ททท.มีแนวคิดให้โรงเรียนจัดทัศนศึกษานอกสถานที่สร้างความรู้จริงแก่เด็ก

พฤหัส ๑๐ สิงหาคม ๒๐๐๐ ๑๔:๓๓
กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--ททท.
ผู้ว่าฯ ททท. แนะโรงเรียนใช้สถานที่จริงของประเทศในการสอน วิชาประวัติศาสตร์และความรู้ทั่วไปแก่เด็ก เพื่อปลูกฝังให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ อันจะนำไปสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในอนาคต ขณะเดียวกันจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรักชาติไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใดก็ตาม เหมือนกับประเทศญี่ปุ่นที่เป็นตัวอย่างได้อย่างดี
นายภราเดช พยัฆวิเชียร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีแนวคิดอยากให้โรงเรียนแต่ละแห่งในประเทศไทยมีการจัดทัศนศึกษานอกโรงเรียนแทนการสอนตามตำรา และให้เด็กศึกษาจากรูปถ่าย เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความรู้จริงให้กับเด็กแล้วยังก่อให้เกิดการรัก และหวงแหนในสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้ อันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการปลูกฝังเรื่องการท่องเที่ยวตั้งแต่เด็ก เช่น อนุบาลสอนให้วาดภาพ ไม่ได้มุ่งหวังให้เด็กเอาทักษะ หรือความสวยงาม แต่ต้องการให้เด็กรู้จักและสัมผัสกับธรรมชาติรอบตัว ประถมรู้จักรอบโรงเรียน มัธยมรู้จักรอบตำบล รอบอำเภอ และเป็นมหาวิทยาลัยรู้จักรอบประเทศ ดังนั้น การไปต่างประเทศจึงไม่หลุดความเป็นญี่ปุ่น ทั้งการรับประทานอาหารหรือบุคลิก เพราะเข้าใจว่าสิ่งที่เขาวิวัฒนาการเป็นอย่างไร ขณะที่ คนไทยบางคนข้าวปลูกอย่างไรยังไม่ทราบ และบางคนพอเรียนจบเมืองไทยไปเรียนต่อต่างประเทศเพียง 6 เดือนกลายเป็นฝรั่งดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ เมืองไทยไม่ดีไปหมด เพราะการไม่รู้จักตัวเอง ไม่ได้รับการปลูกฝังอย่างลึกซึ้ง
“เด็กไทยเวลาเรียนหนังสือจะเป็นลักษณะท่องตามตำรายิ่งเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยสุโขทัยหน้าตาทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หน้าตาแบบนั้นแบบนี้ก็ดูรูปไป แต่ถ้าไปเห็นจะเข้าใจมากขึ้น เสร็จแล้วไปดู สภาพแวดล้อมก็จะเข้าใจว่าเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะสภาพแวดล้อมเป็นอย่างนี้รู้กว้างขึ้น จะทำให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ ต่างประเทศ ถ้าเราไปในเชิงที่เรียนรู้ไปได้เรื่อย ๆ ก็จะเป็นสิ่งที่ดี” ผู้ว่าฯ ททท. กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ ททท. กล่าวยอมรับว่า ปัญหาขณะนี้คือความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้โรงเรียนไม่กล้ารับผิดชอบเรื่องการเดินทาง แต่หากนำผู้ปกครองมีส่วนร่วมเดินทาง ไปด้วยและมีมาตรฐานระหว่างองค์กร เช่น บริษัทขนส่ง องค์การขนส่งมวลชนฯ คัดเลือกพนักงานดีเด่นมาจัดรถสำหรับโรงเรียนให้ก็จะเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ ททท.กล่าวด้วยว่า สิ่งที่อยากเห็นอีกประการ คือ การแลกเปลี่ยนนักเรียนแต่ละโรงเรียนในระดับภาค ในช่วงปิดเทอมของทุกปี เช่น เด็กนักเรียนครึ่งหนึ่ง จากโรงเรียนในจังหวัดอุทัยธานี ไปเยี่ยมโรงเรียนสิงห์บุรี และเด็กที่เหลือครึ่งหนึ่งของสิงห์บุรีก็ทำกิจกรรม พาเที่ยวในจังหวัดที่ตนเองเป็นเจ้าบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากทำเช่นนี้ได้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างภาค มากขึ้น--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ