มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจัดงาน"@SCIENCE.ABAC"

พฤหัส ๑๔ ธันวาคม ๒๐๐๐ ๑๔:๒๘
กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--ABAC
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะกรรมการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจะมีการจัดงาน "@SCIENCE.ABAC" ขึ้น ในวันที่ 24-26 มกราคม 2544 ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก ซึ่งเป็นงานทางวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เกิดความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ รวมทั้งคณิตศาสตร์มากขึ้น และเพื่อให้นักเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั่วประเทศได้มีเวทีสำหรับแสดงความรู้ ความสามารถทางด้านการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เวปไซต์ แบนเนอร์ และด้านการคำนวณ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ภายในงานที่น่าสนใจอย่างยิ่งดังต่อไปนี้ การแข่งขันความรู้ความสามารถ ทางด้านคอมพิวเตอร์ และคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อชิงรางวัล Einstein Awards สัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อดังต่อไปนี้
เมาท์สนั่นกับ Webmaster จัดขึ้นในวันที่ 26 มกราคม 2544 เวลา 10.00 — 12.00 น. การออกบูทแสดงผลงานของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จากแต่ละสาขาวิชา และผลงานทางเทคโนโลยีของบริษัทชั้นนำต่างๆ มากมาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scienceabac.com
ค่าใช้จ่าย : ไม่เสียค่าใช้จ่าย--จบ--
-ยก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ