กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--กระทรวงวิทยาศาสตร์
อาจจะเป็นความบังเอิญ 2 อย่าง ช่วงที่เรียนมัธยมตอนต้น เรารู้สึกว่าชอบเรียนวิทยาศาสตร์เรียนวิทยาศาสตร์แล้วสนุกเวลาไปดูนิทรรศการโชว์อธิบายเกี่ยวกับเรื่องทางเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องสนุก แต่ตอนนั้นไม่แน่ใจว่ามีโครงการที่จะให้การสนับสนุนการเรียนจนถึงระดับปริญญาเอก บังเอิญก็ได้พบการโครงการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) จึงพบเส้นทางที่สนับสนุนให้เรียนตั้งแต่มัธยมปลาย จนกระทั่งจบปริญญาเอกก็เลยตัดสินใจเลือกเดินเส้นทางสายนี้
รางวัลที่ได้คงมาจากผลงานสะสม จากในระยะเบื้องต้นของการที่เริ่มทำงานได้ระดับหนึ่งงานที่ทำเป็นการทำความเข้าใจว่าเอนไซม์หรือตัวที่เร่งปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิตทำงานอย่างไร เพราะงานวิจัยเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่ต้องการจะเข้าใจเวลาที่เอนไซม์ให้ปฏิกิริยาต่อสิ่งมีชีวิตว่า ทำอย่างไรจึงจะเกิดกระบวนการเช่นนั้นขึ้นได้มีเอนไซม์อยู่หลายกลุ่ม อย่างเช่น เอนไซม์ตัวหนึ่งจับกับก๊าซออกซิเจนเติมเข้าไปในสารเคมีซึ่งเป็นพิษอาจจะย่อยสลายได้ยากในสิ่งแวดล้อม การใช้เอนไซม์จะทำให้เกิดการย่อยสลายได้ง่าย ทำให้สารตกค้างเกิดการย่อยสลายโดยกระบวนการทางชีวภาพได้ง่ายขึ้น เอนไซม์อีกตัวหนึ่งเป็นเอนไซม์ที่เราสกัดจากสิ่งมีชีวิตในทะเลไทย เป็นเอนไซม์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการเรืองแสง เราก็สนใจศึกษาว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร อนาคตเราก็อาจจะนำไปประยุกต์ใช้ทำเป็นตัวตรวจวัดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา ส่วนเอนไซม์อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเอนไซม์ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม เป็นการสังเคราะห์สารประกอบประเภทน้ำตาล
อยากจะให้คนที่เริ่มมีความรู้สึกว่าเราชอบเรียนวิทยาศาสตร์ ลองถามคำถามตัวเราเองอย่างชัดเจนอย่างจริงจังว่าเราชอบจริงไหม ถ้าเราชอบและอยากเรียนวิทยาศาสตร์จริง ๆ ก็อยากให้มาเรียนเพราะอาชีพนี้เป็นงานที่ดีมีเกียรติและนำไปสู่อาชีพที่มั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และเราเองก็มีอิสระในการที่เราจะตื่นมาตอนเช้าเรารู้ว่าวันนี้เราอยากจะทำการทดลองอะไร อยากจะตอบคำถามอะไร ทุกวันเป็นงานที่น่าค้นหาในการทำงานของตัวเอง และที่ทำงานต้นสังกัดมีปัจจัยเกื้อหนุนในการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลเอง คณะวิทยาศาสตร์หรือภาควิชาชีวเคมีเองก็มีระบบสนับสนุนที่ดี มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยทำให้ทำงานได้สะดวก คิดว่าจะทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพราะถ้าเราทำวันนี้ให้ดีที่สุดแล้ววันต่อ ๆ ไปก็คงจะดีเหมือนกัน
สิ่งที่อยากจะฝากถึงรัฐบาล อยากให้ช่วยสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน ในบางครั้งอยากจะให้เข้าใจและอยากให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดผลงานในเชิงประยุกต์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใช้งานได้อย่างจริงจังและอยากให้รัฐบาลใจเย็นและลงทุนในการที่จะบ่มเพาะงานวิจัยพื้นฐาน เพราะงานวิจัยพื้นฐานเป็นเสมือนการบ่มเพาะรากฐานทางปัญญาให้เกิดขึ้นในสังคมวิทยาศาสตร์ ในที่สุดแล้วการที่เราบ่มเพาะรากฐานตรงนี้ให้แข็งแรงการประยุกต์จะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ แต่เป็นงานที่ใช้เวลาต้องรอผลประโยชน์ในระยะยาวและความเป็นผู้หญิงกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ไปกันได้ดี ไม่ได้มองความต่างถึงความนุ่มนวลหรืออะไรตรงนั้น ไม่คิดว่าจะมีความเสียเปรียบได้เปรียบที่จะด้อยกว่าผู้ชายตรงไหน ในความเป็นผู้หญิงบางทีอาจจะทำให้เรามองปัญหาบางอย่างในมุมที่ละเอียดกว่า แต่ผู้ชายบางคนก็ละเอียดกว่าคิดว่าความเป็นผู้หญิงจะทำให้เรามองในมุมที่ต่างออกมา ผู้หญิงกับการทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่ได้มองตรงนี้เป็นปัจจัยหลัก การทำงานจริง ๆ แล้วคนไทยเป็นสังคมที่ให้โอกาสผู้หญิงในการทำงานค่อนข้างเท่าเทียมกับผู้ชาย ไม่ได้มีอะไรที่ทำให้รู้สึกว่าไม่ทัดเทียมกัน ในสังคมวิทยาศาสตร์บ้านเราจะเห็นได้ว่ามีท่านอาจารย์นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้หญิงเก่งมากมายหลายท่าน ทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชายอย่างเสมอภาคกัน
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--
- ๒๓ พ.ย. วว. ร่วมงานสัมมนา Spain-Thailand Innovation and Tech Dialogue Platform 2023
- พ.ย. ๒๕๖๗ วว. ได้รับรางวัลเชิงธุรกิจและเชิงสังคม ประจำปี 2566 ร่วมขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- พ.ย. ๒๕๖๗ วว. ต้อนรับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ด้านระบบราง