นักศึกษาใหม่ล้น "สวนดุสิต" ถ่ายทอดสด "ปฐมนิเทศ"

อังคาร ๐๕ มิถุนายน ๒๐๐๑ ๑๐:๑๔
กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
ผศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีสถาบันราชภัฎสวนดุสิต เปิดเผยว่า ในปีการศึกษา 2544 นี้ มีผู้แห่สมัครเรียนภาคปกติในสถาบันราชภัฎสวนดุสิตกว่า 20,000 คน แต่สถาบันฯรับได้เพียง 5,000 คนทำให้นักศึกษาจำนวนมากต้องพลาดหวังต่างก็แห่กันยื่นคำร้องขอเข้าเรียน โดยไม่ต้องการเรียนภาคสมทบ เพราะเรียนกลางคืนลำบากในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายแพง และอยากเรียนในระบบ เพื่อผ่อนภาระของผู้ปกครอง สถาบันราชภัฎสวนดุสิต ซึ่งมีเทคโนโลยีระดับสูงในการจัดการเรียนการสอน จึงได้เพิ่มการรับนักศึกษาใหม่ภาคปกติรวมทั้งสิ้นกว่า 15,000 คน
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะการเรียนการสอน สถาบันฯ จึงได้จัดปฐมนิเทศใน "ภาพรวม" โดยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ช่วง 9 จากหอประชุมใหญ่ สถาบันราชภัฎสวนดุสิตในวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เวลา 13.00-14.00 น. และมีการตอบคำถามสดแก่นักศึกษาและผู้ปกครองที่รับชมรายการ จำนวน 20 คู่สาย ซึ่งมีหัวข้อการปฐมนิเทศจะกล่าวถึงการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ระบบการเรียน สวัสดิการ ทุนการศึกษา โอกาสในการทำงาน การศึกษาต่อ รวมทั้งความมั่นใจของผู้ปกครองที่บุตรหลานเข้าศึกษาใน "สวนดุสิต"--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ