ดิจิตอลโฟนทุ่ม 6 พันล้านผุดเครือข่าย จับลูกค้าในเมือง

ศุกร์ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๐๐ ๑๕:๔๙
กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--ดิจิตอลโฟน
ดีพีซี “ดิจิตอล 1800” ลงทุน 6,200 ล้านบาท ขยายเครือข่ายในกรุงเทพฯ ตะวันออก ตะวันตก กลางปี 2544 ยึดกลุ่มลูกค้าเฉพาะในเมือง รองรับได้ 7 แสนเลขหมาย วางเป้าอีก 2 ปี เลิกโรมมิ่งเครือข่ายแทค
นายวิกรม ศรีประทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล จีเอสเอ็ม 1800 เปิดเผยว่า บริษัทตั้งงบประมาณ 6,200 ล้านบาท สำหรับขยายเครือ ข่ายสถานีรับส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือจำนวน 1,180 สถานีฐานให้แล้ว เส็จประมาณเดือนกรกฎาคม 2544 เพื่อขยายพื้นที่บริการให้ครอบคลุมพื้นที่ ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของประเทศ หลังจากติดตั้งสถานีฐานครบแล้วจะทำให้เครือข่ายของบริษัทสามารถรองรับ เลขหมายได้ประมาณ 7 แสนเลขหมาย จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 2 แสนเลขหมาย โดยบริษัทคาดว่าประมาณกลางปีหน้า บริษัทจะมีผู้ใช้ บริการประมาณ 5 แสนราย
นายวิกรมกล่าวว่า บริษัทได้ว่าจ้างผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย โทรศัพท์มือถือ 4 รายในการขยายเครือข่าย ประกอบด้วย บริษัท โนเกีย รับผิดชอบงานชุมสายและสถานีฐานในเขตกรุงเทพฯ 3 ชุมสาย 640 สถานี มูลค่า 85 ล้านเหรียญสหรัฐ และงานสำรองอีก 100 สถานี มูลค่า 12 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดตั้งเมื่อมีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น บริษัท หัวเหว่ย รับผิดชอบงานติดตั้งอุปกรณ์ชุมสายช่วงแรกก่อนจำนวน 40 สถานี มูลค่าประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากนั้นติดตั้งเพิ่มอีก 440 สถานี รับผิดชอบติดตั้งพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ส่วนบริษัท มิตซุย (เอ็นอีซี) และบริษัท ซีเมนส์ รับผิดชอบ ติดตั้งอุปกรณ์ในการเชื่อมโยงเครือข่าย มีมูลค่างานประมาณ 20 ล้านเหรียญ สหรัฐ ซึ่งการขายเครือข่ายของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด “ซิตี้โฟน” หรือโทรศัพท์สำหรับคนเมือง ในอัตราค่าบริการรายเดือน 300 บาท สำหรับการใช้งานนอกพื้นที่บริการของดีพีซีก็จะใช้การโรมมิ่ง หรือเชื่อมโยง โครงข่ายกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือแทค และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส แทน ซึ่งการโรมมิ่งของเอไอ เอสอยู่ระหว่างการอนุมัติจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ในอัตราค่า โรมมิ่ง 5 บาท และ 10 บาท ซึ่งก็แล้วแต่การเลือกแพ็กเกจการใช้งานของ ลูกค้า อย่างไรก็ตาม ประมาณครึ่งปีหลังของปี 2544 บริษัทก็มีแผนลงทุน ขยายเครือข่ายตามจังหวัดใหญ่ คาดว่าภายใน 2 ปี บริษัทจะไม่จำเป็น ต้องโรมมิ่งกับบริษัทแทคอีก
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการลงทุนขยายเครือข่าย นำมาจาก การเพิ่มทุนบริษัทจาก 3,000 ล้านบาท เป็น 10,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่ง และเงินกู้ 117 ล้านเหรียญสหรัฐอีกส่วนหนึ่ง โดยผู้ถือหุ้นได้ชำระหุ้นเพิ่มทุน มาแล้วประมาณ 9,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัท เทเลคอมมาเลเซีย ถือหุ้น 49% บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่นส์ 48% ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ได้มีการเพิ่ม ทุน โดยแทคถือหุ้นประมาณ 2% ที่เหลือเป็น กสท.และพนักงาน กสท.ถือหุ้น ส่วนแผนการตลาดของดีพีซีได้วางเป้าหมายบริษัทให้เป็นเพียง เน็ตเวิร์คโพวายเดอร์ หรือผู้ให้บริการเท่านั้น โดยมุ่งกลุ่มลูกค้าทั่วไปและ บริการด้วยเสียงเป็นหลัก ส่วนการให้บริการเทคโนโลยีแวปและบัตรแบบเติม เงิน หรือพรีเพด คงไม่เปิดให้บริการ แต่จะมีรูปแบบที่เหมาะสมมาให้กับ ลูกค้าแทน ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีรายได้ต่อเลขหมายเดือนละประมาณ 1,300 บาท--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ