TIFFA บริษัทผู้ให้บริการ EDI จับมือพันธมิตรขยายธุรกิจ EDI

ศุกร์ ๑๓ ตุลาคม ๒๐๐๐ ๑๒:๔๔
กรุงเทพฯ--13 ต.ค.--ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส
TIFFA บริษัทผู้ให้บริการ EDI ผนึกเอ็กซ์ทรีม ซิสเต็มส์ดึงซีเอสอินเทอร์เน็ตเปิดบริการใหม่ EDI Application Hosting ผ่านเว็บไซต์ thaitradesolution.com ซึ่งเป็นบริการ EDI แบบใหม่ที่นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ กลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ธุรกิจ SME ตั้งเป้าสิ้นปีมีผู้ใช้บริการกว่า 50 ราย
ระบบ EDI (Electronic Data Interchange) เป็นระบบการจัดการเอกสารระหว่างบริษัทผู้ค้าปลีกผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ และจะนำไปสู่การทำงานแบบไร้กระดาษในอนาคต จากบริการ EDI ในรูปแบบเดิม (Traditional EDI) ผู้ใช้บริการต้องซื้อซอฟท์แวร์จากผู้ให้บริการ EDI มาติดตั้งในองค์กรซึ่งมีความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง แต่ในระบบ EDI Application Hosting ผู้ใช้สามารถทำงานผ่านโปรแกรมบราวซ์เซอร์ได้ทันที
อนุสรณ์ หล่อวิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด เผยถึง การขยายธุรกิจ EDI แบบดั้งเดิมมาเป็น Internet EDI ซึ่งทางซีเอสมีความพร้อมในด้านการบริการเพราะมีเครือข่ายครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด จึงตกลงจับมือเป็นพันธมิตรกัน ส่วนทางด้านเอ็กซ์ทรีมจะจัดการทางด้านแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงเว็บไซต์ thaitradesolution
สุธีร์ สธนสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์ทรีม ซิสเต็มส์ จำกัด กล่าวถึง ระบบ EDI Application Hosting ว่าเป็นบริการแนวใหม่ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการผ่านบราวซ์เซอร์แต่จะต้องเป็นลูกค้าจากซีเอสอินเทอร์เน็ตเท่านั้นส่วนผู้ที่ใช้บริการไอเอสพีรายอื่นยังไม่สามารถใช้บริการนี้ได้ ค่าบริการในการสมัครจะยกเว้นจนถึงสิ้นปีนี้จากปกติเรียกเก็บในราคา 1,200 บาท ส่วนค่าบริการต่อทรานสแอ็คชั่นอยู่ที่ 25 บาท โดยรายได้ทั้งหมดทางเอ็กซ์ทรีมจะได้ส่วนแบ่งมากกว่า และทางซีเอสกับทิฟฟ่าจะได้ส่วนแบ่งเท่ากัน กลุ่มลูกค้าขณะนี้เป็นบริษัทที่ได้รับการแนะนำจากทางสยามจัสโก้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ราย กลุ่มเป้าหมายปัจจุบันมุ่งไปยังกลุ่มผู้ผลิตสินค้าขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากและในอนาคตจะขยายตลาดสู่กลุ่มบริษัทขนส่งทางเรือต่อไป
บริการขณะนี้ยังอยู่ในส่วนของการจัดการใบสั่งซื้อสินค้าและใบแจ้งหนี้เท่านั้น ทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยจะมีทั้งการเช็ครหัสผ่าน ระบบไฟร์วอลล์สองชั้นรวมถึงการเข้ารหัสข้อมูล และข้อสำคัญผู้ใช้บริการจะมีฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารแยกกันเป็นส่วนตัวเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่เป็นความลับ
อนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด กล่าวสรุป ถึงบทบาทของทางซีเอสว่ามีหน้าที่ในการบริการด้านอินเทอร์เน็ตแก่องค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรเอกชน และองค์กรของรัฐ โดยทางซีเอสหวังว่าโครงการนี้จะเป็นการกระตุ้นให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ส่วนในอนาคคถ้าทางทิฟฟ่า หรือเอ็กซ์ทรีมต้องการขยายบริการไปยังผู้ใช้ไอเอสพีรายอื่น ก็ไม่มีปัญหา--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
๐๙:๐๐ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา โปรตุเกส.เหตุที่รั
๐๙:๐๐ การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
๐๙:๐๐ ก้อย-นัตตี้-ดรีม ชีเสิร์ฟความฮอตแบบไม่พัก รับบทพรีเซ็นเตอร์ชุดชั้นในวาโก้ โชว์ความเนียนยืนหนึ่งระดับตัวมัม!
๐๙:๐๐ เจาะลึกคีย์เทคโนโลยี AI ฝีมือคนไทย บนแอปสินเชื่อ มันนี่ทันเดอร์ พลังขับเคลื่อนสำคัญที่ อบาคัส ดิจิทัล
๐๘:๑๓ เปิดความปัง มั่งมีรับปีใหม่ กับ แมคโดนัลด์ 'มั่งมีเบอร์เกอร์ x MY MELODY' ยกขบวนความน่ารัก MY MELODY กับแพ็กเกจจิงและ กระเป๋า Tote Bag
๐๘:๑๑ ถอดรหัสความสำเร็จ Fundao แบรนด์กระเป๋าไทยของผู้หญิงยุคใหม่ กับสถิติยอดขายช่วงแคมเปญเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง
๐๘:๐๐ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!