กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--กระทรวงอุตสาหกรรม
สศอ.ก้าวสู่ปีที่ 10 โชว์วิสัยทัศน์เด่นในการเป็นผู้นำด้านนโยบายอุตสาหกรรมและศูนย์ข้อมูลชี้วัดสภาวะอุตสาหกรรม นายเผด็จภัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึง วิสัยทัศน์การดำเนินงานในอนาคต ในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 9 ปีของ สศอ.ในวันที่ 5 กันยายนนี้ว่า กำหนดวิสัยทัศน์ การดำเนินงานในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก ที่มีแนวโน้มการแข่งขันเพิ่มขึ้น และเป็นแนวทางการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร โดย สศอ.จะเป็นองค์กรชี้นำ ด้านนโยบายอุตสาหกรรมและเป็นศูนย์ข้อมูล ตัวชี้วัดสภาวะอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ดังกล่าว สศอ.จึงได้วางนโยบายส่งเสริมและพัฒนาภาค อุตสาหกรรมขึ้น โดยร่วมกับศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการศึกษาเพื่อกำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมทศวรรษปี 2000 ขึ้น ภายใต้หัวข้อเรื่อง “การปรับตัวเพื่อเผชิญภาวะโลก อย่างต่อเนื่องโดยครบวงจรเพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียว” หรือ Global Orientation with Dynamic Networking to Achiere Regional Integration เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมและพัฒนา ขีดความสามารถและเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะอาศัย เครือข่ายการประสานงานของทั้งภาครัฐและเอกชนให้เกิดความร่วมมือทางด้านการผลิต การค้า และการลงทุน กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผนึกกำลังในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ในโลก โดยจะต้องลดช่องว่างระหว่าง อุตสาหกรรมขนาดย่อมและบริษัทข้ามชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในประเทศมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนขบวนการผลิตและจัดการให้เกิดความเพียงพอและสมดุลทางเศรษฐกิจในมหภาค รวมทั้งเร่งพิทักษ์และเพิ่มประโยชน์ของผู้บริโภคจากการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมโยงกับส่วนภูมิภาคมากขึ้น
สำหรับผลงานด้านกระจายอุตสาหกรรมสู่ท้องถิ่น สศอ.มีแผนงานที่สำคัญ อาทิ การวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ชายแดน และการจัดทำยุทธศาสตร์และการลงทุนอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัด รวมทั้ง สศอ.ยังดำเนินงานด้านปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลและพัฒนาระบบฐานข้อมูลอุตสาหกรรม ให้มีความสมบูรณ์และทันสมัยยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการประสานแผนติดตามและประเมินผลแผนงานต่าง ๆ
นอกจากนี้ สศอ.ยังได้กำหนดภารกิจหลักขึ้นใหม่ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ที่กำหนดไว้ โดยเน้นการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เร่งทำการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และจัดทำเผยแพร่ระบบสารสนเทศ อุตสาหกรรมที่มีความทันสมัย ตลอดจนทำการเสนอแนะและผลักดันนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ สู่ขั้นตอนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับการประเมินผล ติดตามการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง--จบ--
-นศ-
- พ.ย. ๒๕๖๗ MASCI Academy กุญแจขับเคลื่อนอุตฯไทย
- พ.ย. ๒๕๖๗ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม
- ๑๗ พ.ย. กพร. จับมือ เอ็มเทค สวทช. จัดสัมมนาสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยการออกแบบสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
- ๑๖ พ.ย. "ดีพร้อม" ขานรับนโยบาย "เอกนัฏ" สนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ เชื่อมโยงอัตลักษณ์แฟชั่นไทย เสริมแกร่งศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่ระดับสากล ดันเศรษฐกิจโตกว่า 30 ล้านบาท
- ๑๖ พ.ย. "เอกนัฏ" มุ่ง เซฟ SME ไทยให้ดีพร้อม ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ในงานเสวนาสภา SME ไทย