"บัตรคลินิกไอเสีย"และครั้งแรกของการรวมตัวก่อตั้ง "ชมรมคลินิกไอเสียเพื่อคนรักสิ่งแวดล้อม"

พฤหัส ๑๒ ตุลาคม ๒๐๐๐ ๑๖:๒๑
กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กรมควบคุมมลพิษ
นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้แถลงข่าวการรณรงค์และประชาสัมพันธ์มลพิษทางอากาศและเสียง และชมรมคลินิกไอเสียเพื่อ คนรักสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันแม้ว่าปัญหามลพิษทางอากาศจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐและกรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมตรวจจับยานพาหนะที่มี มลพิษเกินมาตรฐาน การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพรถยนต์ใหม่ การควบคุมกิจกรรมการต่อสร้างและ ขนส่งที่เป็นแหล่งกำเนิดของฝุ่น การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง การตรวจสภาพยานพาพนะประจำปี การพิจารณาสนับสนุนการใช้รถที่มีมลพิษต่ำ เป็นต้น แต่ปัจจัยสำคัญในการควบคุมป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง อย่างมีประสิทธิและประสิทธิผลคือ"การที่ส่วนร่วมจากประชาชนผู้ก่อมลพิษ กรมควบคุมมลพิษ เล็งเห็นความสำคัญถึงบทบาทของอู่ปรับแต่ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ที่จะมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหามลพิษจากยานพาหนะ จึงได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมช่างเทคนิครประจำอู่ปรับแต่งและซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหามลพิษจากไอเสีย การตรวจวัดมลพิษอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ที่อู่ปรับแต่งเครื่องยนต์ได้ส่งช่างเทคนิคเข้ารับการอบรมและได้รับป้าย "คลินิกไอเสีย" ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบันมีช่างเทคนิคผ่านการอบรมทั่วประเทศ รวม 1,339 คน และอู่ที่ได้รับป้ายคลินิกไอเสีย รวม 729 แห่งและในปี 2541 ได้จัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพอู่คลินิกไอเสีย โดยกำหนดการเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการตรวจประเมินมีอู่ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับป้ายคลินิกไอเสียมาตรฐานดีเด่น จำนวน 14 แห่ง และป้ายคลินิกไอเสียมาตรฐาน จำนวน 11 แห่ง
ต่อมาในช่วงต้นปี 2543 นี้ คลินิกไอเสียมาตรฐานและมาตรฐานดีเด่น ได้ร่วมกันก่อตั้ง ชมรมคลินิกไอเสียเพื่อคนรักสิ่งแวดล้อม ขึ้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของภาคเอกชนที่เป็นผู้ปฏิบัติการ ให้ความสนใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมฯ ให้สำเร็จลุล่วงและเป็นรูปธรรมต่อไป ในโอกาสนี้ ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมคลินิกไอเสียฯ นั้น กรมฯ ได้ดำเนินการประสานการสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างขีดความสามารถของการให้บริการในเรื่องการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดค่ามลพิษ การเพิ่มพูนความรู้ และข้อมูลทางวิชาการเป็นต้น รวมทั้งการรณรงค์และประชาสัมพันธ์มลพิษทางอากาศและเสียง ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมอีกทางหนึ่งผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เห็นได้ชัดเจน คือผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท และกลุ่มเจ้าของและช่างเทคนิคประจำอู่ปรับแต่งและซ่อมเครื่องยนต์ เพื่อเสริมสร้างกลไกการป้องกันปัญหามลพิษที่แหล่งกำเนิด
ชมรมคลินิกไอเสียเพื่อคนรักสิ่งแวดล้อม โดยนายมานิตย์ สุวรรณยืนยง จากอู่บักกี่ ประธานชมรมฯ และคุณสันติภาพ นิลสวัสดิ์ จากบริษัท ส. เกษมคาร์เซ็นเตอร์ จำกัด รองประธานชมรมฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งชมรมฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานการดำเนินงานด้านการรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อลดและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมให้สถานบริการที่ได้รับป้ายคลินิกไอเสีย และสถานบริการปรับแต่งเครื่องยนต์ทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจ และตะหนักในเรื่องการแก้ไขและป้องกันมลพิษทางอากาศและเสียงที่ต้นเหตุ และร่วมรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถป้องกันการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงได้ด้วยตนเอง โดยปัจจุบันมีสมาชิกชมรมคลินิกไอเสียฯ เฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวม 56 แห่ง
กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไปของชมรมฯ ได้แก่ โครงการปรับแต่งลดมลพิษเพื่อการประหยัดน้ำมันในหน่วยราชการโครงการให้ข้อมูลข่าวสารสู่ผู้ใช้บริการ สำหรับกิจกรรมที่เริ่มดำเนินการแล้ว ภายใต้การสนับสนุนของกรมควบคุมมลพิษ คือการจัดทำบัตรคลินิกไอเสีย จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจการให้บริการของสถานบริการคลินิกไอเสีย ที่ให้บริการซ่อมบำรุงและปรับแต่งเครื่องยนต์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและเสียงแก่สิ่งแวดล้อม โดยมอบสิทธิประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือบัตร ใช้เป็นส่วนลดค่าบริการและค่าอะไหล่ ตั้งแต่ 10-30% รวมทั้งบริการตรวจวัดค่ามลพิษจากไอเสียรถยนต์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ครอบคลุมรถยนต์ทั้งเครื่องยนต์เบนซิน ดีเซล และรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครบัตร และคุ้มค่ากับค่าสมัครเพียง 50 บาท ขณะนี้มีคลินิกไอเสียเข้าร่วมให้สิทธิประโยชน์แก่บัตรครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และกำลังจะขยายจำนวนคลินิกไอเสียเพิ่มขึ้น และเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ แก่สมาชิกผู้ถือบัตร
บัตรคลินิกไอเสียถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ทุกประเภท สามารถเลือกใช้บริการกับสถานบริการคลินิกไอเสียที่มีช่างเทคนิคผ่านการอบรมและเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งผ่านการประเมินเกณฑ์มาตรฐานจากกรมควบคุมมลพิษแล้ว ในการที่จะปรับแต่งเครื่องยนต์ของท่านให้อยู่ในสภาพดี ยืออายุการใช้งาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง รวมถึงการประหยัดน้ำมัน หากเจ้าของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ท่านใดสนใจสามารถติดต่อได้กับคลินิกไอเสียทั้ง 36 แห่ง โดยสังเกตจากป้ายมาตรฐาน หรือสถานบริการที่ติดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หรือที่กรมควบคุมมลพิษ--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๐๗ ทีทีบี ครองธนาคารไทยคะแนนสูงสุดด้าน ESG ต่อเนื่องปีที่ 6 ตอกย้ำความสำเร็จบนเส้นทางสู่ การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
๑๓:๔๐ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่องหนุน กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย
๑๓:๒๕ หมอนรองกระดูกเสื่อม สาเหตุปวดร้าวลงขา
๑๒:๕๖ กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ มองเศรษฐกิจโลก 2025 ฟื้นตัว แม้มีปัจจัยเสี่ยง ชี้ตราสารหนี้และหุ้นยังคุ้มค่าท่ามกลางความผันผวน
๑๒:๒๗ Thailand Privilege Card จับมือ ASAVA ปรับโฉมยูนิฟอร์มด้านบริการ ภายใต้คอนเซปต์ GRACE สะท้อนอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัยสู่สากล
๑๑:๐๔ เครือสหพัฒน์ จัดสัมมนาเสริมบทบาทคณะกรรมการ ESG เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
๑๑:๒๖ กสิกรไทยส่งบริการมัดใจตลาดเวียดนาม กวาด 2 รางวัลใหญ่ ระดับนานาชาติ สุดยอดบัตรเครดิตใหม่และสุดยอดธนาคารแห่งใหม่เพื่อเอสเอ็มอีออนไลน์
๑๑:๕๙ 'พฤกษา' ตอกย้ำผู้นำด้านอสังหาฯ ผนึกความเชี่ยวชาญด้านการอยู่อาศัย สู่การสร้างชุมชนสุขภาพดี มอบสิทธิพิเศษ และโครงการดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี
๑๑:๒๓ TFG ติดปีก! ปี 67 กำไรพุ่งแตะ 3,143.81 ลบ. เพิ่มขึ้น 486.93%
๑๑:๑๖ SO ตอบแทนผู้ถือหุ้นโดยจ่ายปันผล 85% ของกำไร หรือ 0.18 บาท/หุ้น กวาดกำไรปี 67 กว่า 153 ล้านบาท