มาตรการในการควบคุมมลพิษทางน้ำจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

พฤหัส ๒๘ มิถุนายน ๒๐๐๑ ๑๕:๕๔
กรุงเทพฯ--28 มิ.ย.--กรมควบคุมมลพิษ
นางนิศากร โฆษิตรัตน์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ แถลงข่าวถึงมาตรการในการควบคุมมลพิษทางน้ำจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงว่า จำนวนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงปัจจุบันที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีประมาณ 15,000 แห่ง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 35% ภาคกลาง 30% ภาคเหนือ 16% ภาคใต้ 10% และภาคตะวันออก 8% การอนุญาตกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีการควบคุมความปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 และประกาศกรมโยธาธิการ เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2538 และวันที่ 10 มิถุนายน 2542 โดยมีข้อบังคับให้สถานีบริการฯ ต้องจัดให้มีท่อหรือรางระบายน้ำโดยรอบและต้องมีบ่อกักไขมันมีความจุไม่น้อยกว่า 1,500 ลิตร ต่อพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร ก่อนระบายลงสู่ท่อหรือรางระบายน้ำสาธารณะและต้องมีถังเก็บ น้ำมันเครื่องใช้แล้วความจุ 4,000 ลิตร ทั้งนี้ เงื่อนไขการอนุญาตยังมิได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการระบาย น้ำทิ้งรวมอยู่ด้วย
จากการติดตามตรวจสอบและสำรวจข้อมูลน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมควบคุม มลพิษ พบว่า ส่วนใหญ่ยังมีการปนเปื้อนของน้ำมันที่ไหลมากับน้ำทิ้งค่อนข้างสูง และมีสาเหตุจากการละเลยในเรื่องการดูแลความสะอาดและป้องกันไม่ให้น้ำมันปนเปื้อนออกสู่ภายนอก และขนาดของบ่อดักไขมันตามข้อกำหนดเดิมไม่สามารถลดน้ำมันที่ไหลปนออกมาได้ ทำให้เกิดสภาวะพื้นที่ใกล้เคียงสถานีบริการน้ำมันและแหล่งน้ำเสื่อมโทรมได้ โดยมีน้ำมันลอยน้ำและแผ่กระจายทั่วผิวน้ำ เป็นตัวกักแสงอาทิตย์และออกซิเจนจากอากาศไม่ให้ละลายลงสู่แหล่งน้ำทำให้แหล่งน้ำขาดออกซิเจน และน้ำมันเป็นสารประกอบที่สลายตัวโดยธรรมชาติได้ยาก จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษและสถาบันปิโตรเลียมที่ได้ศึกษาสำรวจมา พบว่าน้ำทิ้งมีค่าสารแขวนลอย ซีโอดี และน้ำมันและไขมันค่อนข้างสูง เพื่อเป็นการลดปริมาณการปนเปื้อนน้ำมันและไขมันจากกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต่อสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษจึงกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 และอยู่ในระหว่างการขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก่อนประกาศให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ค่ามาตรฐานมี ดังนี้ ความเป็นกรดและด่าง (pH) เท่ากับ 5.5-9.0 ซีโอดี (COD) ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids) ไม่เกิน 60 มิลลิกรัม/ลิตร และ น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease) ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/ลิตร
ในการบังคับใช้มาตรฐาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่หลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเก่า ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้มีผลบังคับใช้ภายใน 2 ปี และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเก่า ที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ให้มีผลบังคับใช้ภายใน 5 ปี หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO