TT&T ลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

จันทร์ ๐๓ กันยายน ๒๐๐๑ ๑๑:๒๓
กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--ทีทีแอนด์ที
บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (“TT&T ” หรือ “บริษัท”) และบรรดาเจ้าหนี้ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันและได้ลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ (“สัญญา”) เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทที่มีอยู่เป็นจำนวน 40,636 ล้านบาท ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท (“แผน”)
ทั้งนี้ บริษัทและบรรดาเจ้าหนี้ได้ดำเนินการเจรจาในเรื่องโครงสร้างของร่างสัญญาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (“คปน.”) และที่ประชุมเจ้าหนี้ได้อนุมัติโครงสร้างของร่างสัญญาดังกล่าวโดยเสียงข้างมากเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2543 ต่อมาบริษัทได้ยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 และที่ประชุมเจ้าหนี้ได้อนุมัติแผนโดยเสียงข้างมากเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2543 โดยมีเงื่อนไขว่าคณะกรรมการเจ้าหนี้จะต้องอนุมัติร่างสุดท้ายของเอกสารในส่วนของสัญญาเสียก่อน และเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2543ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งอนุมัติแผนของบริษัท การลงนามในสัญญาครั้งนี้ถือว่าได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สำคัญส่วนใหญ่ของการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้แผนมีผลสำเร็จลุล่วงลงไป ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถดำเนินการตามแผนจนสำเร็จเสร็จสิ้นลงในอนาคตอันใกล้นี้
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 บริษัทมียอดหนี้ค้างชำระที่จะต้องปรับโครงสร้างหนี้รวมทั้งสิ้น 40,636ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหนี้ค้างชำระบรรดาเจ้าหนี้สถาบันการเงินจำนวน 25,164 ล้านบาทเจ้าหนี้การค้ารายใหญ่จำนวน 8,077 ล้านบาท เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องจำนวน 7,163 ล้านบาท และเจ้าหนี้การค้ารายย่อยจำนวน 232 ล้านบาท
สัญญาได้ระบุถึงการแปลงหนี้จำนวนเงิน 33,240 ล้านบาทเป็นหนี้เงินกู้กลุ่ม ก. จำนวน 20,606ล้านบาท หนี้กลุ่ม ข. จำนวนเงิน 6,018 ล้านบาท และหนี้เงินกู้กลุ่ม ค. จำนวนเงิน 6,616 ล้านบาทหนี้เงินกู้กลุ่ม ก. จะมีระยะเวลาชำระ 11.5 ปี ซึ่งจะมีระยะเวลาปลอดหนี้ 1.5 ปี และดอกเบี้ยของหนี้เงินกู้กลุ่ม ก. จะมีการชำระให้เป็นรายเดือน หนี้เงินกู้กลุ่ม ข. จะมีระยะเวลาชำระ 13 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดหนี้ 11.5 ปี ดอกเบี้ยในหนี้เงินกู้กลุ่ม ข. จะมีการชำระเป็นรายเดือน แต่อาจจะนำมารวมเป็นจำนวนเท่ากับดอกเบี้ยซึ่งค้างชำระ 18 เดือนโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ หนี้เงินกู้กลุ่ม ค. มีระยะเวลาชำระ 17.5 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดหนี้ 14 ปี ทั้งนี้ดอกเบี้ยจะนำมาบวกเข้าไปในหนี้เงินกู้กลุ่ม ค. แต่ยังคงไม่ต้องชำระจนกว่าจะได้มีการไถ่ถอน หนี้เงินกู้กลุ่ม ค. นี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการซื้อคืนโดยบริษัทโดยใช้เงินซึ่งได้รับจากการเพิ่มทุนดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ เจ้าหนี้สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้การค้ารายใหญ่ได้เลือกที่จะแปลงหนี้บางส่วนของตนจำนวน 1,000ล้านบาทเป็นหุ้นสามัญในราคาเดียวกันและภายใต้ข้อกำหนดเช่นเดียวกับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นสุดการปรับโครงสร้างหนี้แทนที่จะแปลงหนี้ตามสัดส่วนไปเป็นหนี้เงินกู้กลุ่ม ค. ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวเป็นยอดหนี้สูงสุดที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน
หนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดตลอดจนหนี้เงินกู้ด้อยสิทธิจากคู่กรณีที่เกี่ยวข้องจำนวน 7,163 ล้านบาทจะแปลงเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคา 4.85 บาท หนี้ซึ่งค้างชำระแก่เจ้าหนี้การค้าอื่นๆ จำนวน 232ล้านบาท จะชำระโดยบริษัทไม่ว่าจะในรูปของเงินสด ณ วันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ซึ่งมีส่วนลดร้อยละ 35หรือชำระเป็นจำนวนเท่ากันจำนวน 100 งวด โดยปราศจากดอกเบี้ย
นอกจากนี้ ตามสัญญาข้างต้น บริษัทจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้(Restructuring Plan Warrants) ในจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทซึ่งมีอยู่ ณ วันเสร็จสมบูรณ์ให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้ารายใหญ่ และผู้ถือหุ้นของบริษัทบรรดาเจ้าหนี้จะได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวจำนวนร้อยละ 50 โดยส่วนที่เหลือจะจำหน่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท การใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิเหล่านี้สามารถกระทำได้ภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ได้มีการออกและการใช้สิทธิสามารถกระทำได้โดยวิธีการชำระเงินสดให้แก่บริษัทเท่านั้น
บริษัทรับที่จะเพิ่มทุนจำนวน 5,000 ล้านบาท โดยจะมีเงินสดขั้นต่ำจำนวน 3,000 ล้านบาทเพื่อนำไปใช้ในการซื้อคืนหนี้ภายในระยะเวลา 2.5 ปีนับแต่วันสิ้นสุดการปรับโครงสร้างหนี้ตามวิธีการที่เห็นชอบร่วมกันทั้งนี้เงินที่ได้มาจากการเพิ่มทุนส่วนหนึ่งนี้จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อที่บริษัทจะได้มีความสามารถในการแข่งขันเชิงในธุรกิจภายใต้การเปิดเสรีทางโทรคมนาคม ทั้งนี้ถ้าหากการหาผู้ร่วมทุนมิได้จำนวนเงินทุนใหม่ตามต้องการภายในระยะเวลา 24 และ 30 เดือนหลังจากวันเสร็จสมบูรณ์ บริษัทจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิเพิ่มเติมให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้เงินกู้กลุ่ม ค.แต่ละรายในเวลานั้น ราคาการใช้สิทธิของใบแสดงสิทธิดังกล่าวจะอยู่บนพื้นฐานของราคาตลาดแต่ทั้งนี้ไม่ว่าในกรณีใดราคาจะไม่ต่ำกว่า 10 บาท
ในการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ บริษัทได้ว่าจ้าง The Kensington Group เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ Milbank, Tweed, Hadley & McCloy และบริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด เป็นที่ปรึกษากฎหมาย ส่วนคณะกรรมการเจ้าหนี้มีประกันได้ว่าจ้าง PricewaterhouseCoopers เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ Allen & Overy และ Linklaters (Thailand) Limited เป็นที่ปรึกษากฎหมาย
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อขอใช้บริการที่ได้ส่วนพัฒนาธุรกิจและการตลาด ฝ่ายธุรกิจสื่อสารข้อมูล โทร. (02) 693-2100 ต่อ 1000 โทรสาร (02) 693-2407--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ