IBS โรคเรื้อรังแต่ไม่ร้ายแรง ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย

จันทร์ ๒๕ กันยายน ๒๐๐๐ ๑๕:๐๖
กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--คอร์ปอเรท พับลิค รีเลชั่นส์ คอนซัลแตนท์
แพทย์ระบุโรค IBS (Irritable Bowel Syndrome) ลำไส้ทำงานแปรปรวน เป็นโรคเรื้อรังแต่ไม่ใช่โรคร้ายแรง แนะพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รศ.พ.ญ.วโรชา มหาชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงโรค IBS หรือ โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน ว่า โรค IBS เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์ด้วยอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ ร่วมกับมีความผิดปกติในการขับถ่าย เช่น ท้องผูก หรือ ท้องเสีย และมักจะทุเลาลงหลังการขับถ่าย
สำหรับสาเหตุของโรค IBS ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น มีการบีบตัวของลำไส้ที่ผิดปกติ ถ้าน้อยไปก็มีอาการท้องอืดหรือท้องผูก ถ้ามากไปก็จะทำให้มีอาการปวดท้องเกร็งหรือท้องเสีย ผู้ป่วยอาจมีประสาทรับความรู้สึกในลำไส้ที่ไวต่อการกระตุ้นเวลามีการขยายตัวของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำให้มีอาการปวดท้องมากกว่าคนปกติ โดยความเครียด ความกังวล และสภาพทางจิตใจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการของ IBS กำเริบได้
อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วย IBS ที่มีความเครียดมักมาพบแพทย์มากกว่าผู้ป่วย IBS ที่ไม่มีความเครียด ผู้ป่วยอาจมีอาการกังวล ซึมเศร้า หรือปัญหาทางจิตใจอื่น ๆ ร่วมด้วยทำให้อาการกำเริบมากขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัว หรือไม่ยอมรับว่ามีความเครียดร่วมด้วย โดยผู้ป่วยมักจะมีความเครียดหรือกังวลกลัวว่าจะเป็นมะเร็งหรือกลายเป็นมะเร็ง
"ความเครียดและความวิตกกังวลเป็นปัจจัยที่ทำให้อาการกำเริบหรือเป็นมากขึ้น แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของ IBS ดังนั้นเมื่อไม่เครียดอาการอาจดีขึ้นหรือหายไปชั่วคราวได้ โรค IBS มักเป็นโรคเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ แต่มีบางโอกาสที่อาจหายไปได้" รศ.พ.ญ.วโรชา กล่าว
สำหรับการรักษาโรค แพทย์ควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรค IBS และแนวทางปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้ป่วยสบายใจได้ว่าไม่เป็นโรคร้ายแรง แต่เป็นโรคที่เป็น ๆ หาย ๆ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ทานอาหารที่ถูกต้อง เช่น ให้ทานอาหารที่มีกากมาก ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดดื่มนมถ้ามีอาการท้องอืดหรือท้องเสีย งดของทอดของมัน ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียดความกังวล และอาจใช้ยารักษา IBS เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยจะมีอาการอะไรมาก เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรือ ปวดท้อง ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการหลังจากการรักษาเบื้องต้น แพทย์ก็จะดำเนินการตรวจเพิ่มเติมให้แน่ใจว่าไม่มีสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นอาการของโรค
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ โครงการแพทย์เพื่อประชาชน
พรลดา, บุษบา โทร. 628-9503, 628-6001--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO