ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหอศิลป์จามจุรีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 ธันวาคมที่จะถึงนี้

ศุกร์ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๐๐๑ ๐๙:๓๑
กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--ม.จุฬาฯ
อาจารย์จรรมนง แสงวิเชียร หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีแนวคิดและดำเนินการในเรื่องการส่งเสริมศิลปะมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยได้มอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการ ขณะนี้ได้กำหนดเปิดหอศิลป์จามจุรีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 5 ธันวาคมนี้ เวลา 17.00 น. ที่อาคารจามจุรี 8
การจัดตั้งหอศิลป์ของมหาวิทยาลัยนี้ เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงและเผยแพร่ผลงานทางศิลปะสู่สาธารณชน ตลอดจนเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวบรวมไว้กว่า 300 ภาพ
สำหรับกิจกรรมแรกที่จัดขึ้นเนื่องในพิธีเปิดหอศิลป์จามจุรีนี้ คือ นิทรรศการจุฬาฯ สรรศิลป์ ครั้งที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยการจัดแสดงภาพเขียนของศิลปินรุ่นอาวุโส จำนวน 50 ภาพ และมหาวิทยาลัยได้กำหนดพิธีเปิดหอศิลป์แห่งจุฬาฯ ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์อัครศิลปินของประเทศ--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ