กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--กรมสามัญศึกษา
กรมสามัญศึกษาให้ทุกสหวิทยาเขตกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ต้องมีโรงเรียนที่เปิดการเรียนร่วมกับเด็กพิการอย่างน้อย 1 โรง เพื่อให้เด็กพิการที่ประสงค์จะเรียน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6,000 คน ไม่ต้องเดินทางไกลในปีการศึกษาใหม่นี้
นายกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมสามัญศึกษา กล่าวว่า ได้ขอให้สหวิทยาเขตทุกแห่งทั่วประเทศ ต้องมีโรงเรียนเรียนร่วมอย่างน้อย 1 โรง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเด็กพิการที่ต้องการเรียนจะได้ไม่ต้องเดินทางไกล โดยในปีการศึกษา 2544 นี้ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ ซึ่งตั้งอยู่ในทุกจังหวัด สำรวจรายชื่อนักเรียนพิการที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และประสงค์จะเรียนร่วมจากการสำรวจมีประมาณ 6,000 คน ส่วนใหญ่จะได้เข้าเรียนร่วมแล้ว แต่ยังมีจำนวน 1,000 กว่าคน ที่แจ้งว่ายังไม่ประสงค์ที่จะเรียน จึงได้ขอให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ ร่วมกับโรงเรียนมัธยมที่อยู่ในพื้นที่ ติดตามดูว่า มีข้อจำกัดอะไร เพื่อให้นักเรียนพิการทุกคนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีโอกาสเรียนต่อ โดยเฉพาะในโรงเรียนเรียนร่วม
อธิบดีกรมสามัญศึกษา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้โรงเรียนที่เปิดเรียนร่วม ยังมีการจัดบริการที่เป็นพิเศษ สำหรับเด็กพิการไม่เต็มที่ แต่ก็นับว่ายังดีกว่าที่เด็กพิการไม่มีโอกาสได้เรียน ซึ่งในปีนี้ กรมสามัญศึกษาจะจัดอบรมครูที่สอนตามโรงเรียนร่วมต่างๆ ให้มีพื้นฐานในการจัดการศึกษาเบื้องต้น และคาดว่ากองการศึกษาเพื่อคนพิการคงจะเป็นหน่วยงานที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนให้โรงเรียนร่วมเหล่านี้ สามารถจัดบริการที่เหมาะสมสำหรับเด็กพิการมากขึ้น--จบ--
-สส-
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: งานวิจัยนักศึกษาปริญญาโท จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ ได้รับการพิจารณาให้ไปแสดงในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560”
- ม.ค. ๒๕๖๘ กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับไมโครซอฟท์ พัฒนาศักยภาพไอซีทีสำหรับนักเรียนพิการ ส่งเสริมศักยภาพการศึกษาอย่างเท่าเทียม
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: ชาร์ป กรุงไทยการไฟฟ้า จับมือมหิดล พัฒนาวิจัยด้านการศึกษา
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: การอ่านเท่ากับชีวิต
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: ชุดหนังสือดีในถิ่นทุรกันดาร