กระทรวงอุตฯ ออกนโยบายเร่งด่วนสนับสนุนผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ รับมือวิกฤติสุขภาพและแนวโน้มความต้องการในไทยที่สูงขึ้น

อังคาร ๐๑ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๑๑:๕๕
กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้าสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานประจำปีแผนงานเร่งด่วนให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ตั้งเป้ายกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กว่า 100 ราย ภายในปี 2564 ผ่าน 4 มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมด้านบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต การส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการฝ่าวิกฤติโควิด-19 ในประเทศไทยให้มีเครื่องมือแพทย์ที่เพียงพอ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระยะยาวของทางกระทรวงที่ต้องการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครื่องมือและการให้บริการทางการแพทย์ให้เทียบเท่ากับระดับสากล โดยเน้นการยกระดับการแพทย์ สร้างศูนย์ทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
ทางการแพทย์ ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการตรวจและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของไทยให้กับผู้ประกอบการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ในราคาที่เป็นธรรมเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญและเร่งการสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ในการพัฒนาและผลักดันให้พร้อมรับมือวิกฤติสุขภาพได้อย่างมีสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอวที่จะช่วยประเทศไทยผ่านวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ไปให้ได้

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อม (DIPROM) เร่งดำเนินการปรับแผนและรูปแบบการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของงบประมาณประจำปี 2564 เพื่อให้สอดรับนโยบายทางกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยหนึ่งในนั้นคือการเร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์อย่างครอบคลุมในหลายมิติให้มีความสอดคล้องสถานการณ์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นรากฐานที่สำคัญรองรับต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการผลักดันให้เกิดความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ผ่าน 4 มาตรการเร่งด่วน ดังนี้

  1. การส่งเสริมด้านบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้มีความพร้อมและองค์ความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม รวมไปถึงสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎระเบียบและข้อบังคับของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
  2. การส่งเสริมด้านการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI และ IoT รวมถึงในกลุ่มของการบำบัดฟื้นฟู วินิจฉัย และการรักษา โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์ร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมนั้น จะครอบคลุมทั้งในด้านของการรองรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ ชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า (PAPR) เครื่องทวนสอบเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Tester) ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล ระบบ AI ในการวิเคราะห์โรคปอด และเครื่องดูดละอองฝอยน้ำลาย (เครื่องมือทันตกรรม) ทั้งนี้ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ดำเนินการโดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ
    ภาคการศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงสถาบันฯ และสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. การส่งเสริมสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถที่จะลดต้นทุน ลดของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต รวมถึงสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งส่งเสริมในเรื่องการวางแผนการตลาด เพิ่มมูลค่า และยอดขายอีกครั้ง
  4. การส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้รวมถึงวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสร้างและรวบข้อมูลเครือข่ายหน่วยทดสอบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ให้เกิดความพร้อมทุกมิติ อีกทั้งยังร่วมกันพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

นอกจากนี้ ดีพร้อม ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการวิจัยและนวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อีกทั้ง ยังช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่บัญชีนวัตกรรมไทยและบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งในการสร้างความน่าเชื่อถือและสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอีกด้วย

ทั้งนี้ ดีพร้อม ตั้งเป้าว่าภายในปี 2564 ต้องสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์ได้กว่า 100 ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 - 2563 ดีพร้อม สามารถยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กว่า 400 ราย อาทิ การพัฒนาชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า บริษัท ทีเอ็มดีดี จำกัด โดยทาง ดีพร้อมได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านวัสดุในการผลิต ระบบในการปรับอัตราการไหลของอากาศ แบตเตอรี่ในการใช้งาน และการใช้งานร่วมกับชุดกรองเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ฯลฯ นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2367 8100 หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและความความเคลื่อนไหวของ "ดีพร้อม" ได้ที่ www.facebook.com/dipindustry และ www.dip.go.th

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ