ชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมมีความสุขกันหรือไม่?

พุธ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๑:๑๖
การสำรวจฉบับใหม่กำลังค้นหาว่าการใช้ชีวิตของประชาชนเจ้าบ้านในพื้นที่สถานที่ท่องเที่ยวที่วุ่นวาย มีความสุข มีความทุกข์ หรือปรับตัวได้ดีหรือไม่?

จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกในแต่ละปีที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดปัญหาภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมืองหรือ overtourism และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยและทำงานในเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงต่างๆทั่วโลก Planet Happiness ตั้งคำถามกับประชาชนเจ้าของเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ว่ามีความสุขและพอใจหรือกำลังรู้สึกทุกข์ใจหรือไม่กับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าไปในเมืองที่พวกเขาอยู่อาศัยและทำงาน การสำรวจความสุขของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่มรดกโลกเป็นการริเริ่มเพื่อแสดงให้เห็นว่าการวัดความสุขและความสุขของชุมชนท้องถิ่นคือสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าจีดีพี เงิน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขี้นอย่างไม่ขาดสาย

แบบสำรวจออนไลน์ นี้ ใช้เวลาแค่ 15 นาทีและมีให้บริการถึง 18 ภาษาเปิดกว้างสำหรับทุกคนให้เข้าไปแสดงความรู้สึก โดยใช้ตัววัดที่สำคัญเช่น ความพึงพอใจต่อชีวิต การเข้าถึงธรรมชาติและศิลปะ การมีส่วนร่วมของชุมชน มาตรฐานการครองชีพ การเรียนรู้ตลอดชีวิตและสุขภาพ ดร. พอล โรเจอร์ส ผู้ร่วมก่อตั้ง Planet Happiness กล่าวว่า "วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวในหลายๆเมือง เช่น บาร์เซโลนา บราซิเลีย คาคาดู หลวงพระบาง เกียวโต โยเซมิตี เทือกเขาเอเวอร์เรส น้ำตกวิกตอเรีย รวมถึงอีกหลายๆที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว คือต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความเข้มแข็งและความสุขให้กับชุมชนเจ้าของพื้นที่ หากการท่องเที่ยวล้มเหลวในประเด็นนี้ ก็มิใช่การท่องเที่ยวที่มีความความรับผิดชอบและไม่มีความยั่งยืน ซึ่งนโยบายของท้องถิ่นนั้นๆก็ควรต้องถูกเปลี่ยนแปลง"

Planet Happiness เปิดตัวในช่วงเวลาที่เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั่วโลกหลายๆที่กำลังประสบปัญหาจากการที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าไปมากจนกลายเป็นประเด็นที่น่าวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกโลก ในขณะเดียวกันความสนใจในเรื่องของความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีก็กำลังได้รับความสำคัญมากขึ้นในหมู่ประชาชน ชุมชน ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ดร. โรเจอร์ส ยอมรับว่าผลสำรวจอาจแสดงให้เห็นว่าผู้คนที่ใช้ชีวิตและอาศัยอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ มีความสุขและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆที่สำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้คนที่อยู่อาศัยในแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ แต่อีกนัยเขาเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเปรียบเทียบการตอบสนองต่อการท่องเที่ยวจากชุมชนเจ้าของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั่วโลก และเป็นการค้นหาข้อบกพร่องเช่น ความหมายของการเข้าถึงและความมีคุณค่าของชุมชน ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีผู้คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกหลายๆที่ กำลังพยายามปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเขา ซึ่งมันคือมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ

"ปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตเร็วที่สุดและใหญ่ที่สุด โดยในปี 2560 มีผู้คนเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 1.33 พันล้านคนและมีการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้มากกว่า 1 ใน 10 คนทั่วโลก การสำรวจดัชนีความสุขจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและยิ่งมีคนตอบแบบสำรวจมากเท่าไร ก็จะยิ่งได้ข้อมูลที่ถูกต้องสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งข้อมูลที่ถูกรวบรวมได้ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกจะเป็นข้อมูลที่เปิดกว้างให้เข้าถึงได้สำหรับทุกคนที่มีความสนใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและสุขภาวะที่ดีของชุมชน โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล" ลอร์ร่า มูซิคานส์คี นักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการความยั่งยืนและผู้อำนวยการบริหารของ Happiness Alliance ของ happycounts.org กล่าว

Planet Happiness กระตุ้นให้ประชาชนที่อยู่อาศัยและทำงานในชุมชนแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโกตอบแบบสำรวจออนไลน์นี้ซึ่งใช้เวลาแค่ 15 นาที (ตอบแบบสำรวจได้ ที่นี่) และ Planet Happiness จะทำการโพสต์และอัปเดตผลการสำรวจเป็นประจำและแชร์ผลสำรวจนี้กับนักข่าว นักศึกษา ภาคธุรกิจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้สนใจทั่วโลก อีกทั้งยังยินดีได้รับข้อมูลจากผู้บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยและผู้สนับสนุนที่ต้องการสนับสนุนความคิดริเริ่มในการสำรวจดัชนีความสุขของประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทั่วโลก ดูข้อมลเพิ่มเติมได้ที่ www.ourheritageourhappiness.org

เกี่ยวกับ PLANET HAPPINESS

Planet Happiness มีเป้าหมายเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของสภาความสุขสากล (Global Happiness Council) มีจุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการคือการสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างการท่องเที่ยวและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวและเพื่อสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในความสุขมวลรวมประชาชาติ Gross National Happiness (GNH) มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)โดยเป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและสื่อสารมวลชน กับ Happiness Alliance และการสำรวจ (happiness survey) จะถูกนำไปใช้ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกขององค์การยูเนสโกที่ได้รับการจดทะเบียนจำนวน 1,073 แห่งทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest