ปตท.เตรียมแผนร่วมทุนปิโตรเคมีขั้นกลางขยายมูลค่าเพิ่ม

พุธ ๒๐ กันยายน ๒๐๐๐ ๑๕:๓๔
กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--ปตท.
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) วางแผนลงทุน ปิโตรเคมีขั้นกลาง 2 โครงการ เพื่อรองรับความต้องการธุรกิจปิโตรเคมีช่วงขาขึ้นในปี 2547 โดยเจรจา ร่วมทุนกับญี่ปุ่นและเยอรมนี คาดผลิตป้อนในประเทศเป็นหลัก
นายปิติ ยิ้มประเสริฐ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีของ ปตท. กล่าวว่า 2 โครงการ ดังกล่าว คือ อคริโลไนไตร (Acrylonitrile) และฟีนอล (Phenol) ซึ่งเป็นสายผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องจากโพรไพลีน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีการผลิตในประเทศและในอาเซียน โดยวางแผนที่จะก่อสร้างเสร็จในปี 2547 ซึ่งอยู่ในช่วงราคาสูงสุดของปิโตรเคมี
สำหรับอคริโลไนไตร เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีอัตราเติบโตปีละกว่าร้อยละ 10 ส่วน ปตท.จะลงทุนกับอาซาฮีแห่งญี่ปุ่น โดยได้มีการลงนามในบันทึก ข้อตกลงร่วมกันแล้ว และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา โดยใช้เวลาศึกษา 6 เดือน และการที่อาซาฮีตัดสินใจที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตอคริโลไนไตร เพราะเห็นว่าไทยมีศักยภาพมากกว่าประเทศอื่น โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ มีกำลังผลิตประมาณ 250,000 ตันต่อปี ปัจจุบันความต้องการใช้ในประเทศประมาณ 150,000 ตันต่อปี จะต้องส่งออก เกือบร้อยละ 50
ส่วนฟีนอลเป็นวัตถุดิบของโพลีคาร์บอร์เนต ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีอัตราเติบโต สูงมาก ปตท. กำลังเจรจาอยู่กับ บริษัทฟีนอลเคมี ของเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ผลิตฟีอนอลอันดับ 1 ของโลก และโครงการนี้จะมีการผลิตคิวมีน (Cumene) ซึ่งเป็นวัตถุดิบของฟีนอลด้วย เพื่อทำให้ครบวงจรและลดต้นทุนวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าคิวมีนจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 250 ล้านเหรียญ กำลังการผลิตประมาณ 400,000 ตันต่อปี ซึ่งความต้องการในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 120,000 ตันต่อปี ภายในอีก 5 ปี นับจากนี้ ความต้องการในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ตันต่อปี เพราะไบเออร์และมิตซูบิชิ จะเปิดโรงงาน โพลีคาร์บอร์เนตซึ่งใช้ฟีนอลเป็นวัตถุดิบ กำลังการผลิตประมาณ 300,000—400,000 ตันต่อปี
“ทั้งสองโครงการนี้มีวัตถุดิบตั้งต้นคือโพรไพลีนซึ่งผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ใช้ หากขึ้นสองโครงการนี้ ปตท.จึงมีแผนที่จะสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 ที่จังหวัดระยอง เพื่อแยกก๊าซโพรเพน ออกมาผลิต ประมาณปีละ 350,000-400,000 ตันต่อปี คาดว่าโรงแยกจะสร้างแล้วเสร็จ ในปลายปี 2546 หรือต้นปี 2547 ใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท มีกำลังการผลิตประมาณ 530 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน” นายปิติ กล่าว--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ