กรุงเทพฯ--3 พ.ย.--สศช.
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) ที่มีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ว่า สศช. ได้รายงานผลการศึกษาโครงสร้างต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมหลัก ๗ สาขา ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งทอและเครื่องนิ่งห่ม ยานยนต์ พลา- สติก ยางและผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า
ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาพบว่าด้านการส่งออกอุตสาหกรรมหลักของไทยสามารถแข่งขันได้โดยอยู่ในอันดับที่ ๑๐ ของโลก ด้านโครงสร้างต้นทุนการผลิตพบว่าบริษัทไทยมีผลกำไรต่ำกว่าประเทศอื่น เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำ สัดส่วนต้นทุน วัตถุดิบ และค่าสาธารณูปโภคสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน มีกำลังการผลิตสำรองต่ำ ต้นทุนการเงินสูง โดยสรุปปัญหาของอุตสาหกรรมไทย คือ ประสิทธิภาพแรงงานต่ำ การใช้วัตถุดิบสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูง ขาดการควบคุมคุณภาพการผลิต
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าไทยต้องปรับปรุงมูลค่าเพิ่มต่อพนักงานอย่างน้อย ๓ เท่า และผลผลิตต่อพนักงานอย่างน้อย ๕ เท่า ของผลการศึกษาในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถพัฒนาได้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขันหลักภายใน ๓-๕ ปี เพิ่มสัดส่วนของแรงงานมีฝีมือ ในขณะเดียวกันควรยกระดับความสามารถของราชการในการสนับสนุนอุตสาหกรรม เพิ่มทุนจดทะ เบียนและเงินทุนของบริษัท เพื่อลดต้นทุนและมีกำไรสะสมสูงขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้นำแผนการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ ด้วย รวมทั้งรับทราบผลการดำเนินงานที่ กปพ.อนุมัติโครงการไป ซึ่งยังมีปัญหาไม่สามารถหาเงินมาดำเนินโครงการที่ได้อนุมัติไป เช่น โครงการนำร่อง ๓ โครงการของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโน โลยีและสิ่งแวดล้อม คือ ๑. โครงการสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาห กรรมไทย ๒. โครงการเทคโนโลยีชีวภาพ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้ง ๓. โครงการพัฒนาสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและเครือข่าย วงเงินรวม ๑,๐๐๐ ล้านบาท--จบ--
-สส-