ผู้ว่าฯ กทม. มีแนวคิดจะจดทะเบียนมูลนิธิเพื่อรับบริจาคงบฯสนับสนุนโครงการทำหมันสุนัขจรจัดและปล่อยกลับสถานที่เดิม

จันทร์ ๒๒ มกราคม ๒๐๐๑ ๑๑:๒๑
กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กทม.
ที่วัดเสมียนนารี เขตจตุจักร นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นพ.ปิยเมธิ ยอดเณร รองปลัดกรุงเทพมหานคร นพ.กฤษณ์ หิรัญรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ร่วมแถลงข่าว โครงการทำหมันสุนัขจรจัดและปล่อยกลับที่เดิม พร้อมชมการสาธิตขั้นตอนการทำหมันสุนัขและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในอดีตประชากรสุนัขจรจัดในกทม.มีจำนวนมาก และเป็นปัญหาที่แก้ไขค่อนข้างยาก ซึ่งวิธีการควบคุมประชากรสุนัขที่ผ่านมา อาจเป็นวิธีการที่บั่นทอนความรู้สึกต่อผู้มีจิตใจเมตตาสัตว์ ดังนั้นกทม. จึงมีนโยบายในการควบคุมสุนัขจรจัด โดยการผ่าตัดทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แล้วสวมปลอกคอสีเขียว ที่มีข้อความเป็นตัวหนังสือสีเขียวว่า “สุนัขจรจัดสังกัดกทม.” ก่อนปล่อยกลับสถานที่เดิมเพื่อให้ประชาชนทราบว่าสุนัขตัวนั้นปลอดภัยต่อโรคพิษสุนัขบ้า และไม่สามารถแพร่พันธุ์เพิ่มได้อีก ซึ่งอาจจจะเห็นผลช้าในการลดจำนวนสุนัขจรจัด แต่สักระยะหนึ่งจะเห็นผลในทางที่ดีขึ้น
สำหรับโครงการดังกล่าวนี้จะดำเนินการตลอดทั้งปี โดยใช้สถานที่ฝ่ายควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าและวัดเป็นศูนย์ดำเนินงาน ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือจากท่านเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ เอื้อเฟื้อสถานที่ เพื่อดำเนินการผ่าตัดทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และขังสุนัขในระหว่างพักฟื้น เนื่องจากสุนัขจะอาศัยอยู่ในบริเวณวัดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก กรุงเทพมหานครจึงได้ทำกรงเหล็กสำหรับกักขังสุนัขพักฟื้น ที่สามารถถอดประกอบเป็นชิ้น ๆ ได้ พร้อมหลังคา และนำเคลื่อนย้ายไปยังวัดต่าง ๆ อย่างสะดวก กรงเหล็กแต่ละชิ้นมีความสูง 1.80 เมตร กว้าง 1.20 เมตร ความสูงรวมหลังคา 2.50 เมื่อมาประกอบกันเป็นกรงแล้วจะมีพื้นที่ 17 ตร.ม. ใช้กักขังสุนัขได้ 25 ตัว ตลอดโครงการคาดว่าจะใช้กรงประมาณ 20 กรง ค่าจัดทำกรง ๆ ละ 20,000 บาท โดยคาดว่า โครงการทำหมันสุนัขจรจัดและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จะดำเนินการได้ปีละ 100,000 ตัว ในส่วนของงบประมาณดำเนินการ นอกจากที่ทางกทม.สนับสนุนแล้ว ตนเห็นว่าถ้าจะให้โครงการฯดำเนินงานไปได้อย่างรวดเร็วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีงบฯสนับสนุนจากภายนอก จึงอยากจะจดทะเบียนก่อตั้งเป็นมูลนิธิให้ถูกต้อง โดยตนจะเป็นประธานฯเองด้วย ทั้งนี้เพื่อขอรับบริจาคจากผู้มีจิตเมตตา ซึ่งประชาชนผู้สนใจจะบริจาคสามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ตน โทรศัพท์หมายเลข 621-0830
รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สำนักอนามัยได้ดำเนินการโครงการทำหมันสุนัขจรจัดแล้วปล่อยกลับสถานที่เดิมตั้งแต่รับทราบนโยบาย โดยดำเนินการตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย.43 — 30 ธ.ค.43 ทำหมันสุนัขจรจัดไปได้จำนวน 2,623 ตัว พร้อมใส่ปลอกคอแล้วทำเครื่องหมาย ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขจรจัด จำนวน 12,596 ตัว ฉีดยาคุมกำเนินสุนัขจรจัด จำนวน 905 ตัว สำหรับกำหนดวันเวลาและสถานที่ที่หน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่จะเข้าไปดำเนินการในปีนี้ ประชาชนสามารถสอบถามได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 247-2719 , 245-3311 , 247-2719 ในวันเวลาราชการ--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ