เลขาฯ บีโอไอมั่นใจ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมไทยโอกาสรุ่ง

พฤหัส ๐๕ เมษายน ๒๐๐๑ ๑๔:๒๕
กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--บีโอไอ
"สถาพร" ชี้ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมของไทยยังมีโอกาสขยายตัว เชื่อมั่นไทยยังมีของดีที่ทั่วโลกยอมรับ ขณะที่อิเล็กทรอนิกส์ยังต้องอาศัยอานิสงค์คนอื่นนำทาง พร้อมยอมรับนโยบายลดการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศถูกทิศทาง แต่ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนา
นายสถาพร กวิตานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวระหว่างการสัมมนาเรื่อง "แนวทางการลดต้นทุนอุตสาหกรรม..และทิศทางการลงทุนปี 2544" ว่า อุตสาหกรรมของไทยที่ยังมีโอกาสขยายตัวและน่าลงทุนในระยะ 5-10 ปี ข้างหน้า มี 5 กลุ่ม อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน โดยในปัจจุบันประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ว่ามีคุณภาพ อีกทั้งการที่รถยนต์มีชิ้นส่วนประกอบจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการจะสามารถพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ป้อนให้โรงงานรถยนต์ได้
อีกกลุ่มหนึ่งคือ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมอาหารของไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับจากต่างชาติอย่างแพร่หลาย แม้ว่าในส่วนของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปนั้น การจะทำให้วัตถุดิบทางการเกษตรได้มาตรฐานทำได้ยาก เพราะผลผลิตยังขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
"อุตสาหกรรมท่องเที่ยว แฟชั่น บันเทิง ตลอดจนบริการเป็นอีกกลุ่มหนึ่งทีประเทศไทยมีศักยภาพ โดยดูจากพื้นฐานของคนไทยแล้วมีความถนัดในเรื่องเหล่านี้คล้าย ๆ กับประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกและนักท่องเที่ยวจากทวีปอื่น ๆ มีความประสงค์ที่จะมาเที่ยวอยู่"
ส่วนในด้านของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นั้น เลขาธิการบีโอไอ เห็นว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอีกหลายด้านในการรองรับการขยายตัว ส่วนใหญ่ไทยทำได้เพียงการรับจ้างผลิตเท่านั้น และทิศทางของอุตสาหกรรมนี้จะถูกกำหนดโดยปัจจัยภายนอก ซึ่งหากตลาดส่งออกไม่สามารถรองรับได้ ก็จะเกิดผลกระทบทันทีเช่นกัน
นอกจากนี้ นายสถาพร ยังได้กล่าวถึงเรื่องนโยบายการลดการนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบจากต่างประเทศของรัฐบาลว่า เป็นนโยบายที่ถูกทิศทางและสามารถทำได้ แต่ทั้งนี้จะต้องใช้ระยะเวลาอีกค่อนข้างนายในการเตรียมความพร้อม เพราะปัจจุบันการผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังต้องอาศัยเครื่องจักรนำเข้าเนื่องจากศักยภาพในการผลิตเครื่องจักรของไทยยังไม่เพียงพอที่จะผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าได้ เช่นเดียวกับวัตถุดิบหากจะให้ใช้วัตถุดิบในประเทศ ก็จะต้องมีการนำเข้าเครื่องจักรมาผลิต นอกจากนี้อุตสาหกรรมบางประเภท จำเป็นที่ต้องอาศัยวัตถุดิบนำเข้าอยู่ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก เป็นต้น โดยที่ผ่านมาทางบีโอไอ ก็ได้มีการดำเนินการรณรงค์และเชื่อมโยงอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มเช่นกัน แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ทั้งหมด--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ