สำนักรักษาความสะอาดสำรวจความคิดเห็นการจัดทำแผนแม่บทจัดเก็บมูลฝอยของกทม.

ศุกร์ ๑๒ มกราคม ๒๐๐๑ ๐๙:๕๑
กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--กทม.
ที่สำนักรักษาความสะอาด ศาลาว่าการ กทม.2 ดินแดง เมื่อวานนี้ (11 ม.ค.44) เวลา 10.00 น. นายพิชัย ไชยพจน์พานิช ผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด กทม.เปิดเผยถึงผลสรุปการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในโครงการจัดทำแผนแม่บทการจัดเก็บมูลฝอยของกรุงเทพมหานครว่า สำนักรักษาความสะอาดได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,000 คนจากเขตต่างๆทั้ง 50 เขต ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นชาย 60.9 % เป็นหญิง 39.1 % ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-40 ปี การศึกษาในระดับประถม อาชีพค้าขาย มีจำนวนสมาชิก ในครอบครัว 1-5 คน และมีรายได้ระหว่าง 10,000-20,000 บาท จากการสัมภาษณ์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจกับการให้บริการเก็บขนขยะของกรุงเทพมหานครคิดเป็น 78.6 % ไม่พึงพอใจ 20.6 % และไม่ออกความเห็น 0.8 % โดยความไม่พึงพอใจมีสาเหตุมาจากพาหนะของกรุงเทพมหานครที่ใช้ในการเก็บขนฯ ไม่เหมาะสม จำนวนครั้งในการเก็บน้อยเกินไป ความถี่ในการเก็บไม่แน่นอน และเวลาในการเก็บไม่เหมาะสม ตามลำดับ
ส่วนภาชนะที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการรองรับขยะอันดับหนึ่ง คือ ถุงพลาสติก รองลงมาคือ ถังพลาสติก/ถังเหล็กมีฝาปิด และถังไม่มีฝา กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการแยกขยะ เรียงลำดับ ดังนี้ อันดับหนึ่ง การบริจาคเสื้อผ้าหรือสิ่งของเก่า รองลงมาคือการใช้ซ้ำ แยกทิ้งขยะตามถังที่จัดไว้ การใช้สินค้าจากวัสดุรีไซเคิล และการขายสินค้าให้ซาเล้งตามลำดับ
นายพิชัย กล่าวอีกว่า สำหรับความรู้เรื่องโครงการแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อลดปริมาณขยะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 90.3% ทราบว่า มีการประชาสัมพันธ์โครงการฯ นอกจากนั้นส่วนใหญ่ (71.6 % ) มีส่วนร่วมกับโครงการฯ โดยการแยกขยะใส่ถุงพลาสติก ส่วนผู้ที่ไม่มีส่วนร่วม คิดเป็น 27.8 % เนื่องจากเห็นว่าการแยกขยะทำให้เกิดความยุ่งยากเสียเวลา และคนงานของกรุงเทพมหานครมีการเก็บขยะรวมไม่ได้แยกเก็บ ความเข้าใจเกี่ยวกับสีของถังขยะของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ (90.1 %) มีความเข้าใจดี และยินดีที่จะให้ความร่วมมือแยกทิ้งขยะตามสีถัง 88-91 % การจัดการขยะของเมืองใหญ่ กลุ่มตัวอย่าง 23.5 % เห็นด้วยกับการดำเนินการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเอง และอีก 65.6 % เห็นด้วยโดยมีเงื่อนไขให้มีมาตรการป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยในการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเองมีอยู่ 10.9 %
การปรับปรุงการจัดเก็บค่าธรรมเนียม 72.9 % เห็นด้วยที่จะให้มีการขึ้นค่าธรรมเนียม โดยให้มีการปรับปรุงระบบการเก็บขยะ และระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ส่วนอีก 26.3 % ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ยังพบว่าอัตราค่าธรรมเนียมที่กลุ่มตัวอย่างยินดีจะจ่ายมากที่สุดคือ 20-40 บาท/เดือน รองลงมาคือ 41-60 บาท/เดือน และ 61-80 บาท/เดือน ตามลำดับ ส่วนวิธีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ควรเก็บจากย่านธุรกิจให้มากกว่าบ้านพักอาศัย และเก็บค่าธรรมเนียมตามปริมาณขยะ--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version