ทริสจัดอันดับเครดิตองค์กร สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง ระดับ "BBB"

ศุกร์ ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๑ ๐๘:๐๘
กรุงเทพฯ--2 ก.พ.--ทริส
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ได้ประกาศผลอันดับเครดิตองค์กรของบริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ในระดับ "BBB+" ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ การได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือธนาคารไทยพาณิชย์ รวมทั้งสัมพันธภาพที่ดีและยาวนานกับผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ นอกจากนี้
ยังแสดงถึงการมีคุณภาพสินทรัพย์ในระดับที่ดีที่ทำให้สัดส่วนสินเชื่อค้างชำระลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิ-ภาพและฐานะการเงินที่ดีขึ้น ในขณะที่ปัจจัยลบต่อการประกอบการของบริษัทคือการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ซึ่งสืบเนื่องมาจากผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่ทริสรายงานว่า การบริหารหนี้ที่มีประสิทธิภาพมีผลทำให้สินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ของสยามพาณิชย์ลีสซิ่งลดลงสู่ระดับ 5.7% ของเงินให้สินเชื่อเฉลี่ย ณ เดือนกันยายน 2543 บริษัทใช้เกณฑ์หยุดรับรู้รายได้สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อที่ค้างชำระตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปและใช้เกณฑ์หยุดรับรู้รายได้เมื่อค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปสำหรับสินเชื่อแบบลีสซิ่งและแบบแฟคตอริ่ง แต่หากใช้เกณฑ์หยุดรับรู้รายได้เมื่อสินเชื่อค้างชำระ 3 เดือนขึ้นไปตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว บริษัทจะมีสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ทั้งสิ้น 5.8% ของเงินให้สินเชื่อรวม ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ต่ำกว่าอัตราส่วนของบริษัทเงินทุนทั้งระบบซึ่งอยู่ที่ 35.7% ของยอดสินเชื่อ ยิ่งกว่านั้น สินเชื่อให้เช่าซื้อซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 87.6% ของสินเชื่อทั้งสิ้น ณ เดือนกันยายน 2543 ยังมีส่วนที่ค้างชำระเกิน 3 เดือนเพียง 1% เท่านั้น คุณภาพสินทรัพย์ที่ดีทำให้บริษัทสามารถลดจำนวนกันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้เหลือเพียง 4.3% ของเงินให้สินเชื่อรวม โดยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสุทธิของบริษัท ณ เดือนกันยายน 2543 อยู่ที่ 6.4% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายขั้นต่ำ
ทริสกล่าวว่า ในภาวะที่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทเงินทุนหลายรายต้องปิดกิจการไปในช่วงวิกฤตทางการเงิน แต่ธุรกิจให้เช่าซื้อยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรงมาจนถึงทุกวันนี้ การที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยให้เช่าซื้อทำให้เกิดแรงกดดันอย่างมากต่อผู้ประกอบการไทย ข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการต่างชาติที่มีเหนือผู้ประกอบการในประเทศ ได้แก่ การมีแหล่งเงินทุน รองรับจากบริษัทแม่ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นทางการเงิน การมีต้นทุนกู้ยืมเงินในประเทศที่ต่ำกว่า รวมทั้งการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้หาทางลดต้นทุนทางการเงินด้วยการออกหุ้นกู้ในไตรมาสแรกของปี 2543 เพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารไทยพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นที่มีต้นทุนกู้ยืมสูงกว่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 บริษัทมีวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างๆ ประมาณ 4,970 ล้านบาท โดยมีวงเงินคงเหลือที่ยังมิได้ใช้ 567 ล้านบาท ส่วนหนี้สินต่างประเทศที่เดิมได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ปัจจุบันได้รับการป้องกันผลกระทบดังกล่าวไว้เต็มจำนวนแล้ว และจะครบกำหนดชำระในปี 2544 บริษัทมีอัตราส่วนของส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 ในอัตราที่น่าพอใจที่ระดับ 28.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอัตราส่วนของบริษัทเงินทุนทั้งระบบซึ่งอยู่ที่ระดับ 19.9%
บ ริ ษั ท ไ ท ย เ ร ท ติ้ ง แ อ น ด์ อิ น ฟ อ ร์ เ ม ชั่ น เ ซ อ ร์ วิ ส จำ กั ด ( ท ริ ส ) * ฝ่ า ย บ ริ ก า ร ส า ร ส น เ ท ศ *
อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 เลขที่ 191 ถนนสีลม กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (66 2) 231-3011 ต่อ 500 โทรสาร 231-3012
Internet: www.tris.co.th, E-mail: [email protected] จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ