กสิกรไทยปฏิวัติระบบแบ็ค ออฟฟิซ : เช็คเข้าบัญชีได้เงินภายในวันเดียว

อังคาร ๑๑ กันยายน ๒๐๐๑ ๑๓:๒๐
กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--ธ.กสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทยเปิดโครงการปรับโครงสร้างงานปฏิบัติการ ปฏิวัติงานแบ็คออฟฟิซครั้งใหญ่ รวมงาน 210 สาขามาอยู่ที่ 3 ศูนย์ สร้างมาตรฐานการให้บริการใหม่ทัดเทียมระดับโลกเช็คกสิกรไทยเข้าวันไหนเบิกเงินได้วันนั้น ซึ่งเป็นธนาคารของไทยที่ทำได้ พร้อมมุ่งให้สาขาเน้นการขายและบริการลูกค้า รองรับการแข่งขันที่กำลังดุเดือด
นายอภิชัย บุณยเกียรติ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากความก้าวหน้า พัฒนาการของเทคโนโลยีและภาวะการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ ที่รุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับปรุงกระบวนการให้บริหารให้สะดวกรวดเร็ว และการปฏิบัติงานที่สร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ธนาคารกสิกรไทยได้จัดทำ 8 โปรแกรมยุทธศาสตร์ เพื่อปรับปรุงระบบงานด้านต่างๆ ของธนาคารให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งโครงการปรับโครงสร้างปฏิบัติการ (Centralized Back Office Reconfiguration : CBO) เป็นหนึ่งในโปรแกรมดังกล่าว
ทั้งนี้โครงการปรับโครงสร้างงานปฏิบัติการจะแยกงานด้านปฏิบัติการหรือ Back Office ทั้งหมดออกจากสาขาในเขตสำนักหักบัญชีกรุงเทพฯ จำนวน 210 สาขา มาไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการ (Processing Center) ซึ่งมี 3 ศูนย์ คือ ราษฏร์บูรณะ พหลโยธิน และรามคำแหง โดยพนักงานที่สาขาจะเป็นผู้รับเรื่องและพบปะลูกค้าแล้วส่งให้ศูนย์ปฏิบัติการเป็นผู้ดำเนินการต่อ
สำหรับงานที่จะแยกออกมาคือ ศูนย์เงินสด งานเคลียร์ริ่งเช็ค และงานด้านธุรการอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการทันทีหน้าเคาร์เตอร์ เช่น รายการแจ้งเปลี่ยนชื่อที่อยู่ลูกค้า การขอซื้อสมุดเช็ค การสแกนตัวอย่างลายมือชื่อลูกค้า การลงบัญชีข้อมูลเซลสลิปบัตรเครดิตของร้านค้า ฯลฯ
หลังจากแยกงานปฏิบัติการออกมาแล้ว ทำให้สาขาของธนาคารสามารถเน้นงานขายและให้บริการ (Sale & Service) ซึ่งเป็นแก่นแท้ของการให้บริการที่สาขาเพื่อสร้างความพึงพอใจและรายได้ให้แก่ธนาคาร โดยไม่ต้องสูญเสียเวลาและพนักงานไปปฏิบัติงานด้านเอกสารที่ซ้ำซ้อน
นายยุทธชัย ชูศักดิ์ภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการปฏิบัติการ เปิดเผยว่า การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานครั้งนี้ จะเป็นเช่นเดียวกับที่ธนาคารกสิกรไทยทำการรีเอ็นจิเนียริ่งสาขา คือ เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านปฏิบัติการของสาขา ให้สามารถสนับสนุนการบริการลูกค้าให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและพอใจสูงสุด และเพื่อรองรับช่องทางการให้บริการใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าจะต้องสนับสนุนบริการได้ 24 ช.ม. เช่น การสั่งซื้อเช็คผ่านทีเอฟบี อี-โฟน แบงกิ้ง อินเตอร์และเอทีเอ็ม งานให้บริการนอกเวลาทำการของสาขาในห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้เทคโนโลยีที่วางเป็นฐานการทำงานใหม่นี้ จะเกิดประโยชน์คุ้มค่ามหาศาล จากเงินลงทุนโครงการนี้จำนวน 400 ล้านบาท
ขณะนี้ธนาคารได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแห่งแรกแล้วที่สำนักราษฎร์บูรณะ-สีลม และเริ่มทะยอยรวมศูนย์ปฏิบัติการของสาขาเข้ามาแล้ว 32 สาขา จากจำนวน 81 สาขา ส่วนศูนย์ฯ พหลโยธินจะเปิดตุลาคมนี้ มีสาขาในความรับผิดชอบ 77 สาขา และศูนย์ฯ รามคำแหง ส่วนศูนย์ฯพหลโยธินจะเปิดตุลาคมนี้ มีสาขาในความรับผิดชอบ 77 สาขา และศูนย์ฯ รามคำแหง จะเริ่มมกราคม 2545 มีสาขาในความรับผิดชอบ 52 สาขา ทั้งนี้คาดว่าโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ในกลางปี 2545
ด้านนายสุวัฒน์ เจริญวิจิตรชัย ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการกลาง เปิดเผยเพิ่มเติมว่าการปรับโครงสร้างงานปฏิบัติการมาไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการ จะทำให้ธนาคารสามารถขยายเวลารับฝากเช็คของธนาคารกสิกรไทยเข้าบัญชีได้ถึงเวลา 15.30 น. และจะทราบผลการเคลียริ่งและเบิกเงินได้ภายในเย็นวันนั้น ซึ่งธนาคารกสิกไทยจะเป็นธนาคารเดียวที่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ จากเดิมที่จะทราบผลในวันทำการถัดไปหลัง 12.00 น. และเร็วๆ นี้จะติดตั้งระบบตรวจสอบลายเซ็นชื่ออัตโนมัติ รวมทั้งระบบอ่านตัวเลขจำนวนเงินบนเช็คอัตโนมัติเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้พนักงานในการตรวจสอบและพิมพ์ตัวเลข
การปรับโครงสร้างงานปฏิบัติการ จะทำให้บริการของธนาคารเข้าสู่มาตรฐานระดับสากล ซึ่งด้วยมาตรฐานระดับนี้และความพร้อมของระบบเป็นไปได้ว่าในอนาคตจะมีการร่วมพูลงานด้านเคลียริ่งเช็คกับธนาคารพาณิชย์อื่น เพื่อสร้างมาตรฐานบริการใหม่ของธนาคารพาณิชย์ไทย และร่วมใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีด้วยกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะช่อยลดการลงทุนและนำเข้าซอฟต์แวร์และ ฮาร์ดแวร์จากต่างประเทศเพื่อไม่ให้เงินตราไหลออกนอกประเทศ
และหลังการปรับโครงสร้างงานปฏิบัติการดำเนินการครบ 210 สาขาแล้ว จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านดำเนินการได้อย่างมาก เช่น คอมพิวเตอร์รองรับงานแบ็คออฟฟิซจะลดลง 60% พนักงานด้านแบ็คออฟฟิซลดจากกว่า 800 คนเหลือประมาณ 500 คน รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้าน สาธารณูปโภคอีกมาก
ทั้งนี้การรวมศูนย์ปฏิบัติการจะทำให้ธนาคารสามารถควบคุมคุณภาพการให้บริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ และการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากระบวนการทำงานผ่านศูนย์ฯ ทั้ง 3 ในอนาคตจะทำได้สะดวกขึ้น จากเดิมที่แต่ละสาขาให้บริการทำให้มีควมแตกต่างด้านมาตรฐานการให้บริการ และการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของแต่ละสาขาต้องทะยอยทำ ซึ่งต้องใช้เวลาและต้นทุนที่สูงกว่า--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ