กทม. เตรียมก่อสร้างค้ำยันรองรับสะพานฯ รัชวิภา คาดว่าจะเปิดการจราจรได้ใน 20 วัน

จันทร์ ๒๒ พฤษภาคม ๒๐๐๐ ๐๙:๔๘
กรุงเทพฯ--22 พ.ค.--กทม.
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร วันนี้ (19 พ.ค. 43) เวลา 11.30 น. นายประเสริฐ สมะลาภา ปลัดกรุงเทพมหานคร แถลงถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาจราจรบริเวณสะพานต่างระดับรัชวิภาว่า ภายหลังจากที่กรุงเทพมหานครได้สั่งปิดการจราจรบริเวณสะพานต่างระดับรัชวิภา ขาออก จากถนนรัชดาภิเษก ด้านทางขึ้นรัชโยธิน ถึงถนนรัชดาภิเษก ด้านทางลงแยกประชานุกูล เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 15 พ.ค. 43 เป็นต้นมา โดยคาดว่าจะใช้เวลาปรับปรุงซ่อมแซมประมาณ 6 เดือน จึงจะเปิดใช้ได้ตามปกตินั้น แต่เมื่อตนพร้อมด้วยผู้บริหารกทม. เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งวิศวกรผู้รับผิดชอบการออกแบบและก่อสร้างสะพานดังกล่าวตั้งแต่ต้นคือ ดร.ประเสริฐ ตันตรานนท์ ได้ไปตรวจสภาพโครงสร้างสะพานยังสถานที่จริง และได้ประชุมร่วมกันถึงแนวทางการปรับปรุงสะพานแล้ว จึงมีความเห็นว่า หากปิดการจราจรเป็นเวลานานถึง 6 เดือน จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน กทม. จึงเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาโดยจะก่อสร้างค้ำยันซึ่งมีลักษณะเหมือนนั่งร้านเหล็กรองรับโครงสร้างสะพานจากฐานขึ้นไป เพื่อให้รถยนต์นั่งส่วนตัวสามารถสัญจรบนสะพานได้ก่อน จากนั้นกทม. จะทำการทดสอบให้รถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่งบนสะพานที่ได้สร้างค้ำยันรองรับ เพื่อดูการทรุดตัวของสะพาน หากตรวจสอบจนแน่ใจว่ารถบรรทุกสามารถวิ่งบนสะพานได้อย่างปลอดภัยแล้ว ก็อาจเปิดการจราจรได้ตามปกติโดยอาจมีการจำกัดความเร็วรถ แต่หากทดสอบแล้วพบว่าไม่ปลอดภัยที่จะให้รถบรรทุกแล่นบนสะพาน กทม. ก็จะติดตั้งคานเหล็กกั้นรถใหญ่ ส่วนรถประจำทางที่แล่นผ่านเส้นทางนี้นั้นมีเพียงสายเดียว จำนวน 15 คัน ก็จะให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางวัดเสมียนนารีแทน ทั้งนี้การก่อสร้างค้ำยันรองรับสะพานดังกล่าว กทม. จะดำเนินการก่อสร้างตลอด 24 ชั่วโมง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 20 วัน จึงแล้วเสร็จ สามารถเปิดการจราจรให้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลผ่านได้ก่อนในเบื้องต้น
ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางการปรับปรุงซ่อมแซมสะพานฯ รัชวิภา นั้น กทม. จะสร้างทางเบี่ยงให้ได้จำนวนช่องจราจรใกล้เคียงกับที่มีอยู่เดิมก่อน จึงทำการปิดสะพานเพื่อรื้อซ่อมครั้งใหญ่ ซึ่งเมื่อมีช่องทางจราจรรองรับแล้ว การปิดซ่อมสะพานที่อาจใช้ระยะเวลานาน 8-9 เดือน ก็จะไม่ส่งผลกระทบแก่ประชาชน--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ