แคทเธอรีน เฉิน รองประธานหัวเว่ยเผยเทรนด์ “ความรับผิดชอบร่วมเพื่ออนาคตที่มีร่วมกัน”

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๕๒
แคเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและกรรมการบริหารฝ่ายองค์กร บริษัท หัวเว่ย ได้กล่าวเปิดในงานประชุม “Better World Summit 2020” โดยระบุว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในหลายประเทศ จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน เพื่อร่วมกันเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการสร้างอนาคตที่เท่าเทียมและเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงแก่ทุกฝ่าย
แคทเธอรีน เฉิน รองประธานหัวเว่ยเผยเทรนด์ ความรับผิดชอบร่วมเพื่ออนาคตที่มีร่วมกัน

ทั้งนี้ วิทยากรท่านอื่นๆ ที่เข้าร่วมงานประชุม ได้แก่ ตัวแทนจากสหภาพโทรคมนาคมโลกในภาควิทยุสื่อสาร (ITU-R) สมาคมด้านการกำหนดดูแลมาตรฐานการสื่อสารบนอุปกรณ์มือถือ (GSMA) สมาคมด้านการแข่งขันในภาคโทรคมนาคมสหภาพยุโรป (ECTA) กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัลของแอฟริกาใต้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย สถาบันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศจีน (CAICT) สมาคมอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของประเทศเยอรมนี (ECO) และ ADL

วิทยากรเหล่านี้ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้ผู้เข้าร่วมประชุมออนไลน์หลายพันคนจากกว่า 80 ประเทศ เพื่อตอกย้ำว่านโยบายอุตสาหกรรมดิจิทัลสามารถส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างชัดเจน

อนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกฝ่าย จำเป็นต้องพึ่งการทำงานร่วมกัน

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ชีวิตและการทำงานของผู้คนสะดวกสบายขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 เผยให้เห็นว่าการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลยังไม่เท่าทันกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดย สหภาพโทรคมนาคมโลก (ITU) ระบุว่ากว่าครึ่งของประชากรโลกยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ ได้ ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เริ่มชะลอตัว ภาครัฐของหลายประเทศก็วิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงเรื่องกลยุทธ์การฟื้นฟูของภาคเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มิสเฉินได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “เรามองเห็นถึงอนาคตที่มีการเชื่อมต่อถึงกัน ความอัจฉริยะ และนวัตกรรม แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องมั่นใจว่านี่จะเป็นอนาคตที่ครอบคลุม ยั่งยืน และดีกว่าสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยการทำงานร่วมกันของทุกคน”

ความสร้างสรรค์และพลังใจที่จำเป็นแก่การฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ในขณะที่หลายประเทศในหลายภูมิภาคเริ่มประสบความสำเร็จในการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อเพื่อชะลอการแพร่กระจายของโควิด-19 กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจของภาคธุรกิจในหลายประเทศเริ่มกลับคืนสู่สภาพปกติ โดยภาครัฐในหลายๆ ประเทศได้เปิดตัวแผนกระตุ้นศรษฐกิจหลากหลายรูปแบบ และ ICT ก็ถือเป็นกุญแจสำคัญในแผนเหล่านี้ โดยในประเทศจีน แผนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ได้วางงบประมาณไว้กว่าหนึ่งล้านล้านหยวน เพื่อลงทุนด้าน 5G โดยเฉพาะ ในอีกห้าปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจีนเติบโตได้ถึง 15.2 ล้านล้านหยวนและช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวเร็วขึ้น นอกจากนี้ สหภาพยุโรป (EU) ยังประกาศโครงการลงทุนมูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านยูโรเพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกด้วย

มิสเฉินกล่าวว่า “เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องออกแบบในแนวดิ่งจากบนสู่ล่าง พร้อมความสร้างสรรค์และพลังใจในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลควบคู่กับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจะนำมาซึ่งประโยชน์แห่งเทคโนโลยีด้านดิจิทัลสู่ทุกอุตสาหกรรม ทั้งยังช่วยเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมนั้นๆ และฟื้นฟูการเติบโตอีกด้วย”

เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังด้วยการใช้ประโยชน์จากICT สู่อนาคตที่ยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิงจากรายงานของธนาคารโลกฉบับล่าสุดระบุว่า ช่องว่างระหว่างเศรษฐกิจแบบดิจิทัลระดับโลกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วกับปัญหาการขาดทักษะด้านดิจิทัล กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งมิสเฉินกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “หัวเว่ยยังคงยืนหยัดดำเนินโครงการสำคัญอย่าง “เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต - Seeds for the Future” ซึ่งเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2551 และได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถด้าน ICT ในประเทศต่างๆ ที่ผ่านมา โปรแกรมนี้ได้มอบประโยชน์แก่นักศึกษามากกว่า 30,000 คนจากมหาวิทยาลัยกว่า 400 แห่งใน 108 ประเทศและภูมิภาค เนื่องด้วยสภาวะการระบาดของโควิด-19 เรากำลังพัฒนาโปรแกรมนี้สู่รูปแบบออนไลน์และเปิดกว้างให้แก่นักศึกษาที่มีความสามารถโดดเด่นมากกว่าที่เคย ซึ่งเมื่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีจำนวนบุคลากรด้าน ICT และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนวาระ พ.ศ. 2579 (ค.ศ.2030) จากสหประชาชาติ โดยเฉพาะเป้าหมายที่เกี่ยวข้องการลดปัญหาภาวะโลกร้อน

นอกจากนี้ วิทยากรท่านอื่นๆ ยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่โลกที่ดีขึ้นในอนาคต ภายในงานประชุมครั้งนี้อีกด้วย

เจ้าหน้าที่อาวุโสจากองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงสหภาพโทรคมนาคมโลก (ITU), สมาคมด้านการกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสารบนอุปกรณ์มือถือ (GSMA) และสมาคมด้านการแข่งขันในภาคโทรคมนาคมสหภาพยุโรป (ECTA) ได้กล่าวถึงการสร้างมาตรฐานด้าน ICT ในระดับโลกให้เป็นแบบแผนเดียวกัน การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบดิจิทัล การเร่งการครอบคลุมและเท่าเทียมทางดิจิทัล รวมทั้งการปรับตัวรับฐานความปกติใหม่ในด้านเศรษฐกิจ (new economic normals)กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลในระดับชาติระดับชาติที่เข้าร่วมการประชุมได้ให้ความสำคัญและยกกรณีตัวอย่าง โดยกลุ่มหน่วยงานที่กำกับดูแลจากประเทศแอฟริกาใต้ ไทย จีน และเยอรมนี รวมถึงคณะผู้บริหารจากหลายสมาคมอุตสาหกรรมได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความพยายามและความคิดริเริ่มด้านนโยบายในปัจจุบัน ซึ่งพวกเขากำลังปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในหลายอุตสาหกรรมนักวิเคราะห์อาวุโสจำนวนมากที่เข้าร่วมงานประชุมยังได้อธิบายถึงผลกระทบภายนอกด้านอื่นๆ ซึ่งเกิดจากเศรษฐกิจแบบดิจิทัลจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างไร

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?