ปส. ระดมนักวิชาการเตรียมพร้อมร่วมมือ IAEA หวังผลักดันโครงการวิชาการนิวเคลียร์ใหม่สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

พฤหัส ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๗:๓๕
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญนักวิชาการภาครัฐและเอกชนกว่า 80 คน จาก 28 หน่วยงาน ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ณ ปส. หวังติดตามการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ และผลักดันโครงการวิชาการนิวเคลียร์ใหม่สู่การพัฒนาเพื่อให้ประเทศและประชาชนได้รับประโยชน์จากความร่วมมืออย่างยั่งยืน

นางรัชดา เหมปฐวี รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานเปิด "การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ" ณ ห้องประชุมใหญ่ ปส. โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) ผลักดันการพัฒนาความร่วมมือเชิงวิชาการด้านนิวเคลียร์และรังสีร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) (2) รายงานความคืบหน้า ปัญหา และอุปสรรคระหว่างการดำเนินโครงการที่ผ่านมา และ (3) สร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการเสนอโครงการวิชาการใหม่ในอนาคต รวมทั้งบทบาทการดำเนินงานโครงการทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ให้แก่ผู้ประสานงานโครงการซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ อาจารย์ และผู้สนใจทำโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการด้านนิวเคลียร์และรังสีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนกว่า 80 คน จาก 28 หน่วยงาน อาทิ หน่วยงานราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยทางการแพทย์ และหน่วยงานสนับสนุนด้านอื่น ๆ

นางรัชดา กล่าวว่า หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย มีการดำเนินโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการด้านนิวเคลียร์และรังสี ร่วมกับ IAEA ผ่านการประสานงานของ ปส. มาเป็นระยะเวลายาวนานนับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของ IAEA ในปี พ.ศ. 2500 โดยที่ผ่านมาไทยได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยซึ่งมีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้พัฒนาประเทศในทางสันติด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด อาทิ ด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม อาหารและโภชนาการ และการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น ปส. ในฐานะผู้ประสานงานหลักของประเทศไทยกับ IAEA หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมในครั้งนี้จะสามารถ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ พร้อมทั้งจุดประกายให้นักวิชาการไทยทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมประชุมฯ เกิดแนวความคิดในการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาในสาขาวิชาต่าง ๆ นำไปสู่การขยายเครือข่ายและบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กรอบความร่วมมือของ IAEA ส่งผลให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ