กรมปศุสัตว์เข้มงวดนำเข้าสัตว์ชายแดนเพื่อป้องกันแอนแทรกซ์

พฤหัส ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๐๑ ๑๓:๑๓
กรุงเทพฯ--8 พ.ย.--กรมปศุสัตว์
โรคแอนแทรกซ์เป็นโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อ Bacilus anthracis โรคนี้เป็นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร
นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่พบผู้ป่วยด้วยโรคแอนแทรกซ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาขณะนี้นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตระหนักถึงการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นในประเทศไทย จึงได้กำชับกรมปศุสัตว์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงดำเนินการดังนี้ ชลอการเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากอำเภอชายแดนทุกพื้นที่กำหนด 1 เดือน การเคลื่อนย้ายสัตว์ในประเทศให้มีการกักสัตว์ไว้ตรวจสอบโรค 10 วัน ให้กรมปศุสัตว์จัดเจ้าหน้าที่และวัคซีนดำเนินการฉีดวัคซีนในบริเวณที่เคยเกิดโรคย้อนหลัง 10 ปี โดยมีรัศมีจากจุดเกิดโรค 5 กิโลเมตรและให้จัดชุดเฉพาะกิจเพื่อการควบคุมโรค สำหรับแต่ละพื้นที่ไว้
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการจัดเตรียมวัคซีนสำหรับป้องกันโรคในคน หรือการจัดการหน้ากากป้องกันการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่า เนื่องจากประเทศไทยไม่น่าจะเป็นประเทศเป้าหมายในการก่อวินาศกรรมจึงเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นในการดำเนินการในด้านนี้--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ