อย. ชี้แจงการดำเนินการกับยาซิซาไพรด์

จันทร์ ๐๗ สิงหาคม ๒๐๐๐ ๑๒:๓๐
กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--อย.
อย. ชี้ มิได้นิ่งนอนใจต่อข่าวผลข้างเคียงจากการใช้ยาโรคทางเดินอาหาร ' ซิซาไพรด์ ' ได้นำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการยาแล้ว มติโดยสรุปให้เข้มงวดและควบคุมการใช้ยานี้อย่างเป็นระบบ ขายได้เฉพาะในโรงพยาบาล และให้ อย. เป็นศูนย์กลางการกำกับดูแลการกระจายยาเท่านั้น เผย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เห็นว่า ยานี้ยังจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยบางราย ซึ่งไม่มียาตัวอื่นใช้ทดแทนภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายของยาซิซาไพรด์ (CISAPRIDE) ซึ่งเป็นยาสำหรับโรคทางเดินอาหาร โดยเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติของหัวใจ และเอ็นจีโอเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ถอนทะเบียนตำรับยา ว่า ในเรื่องดังกล่าว อย.มิได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด ได้นำเรื่องยาซิซาไพรด์เข้าประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมอันตรายในการใช้ยาทันที ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2543 จนถึงปัจจุบัน รวม 3 ครั้ง ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาถึงผลดีและผลเสียของยาซิซาไพรด์ โดยพิจารณาทุกประเด็นอย่างกว้างขวาง และรอบคอบแล้ว ทั้งความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร และราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความเห็นสอดคล้องกับการดำเนินงานของประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ยาดังกล่าวยังมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางรายที่มีความจำเป็นต้องใช้ และไม่มียาตัวอื่นทดแทน อย่างไรก็ตาม เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีการควบคุมการใช้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งจะนำเสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พิจารณาทบทวนรายการยานี้ในบัญชียาหลักให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้มีการใช้โดยแพทย์เฉพาะทางและใช้กับโรงพยาบาลที่มีระบบการกำกับ ประเมิน และตรวจสอบการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น มติทั้งหมดนี้ ได้นำเสนอคณะกรรมการยาพิจารณาเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2543 ซึ่งคณะกรรมการยาพิจารณาเห็นชอบ และมีมติจัดให้ยาซิซาไพรด์เป็นยาควบคุมพิเศษ ซึ่งจะจำหน่ายได้เฉพาะในโรงพยาบาล โดยกำหนดให้ อย.เป็นศูนย์กลางการกำกับดูแลการกระจายยา นอกจากนี้ยังให้ผู้ผลิต ผู้นำสั่งฯ และแพทย์เฉพาะทางต้องรายงานข้อมูลการผลิต นำสั่งยา และการใช้ในผู้ป่วยให้ อย.ทราบทุก 3 เดือน และให้เป็นยาที่ต้องติดตามความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด ให้บริษัทผู้ผลิตและนำเข้า ปรับข้อบ่งใช้ของยาให้มีความเฉพาะเจาะจง ให้มีข้อความคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ระบุไว้ในฉลากและเอกสารกำกับยา--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025