มูลนิธิไทยรัฐ ประกวดวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2543 สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านหนังสือพิมพ์

จันทร์ ๒๘ สิงหาคม ๒๐๐๐ ๑๐:๑๔
กรุงเทพฯ--28 ส.ค.--มูลนิธิไทยรัฐ
นายมานิจ สุขสมจิตร กรรมการบริหารมูลนิธิไทยรัฐ และประธานกรรมการพิจารณาให้รางวัล “ กำพล วัชรพล” แถลงว่ามูลนิธิไทยรัฐ ได้กำหนดให้รางวัลในการประกวดวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2543 โดยเฉพาะทางด้านวารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตโดยทั่วไป และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายกำพล วัชรพล อดีตผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยจะให้รางวัลสำหรับวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยมระดับละ 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท )
การประกวดจะมีทุกปี สำหรับปีนี้ วิทยานิพนธ์ที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2542 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2543 โดยให้ส่งผลงานวิทยานิพนธ์เข้าประกวด ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2543 สอบถามรายละเอียดและขอใบสมัครได้ที่สำนักงานมูลนิธิไทยรัฐ เลขที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 272-1030 ต่อ 1241 — 1243 ได้ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ