Kaspersky และ Siemens เน้นย้ำความสำคัญของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในกระบวนการผลิตอัตโนมัติ Industry 4.0

จันทร์ ๐๙ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๖:๑๑
Kaspersky และ Siemens เน้นย้ำความสำคัญของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในกระบวนการผลิตอัตโนมัติ Industry 4.0

หัวใจของภูมิภาคเอเชียที่กำลังพัฒนาคืออุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) หรือที่เรียกว่า Digitalisation of Industries การเปลี่ยนธุรกิจและสถานประกอบการไปสู่สภาวะเสมือนจริงที่ชาญฉลาดและเชื่อมต่อกันได้นั้น ไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือกอีกต่อไป หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินงานเพื่อให้อยู่รอด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะแรงกดดันที่เพิ่มเติมขึ้นจากเหตุโรคระบาด

การศึกษาใหม่ล่าสุดโดยบริษัท Deloitte พิสูจน์ให้เห็นถึงแนวโน้มนี้ บริษัทส่วนใหญ่ (96%) จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ระบุว่าได้ทำการตรวจสอบเพื่อหาโอกาสสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (51%) อย่างมีนัยสำคัญ

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "ระดับความเป็นดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จนกระทั่งการระบาดใหญ่บังคับให้ทุกคนพิจารณาแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานของตนใหม่ ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่เป็นที่นิยมว่า Industry 4.0 เป็นหัวข้อระดับสูงที่ยังเป็นเรื่องไกลตัว การปฏิวัติดิจิทัลนี้มีผู้บริโภคเป็นหัวใจหลัก จะเป็นตัวสร้างอนาคตที่กำหนดเอง (customised future) ควบคู่ไปกับนวัตกรรมก้าวหน้าอื่นๆ เช่น Big Data, IoT และ 5G"

"อนาคตที่กำหนดเอง" (Customised future) หมายถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างขึ้นตามความต้องการของลูกค้า เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "การปรับเปลี่ยนในแบบของคุณ" (Personalisation) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่นำมาใช้โดยอัลตร้าบรอดแบนด์มือถือ 4G ที่ทำให้ผู้ใช้งานมีอำนาจเพียงใช้ปลายนิ้วในการเรียกรถแท็กซี่ เพื่อเรียกดูสตรีมเพลงหรือเนื้อหาที่ต้องการและอื่นๆ อีกมากมาย

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (83%) ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ตนเต็มใจให้ข้อมูลส่วนตัว ซึ่งความเป็นจริงแล้วผู้บริโภคได้ให้ข้อมูลมากกว่าสิ่งที่ได้รับโดยไม่รู้ตัว

ตัวอย่างเช่น การเลือกฟังเพลงง่ายๆ โดยการเลือกซ้ำๆ หลายครั้ง บริษัทสตรีมเพลงจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทำให้สามารถคาดเดาอารมณ์ของผู้ใช้งานได้ในช่วงเวลาและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เช่นเดียวกันกับแอปหาคู่ซึ่งสามารถบอกได้ว่าผู้ใช้อยู่ในอารมณ์เศร้าและเปราะบางหรือไม่ และในช่วงเวลาใดของวัน โดยขึ้นอยู่กับจำนวนการกวาดนิ้วของลูกค้าจากซ้ายไปขวา

ในแง่ของการติดตามตำแหน่งที่ตั้ง ผู้ใช้งานได้แชร์ตำแหน่งของตนเองแบบเรียลไทม์ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคเสียอีก วิธีที่ผู้บริโภคใช้แผนที่เสมือนเพื่อค้นหาเส้นทาง หรือเพื่อดูสถานการณ์การจราจรปัจจุบัน ยังช่วยให้แอปเหล่านี้รวบรวมข้อมูลจำนวนมาก เพื่อใช้คาดเดารูปแบบทางกายภาพและพฤติกรรมได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้จะตกอยู่ในความเสี่ยงหากตกอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี

ด้วยข้อมูลต่างๆ นี้ "อนาคตที่กำหนดเอง" จึงมีความเป็นไปได้อย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันบริษัทหลายแห่งรู้จักผู้บริโภคของตนดีกว่าที่ผู้บริโภครู้จักตัวเองเสียอีก

ภัยคุกคามในอุตสาหกรรมการผลิตของเอเชียแปซิฟิก

สตาร์ทอัพหลายแห่งทั่วโลกที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้บริโภค ได้เริ่มต้นการปรับแต่งการดำเนินการต่างๆ ครั้งใหญ่ ผู้บริโภคในปัจจุบันจะสามารถมีรองเท้าที่มีชื่อของตัวเองประทับอยู่ มีสร้อยคอที่สั่งทำพิเศษ เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายร่างกายที่ดีขึ้น ปริมาณยาเฉพาะบุคคล และอื่นๆ อีกมากมาย

แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงพลังของเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสม หากแต่กระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่นและเชื่อมต่อกันยังเปิดพื้นที่การโจมตีที่กว้างขึ้นสำหรับอาชญากรไซเบอร์ รายงานล่าสุดจากแคสเปอร์สกี้เรื่องระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม พบว่าภูมิภาคเอเชียและแอฟริกามีความปลอดภัยไซเบอร์น้อยที่สุดในโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020

ภูมิภาคต่างๆ ของทวีปเอเชียครองอันดับสี่ในห้าอันดับแรกในการจัดอันดับระดับโลก โดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ของคอมพิวเตอร์ในระบบควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems - ICS) ซึ่งเกือบจะติดไวรัสในช่วงครึ่งแรกของปี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเปอร์เซ็นต์สูงสุดเป็นผู้นำในการจัดอันดับต่างๆ ดังนี้

  • เปอร์เซ็นต์ของคอมพิวเตอร์ ICS ที่ถูกบล็อกกิจกรรมที่เป็นอันตราย - 49.8%
  • เปอร์เซ็นต์ของคอมพิวเตอร์ ICS ที่ถูกบล็อกภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต - 14.9%
  • เปอร์เซ็นต์ของคอมพิวเตอร์ ICS ที่ถูกบล็อกไฟล์แนบอีเมลที่เป็นอันตราย - 5.8%

แอฟริกาเป็นอันดับสอง ในขณะที่เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ อยู่ในอันดับที่สาม สี่ และห้าตามลำดับ

ด้านภัยคุกคามประเภทแรนซัมแวร์ ภูมิภาคในทวีปเอเชียยังคงครองอันดับต้นๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยประเทศกว่าครึ่งหนึ่งที่อยู่ใน 15 อันดับแรกมาจากเอเชียแปซิฟิก

นายสเตฟานกล่าวเสริมว่า "ไม่น่าแปลกใจที่คอมพิวเตอร์ ICS ในเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด เนื่องจากภูมิภาคนี้กำลังมุ่งหน้าไปสู่การสร้างอนาคตที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ระบบอัจฉริยะและการผลิตอัตโนมัติจำเป็นต้องมีการป้องกันที่ชาญฉลาดในเชิงลึก เพื่อป้องกันการแทรกแซงที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจก่อความเสียหายทั้งต่อระบบเสมือนจริงและกายภาพ การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ร้ายแรงจึงจำเป็นต้องมีแนวทางที่ออกแบบเพื่อความปลอดภัย ภูมิคุ้มกันจากการโจมตีทางไซเบอร์ควรฝังแน่นอยู่ที่โครงสร้างของระบบอุตสาหกรรมในปัจจุบันและอนาคต"

แคสเปอร์สกี้และซีเมนส์ได้นำเสนอตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ Industry 4.0 ที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ สำหรับฟาร์มปลาลอยน้ำอัจฉริยะแห่งแรกของ Singapore Aquaculture Technologies (SAT) ซึ่งเป็นฟาร์มแห่งแรกในสิงคโปร์และคาดว่าจะผลิตปลาได้ 350 ตันต่อปี สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมูลค่า 4 ล้านเหรียญสิงคโปร์นี้ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวสิงคโปร์ที่ต้องการปลาคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ได้จัดการกับความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลให้ประชากรปลาลดลง

นายไรมอนด์ ไคลน์ รองประธานบริหารฝ่ายอุตสาหกรรมดิจิทัล บริษัทซีเมนส์ อาเซียน กล่าวว่า "ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความกังวลเรื่องที่มาของอาหาร สภาพแวดล้อมที่เพาะเลี้ยง และกระบวนการเก็บเกี่ยวที่ทำก่อนที่อาหารจะมาถึงโต๊ะ ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตอาหารจึงควรเป็นไปอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืน ซึ่งสามารถเป็นไปได้เมื่อเราใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างถูกต้องเหมาะสม"

นายไรมอนด์กล่าวเสริมว่า "ด้วยการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ขั้นสูงที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เช่น Machine learning และการวิเคราะห์วิดีโอ ทำให้เราช่วย SAT ในการคาดการณ์การเติบโตชีวมวลและป้องกันการระบาดของโรค ซึ่งจะช่วยลดการตายของปลา นอกจากนี้เรายังปูทางสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ปรับขนาดได้ มีความยืดหยุ่นสูง และมีประสิทธิภาพต่อสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ทั้งหมด"

เพื่อปกป้องคอมพิวเตอร์ ICS จากการโจมตีที่เป็นอันตราย แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำดังนี้

  • จัดให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมด้านสุขอนามัยความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นพื้นฐาน เนื่องจากการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมายจำนวนมากเริ่มต้นด้วยการฟิชชิ่งหรือเทคนิควิศวกรรมสังคมอื่นๆ ให้ทำการจำลองการโจมตีแบบฟิชชิ่งเพื่อให้พนักงานรู้วิธีแยกแยะอีเมลฟิชชิ่ง
  • จัดให้ทีม SOC สามารถเข้าถึงข้อมูลภัยคุกคามล่าสุด (Threat intelligence) โซลูชั่น Kaspersky Threat Intelligence Portal เป็นบริการเข้าถึง TI ของบริษัท ซึ่งให้ข้อมูลการโจมตีทางไซเบอร์และข้อมูลเชิงลึกที่แคสเปอร์สกี้รวบรวมมานานกว่า 20 ปี
  • สำหรับการตรวจจับ การตรวจสอบและการแก้ไขเหตุการณ์อย่างทันท่วงทีในระดับเอ็นพอยต์ ให้ใช้โซลูชั่น EDR เช่น Kaspersky Endpoint Detection and Response
  • นอกเหนือจากการป้องกันเอ็นพอยต์ที่จำเป็น ให้ใช้โซลูชั่นความปลอดภัยระดับองค์กรที่ตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูงในระดับเครือข่ายในระยะเริ่มต้น เช่น Kaspersky Anti Targeted Attack Platform
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปกป้องอุปกรณ์เอ็นพอยต์ในอุตสาหกรรมและขององค์กรครบถ้วนแล้ว โซลูชั่น Kaspersky Industrial CyberSecurity ประกอบไปด้วยการป้องกันเฉพาะสำหรับอุปกรณ์เอ็นพอยต์และการตรวจสอบเครือข่าย เพื่อเปิดเผยกิจกรรมที่น่าสงสัยและอาจเป็นอันตรายในเครือข่ายอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4