ข้อกำหนดการศึกษาวิจัย (TOR) โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับ สถาบันอุดมศึกษาไทย : สาขาวิชาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์

อังคาร ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๐๐ ๑๐:๑๐
กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ
1. หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ จากกระแสโลกาภิวัตน์ ได้ส่งผลกระทบต่อระบบอุดมศึกษาไทยหลายประการ สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่ระบบอุดมศึกษาไทยไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างทันการณ์ จนทำให้เกิดความอ่อนแอในระบบบริหารและการจัดการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง จากการประเมินผลการพัฒนาอุดมศึกษาในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และฉบับที่ 8 พบว่า อุดมศึกษาประสบปัญหาวิกฤตหลายประการโดยเฉพาะด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งสะท้อนจากผู้ใช้ผลผลิตของสถาบัน จนมีกระแสเรียกร้องจากสาธารณชนให้มีการปฏิรูปอุดมศึกษาทั้งระบบอย่าง จริงจัง ประกอบกับเป็นที่คาดการณ์กันว่าจากนโยบายการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะส่งผลให้แนวโน้มความต้องการการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นเกินกว่าสองเท่าตัว และจะส่งผลกระทบให้สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องเร่งปรับปรุง ทั้งในเชิงปริมาณและการพัฒนาคุณภาพเพื่อรองรับคลื่นนักศึกษาดังกล่าว
จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดอันดับและจัดระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งการจัดประชุมสัมมนา สำรวจความคิดเห็นหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ข้อสรุปตรงกันว่า การจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหนึ่งในการติดตามความก้าวหน้า และการพัฒนาคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการประเมินภายนอกของสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 49 ที่กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้งในทุก 5 ปี และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ประเทศไทยจึงควรดำเนินการให้มีการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนของประเทศไทยเอง โดย หน่วยงานที่เป็นกลาง และในการดำเนินงานควรคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงพิจารณาเห็นว่าการจัดระดับสถาบัน อุดมศึกษาไทยนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศ และจะเป็นกลไกหนึ่งในการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษา อันจะส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตของสถาบันดังกล่าวแล้ว การดำเนินงานดังกล่าว จะทำให้ผู้เรียนได้รับทราบข้อสนเทศที่เป็นประโยชน์ ก่อนการตัดสินใจเลือกศึกษาตามความเหมาะสมและความต้องการของตน ตลอดจนมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ผลผลิตของสถาบันอุดมศึกษาในหลากหลายแง่มุม จึงได้ร่วมมือกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ดำเนินการโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย ในสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นสาขาแรก ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้ แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทยซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ สื่อมวลชน และคณะทำงานจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษา ที่เหมาะสมกับสภาพและบริบทของประเทศไทย
2.2 เพื่อทดลองใช้ระบบการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับสาขาวิชาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์
3. ขอบเขตของการดำเนินงาน
3.1 วิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับ (rating) สถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ได้กับสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญา ทั้งของรัฐและของเอกชน
3.2 วัตถุประสงค์ของการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและการให้ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริโภค
3.3 วิธีการกำหนดองค์ประกอบหลัก ตัวชี้วัด นิยาม และค่าน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย สามารถเก็บข้อมูลได้ง่าย สะดวกและประหยัด มีความชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรม รวมทั้งครอบคลุมภารกิจทั้งมวลของสถาบันอุดมศึกษา
3.4 คุณสมบัติของระบบการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย
1) แสดงถึงและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการพัฒนาผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะในเรื่อง value added
2) แสดงถึงและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหรือความก้าวหน้าในการดำเนินภารกิจ และหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้ง ความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีต่อสังคมและประเทศ
3) แสดงถึงและส่งเสริมความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหารจัดการ และดำเนินภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนศักยภาพในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์และการพัฒนาประเทศ
3.5 การรายงานผล ประกอบด้วยรายงานผลการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย และผลการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทยในสาขาวิชาครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ ปี 2543
4. วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย
4.1 คณะกรรมการอำนวยการฯ แต่งตั้งคณะทำงานจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทยสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และให้นโยบายในการดำเนินงาน
4.2 นักวิจัยเสนอโครงการ (proposal) ต่อคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพิจารณาคัดเลือก โดยระบุสาระตามขอบเขตการดำเนินงาน รวมทั้งแผนและวิธีการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน/กิจกรรม โดยละเอียด
4.3 เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว นักวิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาโดยกำหนดองค์ประกอบหลัก ตัวชี้วัดและนิยาม ตลอดจนน้ำหนักความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบ เสนอที่ประชุม คณะทำงาน และคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ
4.4 นักวิจัยดำเนินการให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักและตัวชี้วัด จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนกลุ่มที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
4.5 นักวิจัยกำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล สร้างเครื่องมือ และตรวจสอบเครื่องมือตามระเบียบวิธีวิจัยโดยละเอียด
4.6 นำเสนอคณะกรรมการอำนวยการ พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ
4.7 นักวิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูล
4.8 นักวิจัยจัดทำรายงานผลการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย และรายงานผลการจัดระดับสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปี 2543 เสนอคณะทำงานฯ สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ คณะกรรมการอำนวยการ และกกศ. ประกอบด้วยสาระสำคัญเกี่ยวกับระเบียบวิธีที่ใช้ ตาราง แผนภาพ แผนภูมิแสดงผลการศึกษาวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการจัดระดับ รวมทั้งบทวิเคราะห์ /วิจารณ์ เกี่ยวกับผลการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาในสาขาวิชาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และจัดทำเอกสารผลการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ฉบับที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน
4.9 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จัดพิมพ์และเผยแพร่ (หมายเหตุ : ขั้นตอน 4.3-4.7 นักวิจัยนำเสนอความก้าวหน้าเป็นระยะๆ ตามที่คณะทำงานเห็นสมควร)
5. ระยะเวลาและแผนดำเนินการวิจัย ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 9 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2543 - กุมภาพันธ์ 2544 กิจกรรม พ.ค.. มิ.ย. ก.ค. ส.ค.. ก.ย. ต.ค. พ.ย.. ธ.ค.. ม.ค. ก.พ. 1. นักวิจัยเสนอโครงการต่อคณะกรรมการ อำนวยการฯ คัดเลือก . . . . . . . . . 2. นักวิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยกำหนด องค์ประกอบหลัก และตัวชี้วัด . . . . .. .. . . 3. นักวิจัยดำเนินการวิจัยและ โครงการนำร่อง . . . . . . 4. คณะทำงานและคณะกรรมการ- อำนวยการ พิจารณาให้ความ เห็น . . . . . . . 5. นักวิจัยจัดทำรายงานเสนอ คณะกรรมการอำนวยการ . . . . . . . . . 6. เสนอ กกศ . . . . . . . . . 7. เผยแพร่ต่อสาธารณชน . . . . . . . . .
6. การประเมินผล
6.1 ประเมินความคิดเห็นของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่เข้าร่วมโครงการ
6.2 ประเมินผลจากการใช้ระบบการจัดระดับ
7. วิธีการเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุน
7.1 คณะนักวิจัย นักวิชาการ หน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจ ติดต่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดในการศึกษาวิจัย (TOR) ได้ที่ : สำนักงานโครงการปฏิรูปอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 หรือทางโทรศัพท์ 668-7110-24 ต่อ 2511, 2513, 2515 หรือ web site : www.onec.go.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
7.2 คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการต้องไม่เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย และคณะทำงานจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
7.3 คณะกรรมการอำนวยการจะพิจารณาคัดเลือกโครงการที่เหมาะสม และ/หรือแจ้งผู้เสนอโครงการให้ปรับปรุง และ/หรือลงนามในสัญญาเพื่อเริ่มดำเนินโครงการตามแผน
คณะนักวิจัยที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์หลากหลายสาขา ที่จะเอื้อต่อการดำเนินโครงการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
7.4 คณะนักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการ ต้องเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ เพื่อรับทุนสนับสนุนซึ่งแบ่งเป็นงวด ๆ ประมาณ 4 งวด พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ดังนี้
รายงานครั้งที่ 1 เมื่อศึกษาวิจัย กำหนดองค์ประกอบหลักและตัวชี้วัดแล้วเสร็จ
รายงานครั้งที่ 2 เมื่อสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบเครื่องมือแล้วเสร็จ
รายงานครั้งที่ 3 เมื่อดำเนินการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเสร็จ
รายงานครั้งที่ 4 รายงานผลการศึกษาวิจัยและจัดระดับฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ
7.5 ผู้สนใจเสนอโครงการ (proposal) เข้ารับการพิจารณาตามข้อกำหนด ต้องระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย (methodology) วิธีการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน และแผนการดำเนินงาน รวมทั้งงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน/กิจกรรมโดยละเอียด ตลอดจนผลงาน ประสบการณ์และประวัติคณะวิจัย และส่งได้ที่ :
สำนักงานโครงการปฏิรูปอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ โทร. 668-7110-24 ต่อ 2511, 2513, 2515 ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2543
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา อันส่งผลต่อคุณภาพของการผลิตบัณฑิตและการดำเนินภารกิจโดยรวมของสถาบัน ให้สามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของประเทศ
9. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะกรรมการอำนวยการจัดระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version