กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--ททท.
ความเป็นมา
มนุษย์กับธรรมชาติและวัฒนธรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ต่อมามนุษย์ก็สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ทุกประเทศในโลกนี้จึงล้วนเป็นผู้ครอบครองมารดกอันล้ำค่าทางธรรมชาติและวัฒนธรรมกันทั้งสิ้น
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) ซึ่งตระหนักในเรื่องนี้ และมุ่งมั่นให้ความคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติตลอดมา จึงได้มีมติรับรอง "อนุสัญญาว่าด้วยการพิทักษ์รักษาสมบัติวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก" ในการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2515 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างความร่วมมือในหมู่ประเทศภาคีสมาชิกในการกำหนดมาตราการที่เหมาะสมทั้งด้านกฎหมาย วิชาการ นโยบาย การบริหารงาน เทคนิค และงบประมาณ เพื่อสงวนรักษาคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลกที่มีคุณค่ายิ่งใหญ่ และมีความสำคัญต่อมวลมนุษย์ชาติเอาไว้เพื่อพวกเราและอนุชนรุ่นหลังจะได้สามารถชื่นชมความงาม ความมหัศจรรย์ได้ทั่วกันต่อไป อีกนานแสนนาน
สำหรับประเทศไทยเองนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของการคุ้มครองมรดก ทั้งมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติของชาติไทย โดยได้ดำเนินการอนุรักษ์ และสร้างมาตรการต่างๆ ในอันที่จะคุ้มครองมรดก ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีคุณค่าแก่ประเทศไทยเท่านั้น หากยังมีคุณค่าแก่นานาชาติอย่างมากมาย จึงได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกและเป็นที่น่ายินดีว่าขณะนี้ มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว 4 แห่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยานับเป็นแหล่งโบราณสถานที่มีคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งทางด้านศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก และเนื่องในโอกาสพิเศษที่รัฐบาลไทยกำหนดให้มีโครงการ Amazing Thailand 2000 จึงกำหนดจัดงานอยุธยามรดกโลก และจัดการแสดงแสง-เสียง เรื่อง "อยุธยายศยิ่งฟ้า" ขึ้น ในระหว่างวันที่13-19 ธันวาคม 2542 โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และความสำคัญเกี่ยวกับมรดกไทยที่ได้รับยกย่องให้ดำรงสถานะเป็นมรดกโลก แก่เยาวชนและ ประชาชนทั่วไป
2. สร้างความรู้สึกหวงแหน และร่วมใจอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ
3. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาค
4. เพื่อเป็นการสร้างงานและกระจายได้ไปสู่ภูมิภาค
5. เพื่อเป็นกิจกรรมสนับสนุนโครงการ Amazing Thailand 2000
6. เพื่อเป็นกิจกรรมในโครงการ "Ayutthaya World Heritage"
สถานที่จัดงาน
บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วิธีดำเนินงาน
1. สำรวจพื้นที่และศึกษางานที่ผ่านมา
2. ประสานงานระหว่าง ททท.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากรและธุรกิจท่องเที่ยวเอกชน
3. ประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานเพื่อเตรียมงาน
4. ปรับปรุงเส้นเสียงบทบรรยายและเพลงประกอบ
5. ประชาสัมพันธ์งานและกิจกรรมในงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. เตรียมการจัดแสดงแสง-เสียง
7. ซ้อมใหญ่วันที่ 11 ธันวาคม 2543
8. การแสดงจริง ระหว่างวันที่ 13-19 ธันวาคม 2543
9. ประเมินผลการจัดงาน
ระยะเวลาการจัดงาน
กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 13-19 ธันวาคม 2543
กิจกรรมภายในงาน
1. ททท.ดำเนินการ
- การสนับสนุนการจัดทำระบบเทคนิคแสง-เสียง ประกอบการแสดงเรื่อง "อยุธยายศยิ่งฟ้า"
- การจัดจำลองบรรยากาศของหมู่บ้านชาวอยุธยาและวิถีชีวิตประเพณีไทยสมัยอยุธยา
2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินการ
- การจัดแสดงแสง-เสียง เรื่อง "อยุธยายศยิ่งฟ้า"
- การสาธิตหมู่บ้านหัตถกรรมไทย ชีวิตความเป็นอยู่ และเรื่องราวในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณคุ้มขุนแผน
- การแสดงศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชาวบ้านสมัยกรุงศรีอยุธยา
- การจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของอำเภอต่างๆ การขายสินค้าราคาถูก และผลิตจากโรงงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กำหนดการจัดแสดงแสง-เสียง
- วันที่ 13 ธันวาคม 2543
แสดง 1 รอบ เวลา 20.00 น. - 21.00 น.
- วันที่ 14,18,19 ธันวาคม 2543
แสดงวันละ 1 รอบ เวลา 19.30 น. - 20.30 น.
- วันที่ 15,16,17 ธันวาคม 2543
แสดง 2 รอบ เวลา 19.00 น. - 20.00 น.
เวลา 21.00 น. - 22.00 น.
งบประมาณดำเนินการ
1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. กรมศิลปากร
4. สปอนเซอร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. กรมศิลปากร
3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงความสำคัญและได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมไทยเพิ่มขึ้น
2. นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามากขึ้น
3. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้ในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงวันจัดงาน--จบ--
-อน-
- ธ.ค. ๒๕๖๗ วธ.ร่วมเผยแพร่ประวัติและผลงานสำคัญ "พระยาศรีสุนทรโวหาร" เนื่องในโอกาสยูเนสโก ประกาศ ยกย่องเชิดชู เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2565
- ธ.ค. ๒๕๖๗ เจริญสมาธิภาวนาสู่สันติภาพทั่วไทย ทั่วโลก 20 ม.ค. 2563 ถวายอาจาริยบูชา ๑๕๐ ปีชาตกาลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บุคคลสำคัญของโลก
- ธ.ค. ๒๕๖๗ วธ.จัดมหกรรมการแสดง โขน ครั้งยิ่งใหญ่กลางกรุงเทพ เผยแพร่องค์ความรู้โขน เฉลิมฉลอง ยูเนสโก ยกโขนไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ