กรมทรัพย์สินทางปัญญาชี้แจงกรณีสิทธิบัตรกวาวเครือ

พุธ ๒๔ พฤษภาคม ๒๐๐๐ ๑๐:๐๓
กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ตามที่สื่อมวลชนได้เสนอข่าวกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรกวาวเครือ ให้แก่ผู้ขอรายหนึ่งจนเป็นเหตุให้เกิดการร้องเรียนกันว่าจะเป็นการห้ามสิทธิบุคคลอื่นในการใช้กวาวเครือในตำรายา นั้น
นายพิพรรธน์ อินทรศัพท์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้แถลงข่าวในเรื่องนี้ว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรกวาวเครือจริงตามขั้นตอนและระดับชั้น การพิจารณาตรวจสอบทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แต่เป็นการขอจดทะเบียนในสูตรตำรับขององค์ประกอบ สมุนไพรกวาวเครือ ที่จะต้องมีองค์ประกอบอันได้แก่ กวาวเครือ น้ำนม สารอาหารรสหวาน ส่วนประกอบจาก พืชสมุนไพร และส่วนประกอบเพื่อแต่งสีและรสครบทั้ง 5 อย่าง โดยได้ระบุสัดส่วนขององค์ประกอบทั้งหมด ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งหากว่ามีผู้ขอจดทะเบียนสิทธิบัตรรายอื่นหรือมีบุคคลอื่นผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้กวาวเครือ ที่มีองค์ประกอบ หรือมีสัดส่วนแตกต่างไปจากนี้ก็ถือว่าไม่น่าจะเป็นการละเมิดสิทธิบัตรรายนี้ หลักเกณฑ์ การพิจารณาของผู้ตรวจสอบเป็นหลักปฏิบัติสากลและเป็นมาตรฐาน กล่าวคือ การประดิษฐ์นี้เป็นการใช้ พื้นฐานความรู้ที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาต่อยอดความรู้ขึ้นไปให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็ยังมีคำขอสิทธิบัตรที่ยังรอการพิจารณา รับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่มีกวาวเครือเป็นองค์ประกอบอีกหลายคำขอ ซึ่งหากมีสูตรองค์ประกอบหรือแม้แต่สัดส่วน ที่แตกต่างจากสิทธิบัตรข้างต้นแล้ว และสามารถนำไปใช้โดยมีคุณสมบัติที่ดีกว่าเดิม กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็จะ พิจารณารับจดทะเบียนให้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จะพิจารณารับจดทะเบียนในสิ่งประดิษฐ์ที่ใหม่ และมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ถือเป็นหลักมาตรฐานสากล
นายพิพรรธน์ อินทรศัพท์ ยังได้กล่าวชี้แจงด้วยว่า ที่มีการกล่าวว่ากวาวเครือเป็นสมุนไพร ที่มีในตำราของเก่าก็จริง แต่หากว่ามีผู้ค้นคิดสูตรส่วนผสมหรือสัดส่วนที่แตกต่างจากตำราดังกล่าวมากพอ ก็น่าจะรับจดสิทธิบัตรได้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2535 ก็ได้อนุญาต ให้มีการจดสิทธิบัตรยาได้อยู่แล้ว นอกจากนั้นเจตนารมณ์ของกฎหมายสิทธิบัตรมุ่งส่งเสริมให้เกิด การประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีในการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งคนไทยสามารถจะนำหลักการดังกล่าวนี้มาใช้ในการพัฒนาต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ก่อนแล้วให้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ต่อ ๆ ไป
สำหรับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการออกฤทธิ์ของยาต่าง ๆ นั้น นายพิพรรธน์อินทรศัพท์ ได้กล่าวเสริมว่า ก่อนที่จะมีการนำตำรับยาใหม่ ๆ ออกใช้ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับสิทธิบัตรหรือไม่ได้รับก็ตาม ผู้เป็นเจ้าของสูตรยาต่าง ๆ จะต้องนำไปขึ้นทะเบียนยาที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ยาก่อนออกจำหน่ายซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะเป็นผู้ดูแล เรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO