSystems

Low-code ช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กรอย่างเหนือชั้น

แพลตฟอร์ม low-code ช่วยเพิ่มผลิตภาพของนักพัฒนาเพราะเป็นการผสานขีดความสามารถและเครื่องมือเข้าด้วยกัน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ควรพิจารณาด้วยว่าแพลตฟอร์ม low-code ใดเหมาะกับด้านกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลขององค์กรอย่างครอบคลุมและกว้างขวางกว่าบ้าง รวมไปถึงความสามารถของแพลตฟอร์มดังกล่าวในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้หลากหลายประเภทยิ่งขึ้นในทุกสายงานธุรกิจ เนื่องจากส่วนต่อประสานโปรแกรมและรูปแบบการใช้นวัตกรรมที่ได้รับการรองรับ (IoT, AI) มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ส่วนใหญ่จึงต้องการแพลตฟอร์ม low-code ที่สามารถปรับใช้แอปพลิเคชันกับบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที IaaS (Infrastructure as a Service), บริการแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟท์แวร์แอพปลิเคชั่น PaaS (Platform as a Service) และระบบไฮบริดคลาวด์ที่หลากหลาย อันที่จริงแล้วในขั้นตอนของการแนะนำ low-code มาปรับใช้นั้นจะทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพได้รับโอกาสที่ดีเยี่ยมในการเข้าร่วมสนทนาในเรื่องที่เกี่ยวกับการวางกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจในระดับสูง ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงแรงกดดันแฝงที่มีต่อภาระหน้าที่ในปัจจุบันของเขาแล้ว การสนทนาในเรื่องเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อการทำงานของพวกเขา

บทสรุปในมุมมองของ OutSystems นั้นดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันคืองานที่อยู่ในรูปแบบของ work in progress และมีข้อสังเกตุจากผลการศึกษาของ Outsystems ที่ทำการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในภาคธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกกว่า 3,300 รายใน 8 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยดั งนี้:-

- ตลาดยังมีความต้องการการพัฒนาแอปพลิเคชั่นซอฟท์แวร์ในระดับสูงตลอดเวลา

- องค์กรให้ระยะเวลาในการพัฒนาแอปต่างๆ น้อยเกินควร

- แบ็คล็อกเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก

- ทักษะการพัฒนาแอปยังเป็นที่ขาดแคลน

- มีความนิยมใช้แนวปฏิบัติแบบ Agile และแบบ customer-centric เพิ่มมากขึ้น

- แนวคิดที่ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางยังคงปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่อง

- low-code กำลังจะกลายเป็นกระแสหลัก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4