ILCT: ปัญหาข้อกฎหมายของการทำ Caching และ Mirroring บนเว็บไซท์ (3)

พฤหัส ๑๓ ธันวาคม ๒๐๐๑ ๑๖:๕๙
กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--ที่ปรึกษากฎหมายสากล
โดย ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
[email protected]
อาทิตย์ที่แล้วผมค้างท่านผู้อ่านไว้ในเรื่องปัญหาข้อกฎหมายของการทำ Caching วันนี้เรามาว่ากันต่อครับ การทำ Caching นั้นตามที่ได้อธิบายไปในครั้งก่อนๆแล้วครับว่าเป็นการทำซ้ำข้อมูลโดยนำมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เซิพเวอร์ของผู้ให้บริการ (โดยปกติมักนิยมทำ Caching กับข้อมูลที่ผู้ใช้บริการดาวน์โหลดบ่อยๆ) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่แท้จริง ( Original Resource) รวดเร็วยิ่งขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การทำซ้ำข้อมูลดังกล่าวผิดกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่
คำตอบคือหากงานดังกล่าวมีลิขสิทธิ์และถูกนำมาทำซ้ำโดยวิธี Caching โดยการพักหรือเก็บข้อมูลไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เซิพเวอร์ของผู้ให้บริการ หรือกรณีที่ผู้ประกอบการบางรายอาจทำ Caching ข้อมูลของผู้อื่นเพื่อนำมาใช้ในเว็บไซท์ของตนโดยไม่ได้อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวนั้นถือเป็นความผิดฐานทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 4 และ 27 ของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ครับ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการทำซ้ำโดยการนำงานผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการทำ Web Crawler ตัวอย่างเช่น เว็บไซท์ A .ให้บริการ Web Crawler โดยจัดหา รวบรวมงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น บทความทางวิชาการ บทวิจารณ์ต่างๆ หรือรูปภาพจากภาพยนต์หรือการ์ตูนต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของตนผ่านเว็บไซท์ วิธีการใช้บริการนั้นลูกค้าแต่ละรายต้องดาวน์โหลดโปรแกรมเฉพาะที่ออกแบบโดยเว็บไซท์ A เพื่อทำ Web Crawler โดยสั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ของเว็บไซท์ A ให้ดึงงานมาจากเว็บไซท์ต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยข้อมูลทั้งหมดไม่ได้มีการรวบรวมหรือจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเว็บไซท์ A แต่อย่างใด เว็บไซท์ A เพียงขายซอพแวร์และช่วยเหลือในการดึงข้อมูลจากเว็บไซท์โดยการทำ Web Crawler เท่านั้น โดยการทำซ้ำหรือเก็บงานของผู้อื่นทั้งหมดในแต่ละครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของเว็บไซท์ A จะทำซ้ำข้อมูลตามคำสั่งของผู้ใช้บริการเท่านั้น การกระทำดังกล่าวนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ผมขอหยิบยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่างมาพิจารณาคือ 1) กรณีของเว็บไซท์ Napster.com ที่เป็นข่าวโด่งดังปีที่แล้วเนื่องจาก Napster ใช้เทคโนโลยี Peer to Peer Sharing ที่คล้ายคลึงกับตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการแต่ละรายของ Napster สามารถดาวน์โหลดเพลงศิลปินที่ตนชื่นชอบได้โดยผู้ใช้บริการของ Napster แต่ละรายต้องดาวน์โหลดโปรแกรมของ Napster มาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการแต่ละรายเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย โดย Napster ไม่ได้เก็บแฟ้มข้อมูลของเพลงที่มีลิขสิทธิ์อยู่บนคอมพิวเตอร์เซิพเวอร์ของ Napster แต่อย่างใด ผู้ใช้บริการแต่ละรายจะเป็นคนเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในฮารด์ดิสก์ของตน และ 2) กรณีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) ที่ให้บริการแก่ลูกค้าของตนและลูกค้าบางรายอาจทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ผู้อื่น มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เซิพเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ปัญหาคือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือ ISP ต้องรับผิดหรือไม่
กรณีของ Napster นั้น ศาลอุทธรณ์ของอเมริกา (The Ninth circuit Court) ตัดสินว่า Napster มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจาก Napster รู้ว่ามีการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้ความช่วยเหลือในการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์โดยการจัดหาโปรแกรมซอพแวร์มาให้แก่ลูกค้าของตนใช้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นการช่วยเหลือให้มีกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หรือที่หลักกฎหมายอเมริกาเรียกว่า "Contributory Infringement" ซึ่งผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ของ อเมริกา(DMCA- The digital Millennium Copyright Act 1998) นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงปรากฎว่า Napster รับทราบถึงการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวมาโดยตลอดแต่เพิกเฉยไม่ทำการยกเลิกการใช้เทคโนโลยี Peer to Peer Sharing หรือใช้เทคโนโลยีในการสกัดกั้นการทำซ้ำงานดังกล่าว กรณีของ Napster หรือ กรณีของเว็บไซท์ A นั้นถ้าเกิดขึ้นในประเทศไทยเนื่องจากการทำซ้ำไม่ได้ไม่ได้เกิดจาก Napster แต่เกิดจากผุ้ใช้บริการแต่ละราย ความผิดที่น่าจะใกล้เคียงที่สุดสำหรับ Napster "หรือ Website A ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ของไทยคือ "การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต"ครับ แต่กรณีดังกล่าวนี้ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใดครับ
ปัญหาต่อมาคือหากนำบรรทัดฐานจากคดี Napster มาพิจารณา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือกรณีที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP ไม่ทราบว่าลูกค้าของตนทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน ISP รายนั้น ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือไม่ และ หากในทางกลับกัน ISP รายนั้นทราบถึงการกระทำละเมิดแต่เพิกเฉยไม่ลบข้อมูลที่ละเมิดนั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของตน ผลในทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรคำตอบคือในกรณีที่ ISP รายนั้นไม่ทราบและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใช้บริการ ISP เป็นเพียงทางผ่านของข้อมูล (conveyor) หากพิจารณาตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือ ISP ไม่มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ครับเพราะกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกายกเว้นความรับผิดของ ISP ไว้ในกรณีดังกล่าวไว้ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ของอังกฤษและกลุ่มประเทศสหภาพยุโรบที่บัญญัติกฎหมายไว้รองรับในแนวทางเดียวกัน ในส่วนของกฎหมายไทยนั้นยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยไม่ได้พูดถึงกรณีดังกล่าวไว้ชัดเจน อย่างไรก็ตามผมมีความเห็นว่า ISP ไม่น่าจะมีความผิดฐานกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ครับเพราะการทำซ้ำไม่ได้เกิดจาก ISP แต่เป็นเพราะผู้ใช้บริการทำคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของ ISP ทำซ้ำหรือ Caching งานของผู้อื่น ส่วนในกรณีที่ ISP รับทราบว่ามีการทำละเมิดลิขสิทธิ์แล้วเพิกเฉยกรณีดังกล่าวนี้ทั้งกฎหมายไทยและต่างประเทศน่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ISP รายนั้นอาจมีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้ครับ
มาถึงจุดนี้ท่านผู้อ่านหลายท่านคงสงสัยว่า ในกรณีของ เว็บไซท์ Search Engine เช่น Yahoo.com นั้น ทำซ้ำงานผู้อื่นได้อย่างไร คำตอบคือ กรณีของ yahoo.com นั้นเป็นการทำ Link ที่เรียกว่า " Web Directory" ครับ ซึ่งเจ้าของเว็บไซท์ที่ต้องการให้เว็บไซท์ของตนเป็นที่รู้จักก็จะมาลงทะเบียนในเว็บไซท์ Yahoo.com เพื่อโฆษณาเว็บไซท์ของตนเพื่อให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปสามารถหาข้อมูลทางธุรกิจของตนจากเว็บไซท์ได้ ซึ่งบางครั้งหากต้องการให้ลำดับในการค้นข้อมูลอยู่ลำดับต้นๆก็อาจต้องจ่ายค่าโฆษณาด้วย ดังนั้นการลงทะเบียนดังกล่าวจึงอาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของเว็บไซท์หรือเจ้าของงานลิขสิทธ์ในเว็บไซท์ให้อนุญาตโดยปริยาย( Implied License) แก่ yahoo.com ในการทำ link หรือทำซ้ำงานดังกล่าวเพื่อโฆษณางานของตนจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
ในครั้งหน้าผมจะมาเฉลยคำตอบเรื่องของการเขียนเว็บไซท์ โดยใช้โปรแกรม Java script, Active X หรือ การใช้ โปรแกรม cookies เพื่อเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการรวมถึงการนำบทความผู้อื่นมาติดไว้ที่ Bulletin Board เช่นกรณี pantip.com ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ อย่าลืมติดตามนะครับ--จบ--
-ณท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก