อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากปล่อยทิ้งไว้อาจถึงแก่ชีวิต

จันทร์ ๒๖ มีนาคม ๒๐๐๑ ๑๐:๓๑
กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--เบรคธรู พีอาร์
แพทย์เตือนคนไทยเอาใจใส่หัวใจให้มากขึ้น ชี้อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ที่อาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน แนะให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อแก้ไขแต่เนิ่นๆ เผยวิทยาการสมัยใหม่รักษาให้หายขาดโดยใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูง โรงพยาบาลในเมืองไทยก็รักษาได้
รศ. นายแพทย์เกียรติชัย ภูริปัญโญ แพทย์ที่ปรึกษา และรองผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพ กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจหรือไม่" ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะหรือโรคที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ อาจช้าหรือเร็วกว่าคนปกติซึ่งมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที มีจังหวะสม่ำเสมอ และมักไม่รู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ ยกเว้นเวลานอนตะแคง บางครั้งอาจรู้สึกว่าหัวใจเต้นตุบๆ ในคนที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการ น้อยรายที่รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นสะดุด หรือวูบหายไป อาจรู้สึกใจสั่น หรือมีอะไรมาตอดที่บริเวณหัวใจ หรือหัวใจเต้นแรงกว่าปกติ บางครั้งเต้นเร็ว จนทำให้มีการสั่นบริเวณหน้าอก ถ้าหัวใจเต้นเร็วหรือช้ามากๆ อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย หรือเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน
รศ. นายแพทย์เกียรติชัยกล่าวว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ, หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ และหัวใจเต้นช้า-เร็วผิดจังหวะ สาเหตุเกิดจากมีจุดหรือบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็ก จึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักจะมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ และพบร่วมกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
สำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ในกรณีมีอาการวูบ เป็นลม หมดสติ หรือมีอาการใจสั่นอย่างรุนแรง หรือเหนื่อยมาก ขณะที่มีอาการควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ Electrocardiogram ซึ่งจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการขณะตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะตรวจอาจไม่พบความผิดปกติทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในกรณีเช่นนี้แพทย์อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า Holter Monitoring ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าในเครื่องเล่นเทปหรือแผ่นดิสก์ ขนาดเล็กเท่ากับหรือเล็กกว่าเครื่องเล่นเทปหรือ CD แบบพกพา ผู้ป่วยสามารถพกพาเครื่องดังกล่าว ในการดำเนินชีวิตตามปกติ เครื่องจะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อนำไปวิเคราะห์จะสามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้แน่นอนขึ้น
"ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหลายๆ วันเป็นครั้ง การตรวจคลื่นไฟฟ้าแบบพกพาติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง อาจไม่พบความผิดปกติ เนื่องจากใน 24 ชั่วโมงที่ตรวจนั้นหัวใจเต้นปกติ ในกรณีเช่นนี้อาจใช้การตรวจที่เรียกว่า Transtelephonic Monitoring โดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพา ให้ผู้ป่วยวางไว้บริเวณหน้าอกและกดปุ่มเพื่อให้เครื่องบันทึกเฉพาะเมื่อมีอาการ เครื่องมือ ดังกล่าวจะสามารถบันทึกข้อมูลได้นาน 4-5 นาทีติดต่อกันและสามารถส่งผลผ่านโทรศัพท์ไปเพื่อบันทึกเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ จึงเรียกว่า Transtelephonic" รศ. นายแพทย์เกียรติชัย กล่าว
สำหรับการรักษา หากผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่ให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความเครียด ยาบางชนิด ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น และถ้ามีอาการพอสมควร อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยา
ในกรณีหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะเกิดจากทางลัดวงจรไฟฟ้า ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 95 โดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงผ่านสายสวนหัวใจ การรักษาดังกล่าวใช้วิธีการเจาะหลอดเลือดบริเวณต้นขา สอดสายสวนหัวใจเข้าไปหาตำแหน่งได้แล้วก็ผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่สูงเท่าคลื่นวิทยุผ่านสายสวนหัวใจไปยังตำแหน่งดังกล่าว กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ นั้นจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานความร้อนและทำให้อุณภูมิที่ปลายสายสวนหัวใจเพิ่มขึ้นจาก 37 เป็น 55 (เท่ากับน้ำอุ่นๆ) ทำให้ทางลัดวงจรไฟฟ้าดังกล่าวถูกทำลายไป ปัจจุบัน การรักษาวิธีนี้สามารถทำได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในประเทศไทย ผู้ป่วยร้อยละ 90-95 สามารถหายขาดได้โดยไม่ต้องรับประทานยาอีกเลย และมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาต่ำเพียงร้อยละ 1-2 ในขณะรักษาผู้ป่วยมักไม่เจ็บปวด เนื่องจากให้ยานอนหลับ โดยพักในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น
เสนอข่าวในนามโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยเบรคธรู พีอาร์
รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
คุณศิริพร ศรีสันต์ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร. 310-3000 ต่อ 1196
คุณสิทธิกร เสงี่ยมโปร่ง เบรคธรู พีอาร์ โทร. 719-6446-8--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ