ความสำเร็จของฮอนด้า (ประเทศไทย) กับโครงการ "โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ"

อังคาร ๑๗ ตุลาคม ๒๐๐๐ ๑๔:๕๖
กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--สปินเลอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
"ฮอนด้า" มีส่วนช่วยให้โรงเรียนในจังหวัดนครนายก ขจัดปัญหากลิ่นรบกวนจากมูลสัตว์ แทนที่จะใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ แต่โรงเรียนวัดโพธิ์แก้วเบญจธาราม กลับใช้วิถีธรรมชาติขจัดกลิ่นรบกวนจากมูลสัตว์ได้สำเร็จ และยังได้ปุ๋ยจากธรรมชาติเป็นผลพลอยได้อีกด้วย
ความสำเร็จดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจากกลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ภายใต้โครงการ "โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ"
จากสภาพเศรษฐกิจทางอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดโพธิ์แก้วเบญจธาราม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำฟาร์มเลี้ยงไก่อย่างแพร่หลาย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่กลิ่นรบกวนจากมูลสัตว์จะกระทบการเรียนการสอนและสุขภาพของครูและนักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ซึ่งมีจำนวนครู และนักเรียนรวม 350 คน
นายจำนงค์ แก้วจินดา ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์แก้วเบญจธาราม กล่าวว่า กลิ่นรบกวนจากมูลสัตว์เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกมาเป็นเวลานานแล้ว แม้ทางราชการจะเข้ามาช่วยเหลือดูแลแล้วก็ตาม
หลังจากได้รับทุนสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ให้ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมตามที่ได้เสนอไป ปรากฏว่าโรงเรียนแห่งนี้ได้ประสบความสำเร็จในการขจัดกลิ่นรบกวนจากมูลสัตว์ได้อย่างดีเยี่ยม และยังสามารถผลิตปุ๋ยจากธรรมชาติมาใช้อีกทางหนึ่งด้วย ถือเป็นโรงเรียนต้นแบบของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดนครนายก
การใช้วิถีธรรมชาติแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ครูและนักเรียนได้รับแนวความคิดจากศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซ อำเภอหินกอง จังหวัดสระบุรี ที่ทดแทนการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์อื่นใด ด้วยการนำเอาเกษตรธรรมชาติที่เรียกว่า EM (Effective Microorganisms) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล กลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ได้มีผลในการช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม EM ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช หรือแมลงที่เป็นประโยชน์
"ผมรู้สึกได้เลยว่ากลิ่นรบกวนจากมูลสัตว์ของฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซ นั้นไม่มีเลยและไม่มีแมลงวันให้เห็น ที่โดยปกติฟาร์มเลี้ยงสุกรจะเต็มไปด้วยแมลงวัน ทั้งนี้เพราะศูนย์แห่งนี้นำประโยชน์ของ EM มาช่วยแก้ไขปัญหา" เด็กชายสงกรานต์ จุลศรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้รับขั้นตอนในการทำปุ๋ยหมักนั้น นำเอามูลสัตว์ แกลบดิบ รำละเอียด ในปริมาณที่เท่ากัน มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันจากนั้นนำน้ำที่ผสม EM และกากน้ำตาล แล้วมารดบนกองมูลสัตว์ที่เตรียมไว้ ให้มีความชื้นพอดี ซึ่งสามารถทดสอบด้วยการกำเป็นก้อนแต่พอแตะแล้วก้อนแตกได้โดยง่าย จากนั้นให้แผ่กองปุ๋ยหมักให้มีความหนา 15-20 เซนติเมตร คลุมด้วยวัสดุที่มีความโปร่งเล็กน้อย เช่น กระสอบป่านเป็นต้น โดยหมั่นกลับกองปุ๋ยหมักทุกวัน เป็นระยะเวลาประมาณ 7 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ที่มีกลิ่นหอมคล้ายเห็ด และสามารถนำไปใช้กับแปลงปลูกพืชได้ทุกชนิด โดยมีสัดส่วนในการใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ 1 กำมือต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ทั้งยังใช้เพื่อปรับสภาพน้ำเน่าเสียได้ด้วย ส่วนปุ๋ยที่ได้จากการหมักแต่ละครั้งหากใช้ไม่หมดสามารถเก็บไว้ในที่ไม่โดนความชื้นได้นาน 3เดือน
นอกจากนี้ ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ที่ได้ยังสามารถนำไปเป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยน้ำ ซึ่งสามารถทำได้ง่าย โดยเตรียมถังพลาสติกสำหรับหมักเจาะก็อกสำหรับเปิด-ปิดบริเวณก้นถัง และรองก้นถังด้วยตะแกรงให้สูงกว่าระดับก็อกน้ำเล็กน้อย จากนั้นนำเศษอาหารที่ได้จากการประกอบอาหารหรือเหลือจากการบริโภค ในปริมาณ 1 กิโลกรัมต่อหัวเชื้อ 1 กำมือ ใส่ถุงที่น้ำซึมผ่านได้สะดวก และนำถุงใส่ถังหมักและปิดถังปุ๋ยหมักตลอดเวลาประมาณ 7 วันก็จะได้น้ำปุ๋ยหมักที่ซึมออกมาที่ก้นถัง มีสีเหลือง กลิ่นคล้ายกลิ่นไวน์ ส่วนกากอาหารที่อยู่ในถุงให้ทิ้งไว้จนกว่าน้ำจากปุ๋ยจะหมดแล้วนำมาคลุกกับดินเพื่อเป็นปุ๋ยได้อีก
ส่วนของน้ำที่ได้จากถังหมักสามารถนำมาใช้รดพืชผักได้ โดยใช้ในอัตราส่วนของปุ๋ยน้ำ 1 ลิตรต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก เช่น ราดห้องน้ำเป็นการดับกลิ่น ราดน้ำเน่าเสียไม่ให้มีกลิ่น ใช้ฉีดพ่นคอกสัตว์ต่างๆ ช่วยดับกลิ่นได้เป็นอย่างดี"จากการนำปุ๋ยน้ำที่ได้จากการหมักของโครงการมาทดลองใช้กับฟาร์มเลี้ยงเป็ดและไก่ โดยการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำในคอกสัตว์และโรยหัวเชื้อปุ๋ยหมักที่พื้น ปรากฏว่าสามารถแก้ปัญหากลิ่น รบกวนที่เกิดจากมูลสัตว์ที่เป็นปัญหาหลักของนักเรียนและชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับฟาร์มได้เป็นอย่างดี" นางปราณี สพันธ์พงษ์ เจ้าของฟาร์มที่ได้ทดลองนำภูมิปัญญาที่ได้ไปทดลองใช้เป็นผลสำเร็จ ได้เล่าประสบการณ์จากการใช้สารธรรมชาติทดแทนสารเคมี
จากผลสำเร็จที่โรงเรียนวัดโพธิ์แก้วเบญจธารามได้ดำเนินการสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ในการแก้ปัญหามลภาวะเป็นพิษโดยเน้นแก้ปัญหากลิ่นมูลสัตว์ด้วยความร่วมลงมือปฏิบัติกันของนักเรียนโดยมีครูคอยให้คำแนะนำปรึกษาจนเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปสู่ชุมชนได้นั้นถือเป็นต้นแบบที่ดีในการแก้ไขปัญหาให้กับโรงเรียนอื่นๆ หรือชุมชนได้นำไปเป็นแบบอย่างได้
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่บริษัท สปินเลอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
โทรศัพท์ 2410088, 2411616 ติดต่อ คุณสุรีย์พร สื่อสกุล หรือคุณจิตติมา นเรธรณ์--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ