ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) ทำ "ไทยภูมิใจไทย" หุ่นยนต์ช่วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

ศุกร์ ๐๖ ตุลาคม ๒๐๐๐ ๑๐:๔๓
กรุงเทพฯ--6 ต.ค.--ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)
FIBO ทำ “ไทยภูมิใจไทย” ช่วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ลดพึ่งเทคโนโลยีต่างชาติ ล่าสุดลงนามสัญญากับเหล็กสยามยามาโตะเพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บหางเหล็กความร้อนสูง ลดต้นทุนนำเข้าเทคโนโลยีถึง 40 % เร่งพัฒนาใช้งานได้กุมภาพันธ์ปีหน้า พร้อม เปิดหลักสูตรโท-เอก ด้าน Robotics and Automation Program อีก 2 ปีข้างหน้า
ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวถึงการพัฒนาระบบหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Crop Collector Robot) ว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการแข่งขันรุนแรงขึ้นเป็นลำดับกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยผู้ประกอบการแข่งขันได้ ในตลาดโลก คืออาศัยความสามารถเชิงเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) โดยเฉพาะ ด้านออกแบบและจัดสร้างระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ที่ผ่านมายังมิได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เป็น การนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติมีราคาค่อนข้างสูง ต้นทุนการผลิตจึงสูงตามไปด้วย
ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ตระหนักถึง ภาระความรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้นำในการสร้างเทคโนโลยีอัตโนมัติให้เกิดขึ้นในประเทศ จึงลงนามร่วมมือ กับบริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด พัฒนาระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในสายการ ผลิตรีดเหล็กรูปพรรณ (H,I,C) โดยพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถทำหน้าที่เก็บหางเหล็กน้ำหนัก 300 กิโลกรัม ขนาดยาว 500 - 2000 มิลลิเมตร ที่มีความร้อนสูงถึง 900 องศาเซลเซียส ออกจากสายการผลิตภายในเวลา 10 วินาที และทิ้งไปภายในเวลา 50 วินาที (Ieadtime) ก่อนเหล็กชุดใหม่จะเข้าสู่สายการผลิต
“ความร่วมมือกับสยามยามาโตะครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ ที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของไทยจะลด การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพราะนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าผลิตเองในประเทศถึง 40 % แล้ว ระบบที่ซื้อมานั้นบางฟังก์ชั่นก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณไปเปล่า FIBO ได้ตระหนักดีถึงปัญหานี้จึงออกแบบระบบอัตโนมัตินี้ให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมที่สุดและสิ้นเปลืองงบประมาณน้อย กว่าการนำเข้า” ดร.ชิตกล่าว
ทางด้านนายดำริ ตันชีวะวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด กล่าวถึงการตัดสินใจ เลือกศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) เป็นผู้ออกแบบระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติว่า ที่ผ่านมา การเก็บหางเหล็กออกจากสายพานการผลิตจะมีปัญหาเรื่องเวลามาก ทำให้ไม่สามารถเดินเครื่องการผลิตได้ เต็มกำลัง ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องการระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อมาทำงานแทนมนุษย์ ซึ่งคาดว่าจะช่วย สามารถเพิ่มผลผลิตได้ในระดับหนึ่ง
นายดำริ ได้กล่าวอีกว่า บริษัทมีความเชื่อมั่นในทีมงานของ FIBO ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์, นักวิชาการ และนักศึกษาของ มจธ. ที่มีประสบการณ์สูงทางด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติ และที่สำคัญเป็นผลงาน ที่เกิดจากมันสมองของคนไทย จึงควรภาคภูมิใจและช่วยกันสนับสนุนเพื่อป้องกันเงินตราไหลออกนอกประเทศ โดยคาดว่าจะติดตั้งระบบแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 นี้
นอกจากนี้ ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม จะขยายผล “งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม” นี้ ด้วยการ ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาซูเซส (M.I.T) และมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน (CMU) เปิดโปรแกรม การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation Program : RAP) ขึ้นในปีการศึกษา 2545 เพื่อผลิตวิศวกรและนักวิจัยสายพันธุ์ใหม่ที่มีความสามารถออกแบบ และสร้างอุปกรณ์อัตโนมัติ
หากผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดต้องการเข้าเป็นเครือข่ายของโปรแกรมศึกษานี้ หรือต้องการข้อมูล เพิ่มเติมเพื่อส่งพนักงานเข้าศึกษา ติดต่อ คุณอนุสรา มีชัย โทร.470-9339, 470-9129 โทรสาร 470-9111 ในวันและเวลาราชการ--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version